ปราการป้องพิบัติภัย ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ - ทิศทางเกษตร

Thursday, 27 September 2012 Read 1774 times Written by 

27 09 2012 2

“ลำน้ำน่าน” ถือเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวจังหวัดน่าน และชาวไทยตอนล่างมาเป็นเวลาช้านาน ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านนั้น เกิดจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดน่านที่ส่วนใหญ่มีภูเขาสลับซับซ้อน มีป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ จนเกิดเป็นสายน้ำลำห้วยน้อยใหญ่ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสายนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแควสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา

แต่เนื่องจากปัจจุบัน ป่าต้นน้ำได้ถูกบุกรุกและทำลายไปจำนวนมาก จนเกิดผลกระทบต่อชาวน่านทั้งเรื่องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา จังหวัดน่าน ประสบภัยพิบัติหลายครั้ง โดยเฉพาะภัยน้ำท่วม และดินโคลนถล่ม ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชน สิ่งสาธารณประโยชน์ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาท อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตจากเหตุภัยพิบัติเหล่านี้อีกด้วย ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ทำลายและสร้างความเสียหายครั้งสำคัญต่อคนเมืองน่านเลยก็ว่าได้

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันก่อนที่ภัยพิบัติจะเกิดขึ้น การปลูกป่าและอนุรักษ์ป่าไม้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ต้นไม้เมื่อเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ก็จะทำหน้าที่อุ้มดินไว้ให้ชุ่มชื้น น้ำในดินจะค่อย ๆ ซึมออกมาทีละน้อย ตลอดทั้งปีกลายเป็นลำธารไหลลงมาจากยอดเขาเป็นลำน้ำ ให้คนพื้นราบได้ใช้ในการอุปโภคและบริโภคและเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรภาครัฐ สังกัดกระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญของการบำรุงรักษาป่าไม้ โดยเฉพาะป่าต้นน้ำที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเขื่อนที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กฟผ.  ได้เข้าร่วมในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมกับประชาชน ในการรักษาทรัพยากรป่าไม้อันมีค่านี้ไว้ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนป่าอีกครั้ง โดยจัดโครงการ “ปลูกป่าต้นน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” ขึ้นโดยปลูกป่าบริเวณป่าเสื่อมโทรมต้นน้ำน่าน บนพื้นที่ 10,000 ไร่ ภายในเวลา 2 ปี และบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องอีก 2 ปี โดยปลูกบนพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติรวม 3,000 ไร่ พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่จริมจำนวน 4,500 ไร่ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน รวม 2,500 ไร่

โดยแนวทางการดำเนินงานนั้นได้น้อมนำแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือ การปลูกป่าธรรมชาติ ที่พระองค์ทรงเสนอแนวทางปฏิบัติไว้ด้วยการปลูกต้นไม้ที่มีหรือเคยมีอยู่เดิมในพื้นที่ คือ...ศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง แล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษาได้...งดปลูกไม้ผิดแผกจากถิ่นเดิม คือ...ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน...”

นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม กฟผ. เปิดเผยว่า ในการคัดเลือกกล้าไม้ที่จะใช้ปลูกในแต่ละพื้นที่นั้น ได้น้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติใช้ในการพิจารณา โดยเลือกพันธ์ุไม้ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของแต่ละแห่งเป็นประการสำคัญ และจะเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่เคยมีในพื้นที่นั้น ๆ มาก่อน เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขา พันธุ์ไม้ที่ปลูกจะเป็นไม้ที่เหมาะสมกับชั้นความสูงของพื้นที่ เช่น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 400 เมตรขึ้นไปจะปลูกไม้จำพวกประดู่ ไม้มะค่า  ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะช่วยรักษาระบบนิเวศให้กับพื้นที่ให้สมดุลได้เป็นอย่างดี

“จะเน้นการนำพันธุ์ไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่นั้น ๆ ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้แบบอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม้ชั้นล่าง ไม้ชั้นกลาง และไม้ใหญ่ ซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาแบบอาศัยซึ่งกันและกันเมื่ออายุครบ 3 ปี การเจริญเติบโตก็สามารถเป็นไปตามธรรมชาติ ถึงเวลานั้นก็จะสมบูรณ์โดยที่ไม่ต้องเข้าไปบริหารจัดการแต่ประการใด ซึ่งเป็นวิธีการปลูกป่าแบบให้ธรรมชาติดูแลรักษาธรรมชาติด้วยกันเอง” ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม กฟผ. กล่าว

พร้อมกันนี้ในแต่ละปีจะปลูกแฝกในพื้นที่เหนือเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดิน โดยในปีนี้กำหนดปลูกจำนวน 1,000,000 กล้า และสร้างฝายชะลอน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงสู่ลำน้ำน่านโดยในปี 2555 มีเป้าหมาย 880 ฝาย.

Credit: http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank