โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน

Thursday, 18 August 2011 Read 1939 times Written by 
sun mixระบบการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร สามารถนำนวัตกรรมการประหยัดพลังงานและนำพลังงานความร้อนที่เหลือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในกระบวนการเลี้ยงไก่ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้นำ “โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน” อีกหนึ่งพลังงานสะอาดที่ซีพีเอฟประสบความสำเร็จในการช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก “โครงการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน” เป็นโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ใช้ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Collector) และความร้อนจากชุดแลกเปลี่ยนความร้อน (Economizer) มาผสมผสานการทำงานกัน สำหรับผลิตน้ำร้อนป้อนเข้าหม้อไอน้ำทดแทนการใช้น้ำมันเตา วิธีการก็คือ การนำน้ำอุณหภูมิปกติ (30oC) มาทำให้ร้อนขึ้นเป็น 60oC ด้วยวิธีแลกเปลี่ยนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ผ่านชุด Solar Collector จำนวน 195 แผง มีพื้นที่ในการรับแสง 2.56 ตารางเมตร/แผง คิดเป็นพื้นที่รับแสงรวม 499.2 ตารางเมตร จะทำให้ได้น้ำร้อนที่ผลิตจากชุด Solar Collector ประมาณ 20,000,000 ลิตรต่อปี

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังยึดหลักการที่ว่า “อย่ามองของเสียเป็นเพียงขยะ เพราะมันมีพลังงานแฝงอยู่” ดังนั้น จึงนำน้ำร้อนที่ได้จากชุดแลกเปลี่ยนความร้อน (Economizer) จากปล่องไอเสียของหม้อไอน้ำที่อุณหภูมิ 210oC มาแลกเปลี่ยนกับน้ำที่อุณหภูมิปกติ (30oC) ให้สูงขึ้นเป็น 60oC นั้น สามารถผลิตน้ำร้อนได้ 10,000,000 ลิตร/ปี รวมปริมาณน้ำร้อนที่ผลิตได้ทั้ง 2 ระบบ คิดเป็น 30,000,000 ลิตร/ปี โดยปริมาณน้ำร้อนทั้งหมดนี้จะนำไปใช้เป็นน้ำป้อนเข้าหม้อไอน้ำในกระบวนการผลิต

โครงการนี้สามารถลดการนำเข้าน้ำมันเตาที่เคยใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำได้ถึง 146,283 ลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2.7 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 432 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี หรือเทียบเท่าการปลูกป่า 2.4 ไร่ เลยทีเดียว

ทั้งนี้ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรีของซีพีเอฟ ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทฯ ตัวแทนของประเทศไทยในการเข้าร่วม โครงการบัญชีบริหารสิ่งแวดล้อม (Environments Management Accounting: EMA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีนำข้อมูลทางด้านบัญชีมาวิเคราะห์ขบวนการ เพื่อหาจุด Hot Spot หรือจุดที่มีการใช้พลังงานสูง แล้วนำมาจัดทำโครงการเพื่อลดการใช้พลังงานต่าง ๆ ภายในบริษัทต่อไป ซึ่งนับเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจากมหาวิทยาลัย Luenburg ประเทศ Germany เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันผ่านทาง Asian Society For Environmental Protection (ASEP) และโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนส่วนหนึ่ง จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank