จากน้ำท่วมถึงภัยแล้ง...อีกบทเรียนที่ได้จากเขื่อน

Monday, 17 September 2012 Read 1618 times Written by 

17 09 2012 3

ต้องยอมรับว่า ปีนี้สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติน่าห่วง ฝนทิ้งช่วงที่ยาวนานมากจนเกิดภาวะภัยแล้งจนสิ้นเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมาฝนก็ยังไม่ตก แต่พอเข้าสู่เดือนกันยายน 2555 ฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน แต่ในอีกหลายพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำ และที่สำคัญปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ณ วันที่ 10 ก.ย.55 เขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลางยังมีปริมาณน้ำไม่มากนัก

...สถานการณ์ที่ความเปลี่ยนแปลงสูงเช่นนี้ พื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบทั้งปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วม...

ส่วนในพื้นที่ชลประทาน แม้น้ำในเขื่อนต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ก็เพียงพอที่จะส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกรระหว่างที่ฝนทิ้งช่วงที่ยาวนานมากจนเกิดภาวะภัยแล้ง หรือถ้าฝนตกหนักก็สามารถกักเก็บน้ำไว้ในอ่างฯบรรเทาภาวะน้ำท่วมได้ ทำให้พืชผลทางการเกษตรในพื้นที่ชลประทานไม่ได้รับความเสียหาย ต่างจากพื้นที่นอกเขตชลประทาน ที่พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายทั้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงในกรณีที่ฝนไม่ตก หรือจากภาวะน้ำท่วม กรณีที่ฝนตกหนัก

เมื่อภัยแล้งมาเยือนจะเห็นความแตกต่างระหว่าง พื้นที่ชลประทาน กับ พื้นที่นอกเขตชลประทาน ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากปี 2554 ที่เกิดภาวะมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่หลายคนระบุสาเหตุว่ามาจาก “เขื่อน” ทั้ง ๆที่ความจริงแล้ว เขื่อนได้ช่วยกักเก็บน้ำไว้ส่วนหนึ่ง ลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น

ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะมีข่าวฝนตกหนัก น้ำท่วมหลายพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางในพื้นที่อีสานใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนช่วยเหลือเกษตรกรไม่ให้ข้าวนาปีประมาณ 1.2 ล้านไร่ ได้รับความเสียหาย

ทำไมข้าวในพื้นที่ชลประทานไม่เสียหาย ? เพราะว่า มี “เขื่อน”...เขื่อน เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำที่สำคัญในพื้นที่ชลประทาน เพราะเขื่อนจะทำหน้าที่กักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้บริหารจัดการน้ำในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นหากไม่มีเขื่อนแล้ว ในปีนี้เกษตรกรจะบอบช้ำจากภัยธรรมชาติอย่างมาก เนื่องจากในปีที่ผ่านมา พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมแล้วยังไม่พอ มาปีนี้ยังจะได้รับความเสียหายจากภาวะการขาดแคลนน้ำอีก

แต่โชคดีที่เขื่อนกักเก็บน้ำไว้ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานได้ทำนาปรังในช่วงต้นปีอย่างเต็มพื้นที่ และสามารถทำนาปีต่อเนื่องได้เต็มพื้นที่เช่นกัน แม้ที่ผ่านมาจะมีปัญหาฝนทิ้งช่วง และน้ำในเขื่อนมีน้อยก็ตาม แต่ก็เพียงพอที่จะระบายน้ำออกมาช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ให้ข้าวนาปีในเขตชลประทานได้รับความเสียจากภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง

และเมื่อมีฝนตกลงมาในพื้นที่เหนือเขื่อน เขื่อนก็จะกักเก็บน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงมาสมทบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกท้ายเขื่อน ลดความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมได้

17 09 2012 3-2

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า ในช่วงต้นปีนี้จะมีการระบายน้ำออกจากเขื่อนค่อนข้างมาก เพราะมีความกังวลว่า อาจจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยเหมือนปี 2554 จึงพยายามพร่องน้ำในเขื่อนเหลือไว้เท่าที่จำเป็น เมื่อฤดูฝนมาถึงจะได้กักเก็บไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำได้ โดยเฉพาะในฤดูต่อไป ถ้าหากฝนตกในเกณฑ์ต่ำ หรือฝนไม่ตกในพื้นที่เหนือเขื่อน

ล่าสุด ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้แจ้งเตือนเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาว่า แนวโน้มสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่แม้จะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ทำให้กรมชลประทานต้องปรับแผนการจัดการน้ำใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ในเขื่อนให้ได้มากที่สุด สำหรับใช้เป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้งหน้าที่จะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ กรมชลประทานจึงขอให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

ณ วันนี้เรื่องข่าวน้ำท่วมอาจจะได้รับความสนใจ แต่ถ้าดูสถานการณ์น้ำในเขื่อนแล้ว ปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ กรมชลประทานเคยคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่ามีความเป็นไปได้สูง.

Credit: http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank