“โลกร้อน”..ชาวนายโสธรเดือดร้อนอย่างไร?
ไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้แก่ประเทศมาช้านาน ไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อส่งออกอันดับหนึ่งของโลกและมีพื้นที่ปลูกข้าวกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค แหล่งเพาะปลกูข้าวที่สำคัญ อยู่ในภาคกลางและภาคอีสาน
ในภาคอีสาน จังหวัดยโสธรเป็น พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างชื่อเสียงในระดับสากล เพราะสภาพดินฟ้าอากาศในพื้นที่เอื้อต่อการปลูกข้าวหอมมะลิได้เป็นอย่างดีคนยโสธรกว่าร้อยละ 90 มีอาชีพทำนาที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ระบบชลประทานที่มีอยู่ไม่พอเพียงและกระจายได้อย่าง ทั่วถึง นอกจากดินและน้ำแล้ว แสงแดดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเพราะข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ “ไวแสง” และต้องการปริมาณแสงแดดพอเหมาะในระยะเวลาที่เหมาะสม ชาวนาอีสานจึงปลูกข้าวหอมมะลิได้ปีละครั้งเท่านั้นประสบการณ์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอบากเรือ นาโส่ และเลิงนกทาในจังหวัดยโสธร ที่ยึดอาชีพ ทำนามาตลอดชีวิต สะท้อนให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการทำนาของตนเองอย่างมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สภาพอากาศเกิดความแปรปรวนอย่างต่อเนื่อง ฝนที่ตกคลาดเคลื่อนส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิของชาวนาในจังหวัดยโสธรอย่างรุนแรง เพราะฝนทิ้งช่วงในขณะดำกล้าซึ่งเป็นเวลาที่ต้นข้าวต้องการน้ำเป็นอย่างมาก แต่ตกอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงย่างเข้าฤดูหนาวที่ข้าวออกรวงรอการเก็บเกี่ยวสภาพอากาศที่แปรปรวนมีผลทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไป ระบบห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติถูกทำลาย ชาวนาในสามอำเภอพบว่า ชนิดของโรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืชมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พืชผักประจำถิ่นบางชนิดหายไป พืชและแมลงแปลกถิ่นเพิ่มมากขึ้นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สร้างความเสียหายให้แก่พืชผลและไร่นา เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์สภาพอากาศ และวางแผนการทำนาได้อย่างที่เคยทำมาในอดีต ชาวนามีความเสี่ยงในการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น รายได้ของเกษตรกรตกต่ำลงเพราะปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ลดต่ำลง เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของต้นข้าว โรคและแมลงศัตรูพืชที่ระบาดเพิ่มมากขึ้น และความชื้นในข้าวเปลือกสูงขึ้นความแปรปรวนของสภาพอากาศยังส่งผลให้เกษตรกรมีภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่สูงขึ้นด้วย ในระบบการผลิตชาวนาจำเป็นต้องลงทุนหาเครื่องสูบน้ำมาใช้และขุดบ่อเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพราะอาหารที่หาได้ตามธรรมชาติและผลผลิตที่เพาะปลูกได้เองลดลง ทำให้เกษตรกรต้องเจียดรายได้ส่วนหนึ่งที่หาได้น้อยอยู่แล้วมาซื้อหาอาหารเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนในครอบครัวอีกเมื่อค่าใช้จ่ายของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น แล้วสวนทางกับรายได้ที่ลดลง ชาวนาหลายรายจำยอมต้องมีหนี้สินและเผชิญปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเพราะความเครียด ความสัมพันธ์ในครอบครัวอ่อนแอลง สุดท้าย เกษตรกรจำเป็นต้องรับจ้างเป็นแรงงานภาคเกษตรในไร่นาคนอื่น หรือแปลงสภาพไปเป็นแรงงานอพยพเข้ามาหาอาชีพทำในเมืองใหญ่ เพื่อให้มีรายได้พอใช้หนี้และ เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม:[rokdownload menuitem="103" downloaditem="38" direct_download="true"]linked text[/rokdownload]
ในภาคอีสาน จังหวัดยโสธรเป็น พื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างชื่อเสียงในระดับสากล เพราะสภาพดินฟ้าอากาศในพื้นที่เอื้อต่อการปลูกข้าวหอมมะลิได้เป็นอย่างดีคนยโสธรกว่าร้อยละ 90 มีอาชีพทำนาที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ระบบชลประทานที่มีอยู่ไม่พอเพียงและกระจายได้อย่าง ทั่วถึง นอกจากดินและน้ำแล้ว แสงแดดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเพราะข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ “ไวแสง” และต้องการปริมาณแสงแดดพอเหมาะในระยะเวลาที่เหมาะสม ชาวนาอีสานจึงปลูกข้าวหอมมะลิได้ปีละครั้งเท่านั้นประสบการณ์ของสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอบากเรือ นาโส่ และเลิงนกทาในจังหวัดยโสธร ที่ยึดอาชีพ ทำนามาตลอดชีวิต สะท้อนให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการทำนาของตนเองอย่างมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สภาพอากาศเกิดความแปรปรวนอย่างต่อเนื่อง ฝนที่ตกคลาดเคลื่อนส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิของชาวนาในจังหวัดยโสธรอย่างรุนแรง เพราะฝนทิ้งช่วงในขณะดำกล้าซึ่งเป็นเวลาที่ต้นข้าวต้องการน้ำเป็นอย่างมาก แต่ตกอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงย่างเข้าฤดูหนาวที่ข้าวออกรวงรอการเก็บเกี่ยวสภาพอากาศที่แปรปรวนมีผลทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไป ระบบห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติถูกทำลาย ชาวนาในสามอำเภอพบว่า ชนิดของโรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืชมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พืชผักประจำถิ่นบางชนิดหายไป พืชและแมลงแปลกถิ่นเพิ่มมากขึ้นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สร้างความเสียหายให้แก่พืชผลและไร่นา เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์สภาพอากาศ และวางแผนการทำนาได้อย่างที่เคยทำมาในอดีต ชาวนามีความเสี่ยงในการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น รายได้ของเกษตรกรตกต่ำลงเพราะปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ลดต่ำลง เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของต้นข้าว โรคและแมลงศัตรูพืชที่ระบาดเพิ่มมากขึ้น และความชื้นในข้าวเปลือกสูงขึ้นความแปรปรวนของสภาพอากาศยังส่งผลให้เกษตรกรมีภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่สูงขึ้นด้วย ในระบบการผลิตชาวนาจำเป็นต้องลงทุนหาเครื่องสูบน้ำมาใช้และขุดบ่อเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพราะอาหารที่หาได้ตามธรรมชาติและผลผลิตที่เพาะปลูกได้เองลดลง ทำให้เกษตรกรต้องเจียดรายได้ส่วนหนึ่งที่หาได้น้อยอยู่แล้วมาซื้อหาอาหารเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนในครอบครัวอีกเมื่อค่าใช้จ่ายของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น แล้วสวนทางกับรายได้ที่ลดลง ชาวนาหลายรายจำยอมต้องมีหนี้สินและเผชิญปัญหาโรคภัยไข้เจ็บเพราะความเครียด ความสัมพันธ์ในครอบครัวอ่อนแอลง สุดท้าย เกษตรกรจำเป็นต้องรับจ้างเป็นแรงงานภาคเกษตรในไร่นาคนอื่น หรือแปลงสภาพไปเป็นแรงงานอพยพเข้ามาหาอาชีพทำในเมืองใหญ่ เพื่อให้มีรายได้พอใช้หนี้และ เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม:[rokdownload menuitem="103" downloaditem="38" direct_download="true"]linked text[/rokdownload]