ฝนเทียมสู้โลกร้อน

Tuesday, 18 September 2012 Read 2011 times Written by 

18 09 2012 4

ฝนเทียมสู้โลกร้อน

โดย : ดร. อดิสร เตือนตรานนท์

โลกร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ผิดไปจากปกติ จนทำให้เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้นๆ ทุกที ไม่ว่าจะเป็น มหาอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งทุกคนยังรู้สึกตุ๊มๆ ต่อมๆ ว่า จะเกิดซ้ำอีกหรือไม่ในปีนี้ หรือบางคนกลับกลัวว่าจะเกิดภัยแล้งแทนปีนี้

 การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าก็ทำให้ยากขึ้นทุกที แม้เราจะพยายามใช้เทคโนโลยีมาช่วยมากมายก็ตาม และเมื่อเราพูดถึงภัยแล้ง เมื่อไม่นาน ผมนั่งดูข่าวและพบว่าในหลายหมู่บ้านทางภาคอีสาน ที่ประสบกับภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เริ่มออกมาทำพิธีแห่นางแมวบ้าง ทำพิธีขอฝนบ้าง ทำให้คิดถึงวิธีที่ดูเหมือนจะได้ผลมากกว่าวิธีทางไสยศาสตร์และความเชื่อ นั่นคือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทย นั่นคือ ฝนหลวง หรือการสร้างฝนเทียม

 วันนี้เรามาดูการคิดค้นวิธีการ แล้วจะประหลาดใจว่า ตั้งต้นแนวคิดเรื่องการทำฝนเทียมมาจากเทคโนโลยีในสนามรบ ในปี 2517 ระหว่างสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ใช้ยุทธวิธีการสร้างฝนเทียม เพื่อให้กองทัพเวียดนามเหนือที่ยกทัพมายังเมืองโฮจิมินห์ เดินทางได้ช้าลง โดยกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ขึ้นบินและโปรยสาร Silver Iodine ลงในก้อนเมฆ

 แนวคิดเรื่องการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก เริ่มบุกเบิกจริงจังมาตั้งแต่ปี 2518 โดยนักวิทยาศาสตร์ธรณี Gordon J. MacDonald ซึ่งภายหลังเป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประธานาธิบดี Johnson ได้ผลักดันแนวคิดที่ว่า มนุษย์เป็นผู้ทำให้สภาพอากาศเลวร้ายลงตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ ดังนั้น มนุษย์จะต้องเป็นผู้ทำให้มันกลับมาดีได้เหมือนเดิม

 ความสามารถของมนุษย์เรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศเป็นจริง ไม่ใช่เพียงแนวคิดหรือความฝันเริ่มต้นเมื่อปี 2489 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ Vincent Schaefer ซึ่งทำงานที่ห้องแล็บของ General Electric ได้ค้นพบว่า น้ำแข็งแห้งหรือ Dry Ice สามารถทำให้น้ำที่เย็นจัดสามารถจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็งได้ ต่อมา Irving Langmuir และ Bernard Vonnegut ก็ได้พบว่าการใช้สาร silver iodine ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน จึงมีการทดสอบภาคสนามเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2489 โดยบินขึ้นไปโปรยที่ความสูง 40,000 ฟิต ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เหนือบริเวณเมือง Pittsfield มลรัฐ Massachusetts และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ถึงขั้นทำให้ประธานาธิบดี Kennedy ประกาศว่า นอกจากจะ "explore the stars" เป้าหมายหนึ่งของอเมริกา คือ "conquer the deserts" อีกด้วย

 การทำฝนเทียมเป็นเพียงแนวคิดเดียวของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมนุษย์ ยังมีแนวคิดอื่นๆ อีกมากมาย และในปัจจุบัน การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือแม้กระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2551 ที่ประเทศจีน และเรากำลังใช้เพื่อต่อสู้กับภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง

Credit: http://www.bangkokbiznews.com

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank