นายจริย์ ตุลยานนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ เปิดเผยถึงการประชุมของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ ประจำปี 2554 ว่าที่ประชุมได้พิจารณาถึงสถานการณ์น้ำที่อาจเกิดผลกระทบในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูจุดที่คิดว่าจะเสี่ยงภัยน้ำท่วม และเป็นจุดสำคัญที่จะต้องเตรียมตัวไว้ นับตั้งแต่จุดต้นน้ำในเขตพื้นที่ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนเจ้าพระยา (เขื่อนชัยนาท) ลงมาตามลำน้ำผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดปลายน้ำที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง โดยได้จัดทำโครงการพยากรณ์การวัดระดับน้ำ หรือโครงการ ไฮโดรไดนามิค แมชเชอร์เมนท์ไว้แล้ว ซึ่งจะมีสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำ จำนวน 10 แห่ง ทางตอนเหนือ ซึ่งส่งข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำ และปริมาณน้ำมาที่หน่วยงานกลางแบบทันที จากนั้นคณะกรรมการก็จะทำการวิเคราะห์ระดับน้ำจากข้อมูลที่ได้รับ พร้อมพยากรณ์ปริมาณน้ำที่จะผ่านในแต่ละจุด โดยจะให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
“การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างบูรณาการกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขนาดใหญ่ในด้านน้ำ นับตั้งแต่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดสระบุรี เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก และโครงการคลองลัดโพธิ์ฯ จังหวัดสมุทรปราการ โดยจะมีการเตรียมแผนงานอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย แผนก่อนน้ำท่วม แผนการขณะเกิดอุบัติภัย และแผนการฟื้นฟู” นายจริย์ ตุลยานนท์ กล่าว
ทางด้าน นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้มีแผนรับมือ โดยมีการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ ระบบลำน้ำสายหลัก และคลองธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อจะรองรับน้ำใหม่ที่กำลังจะมา โดยเฉพาะเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งได้เร่งระบายน้ำมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีฝนตกหนักในภาคเหนือมาอย่างต่อเนื่อง ในจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และในลุ่มน้ำยม ในช่วงที่ผ่านมาและในขณะนี้ จึงต้องลดระดับน้ำในลุ่มน้ำสายหลักให้ลดลงโดยเร็ว
การนี้ นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการ กปร. ในฐานะหนึ่งในกรรมการและองค์กรประสานงานเพื่อการดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า ในปีนี้ เป็นปีที่ทุกหน่วยงานเข้าใจ และได้ดำเนินการเป็นการล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ก็ยังมี อบต. อบจ. ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำตามโครงการได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานด้วย
“จากที่ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ ให้เตรียมพร้อมเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพราะตอนนี้เป็นเวลาที่ใกล้น้ำเหนือลงสู่พื้นที่ทางภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากแล้ว พระองค์มีรับสั่งเรื่องคลองลัดโพธิ์ ที่มีพระราชดำริและสามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และมีรับสั่งให้มีการบูรณาการโครงการต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำมาทำงานร่วมกัน เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยให้ดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สิ่งสำคัญคือเรื่องการใช้ข้อมูลของแต่ละส่วนราชการมาเสริมซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ การไหลของน้ำ พระองค์มีรับสั่งโดยละเอียด เพื่อให้หน่วยงานทั้งหลายร่วมกันดำเนินงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในฤดูปี 2554 นี้” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว.
ขอขอบคุณที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=contentcategoryId=340contentID=154868
รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูจุดที่คิดว่าจะเสี่ยงภัยน้ำท่วม และเป็นจุดสำคัญที่จะต้องเตรียมตัวไว้ นับตั้งแต่จุดต้นน้ำในเขตพื้นที่ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนเจ้าพระยา (เขื่อนชัยนาท) ลงมาตามลำน้ำผ่านจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดปลายน้ำที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง โดยได้จัดทำโครงการพยากรณ์การวัดระดับน้ำ หรือโครงการ ไฮโดรไดนามิค แมชเชอร์เมนท์ไว้แล้ว ซึ่งจะมีสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำ จำนวน 10 แห่ง ทางตอนเหนือ ซึ่งส่งข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำ และปริมาณน้ำมาที่หน่วยงานกลางแบบทันที จากนั้นคณะกรรมการก็จะทำการวิเคราะห์ระดับน้ำจากข้อมูลที่ได้รับ พร้อมพยากรณ์ปริมาณน้ำที่จะผ่านในแต่ละจุด โดยจะให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
“การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างบูรณาการกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขนาดใหญ่ในด้านน้ำ นับตั้งแต่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดสระบุรี เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก และโครงการคลองลัดโพธิ์ฯ จังหวัดสมุทรปราการ โดยจะมีการเตรียมแผนงานอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย แผนก่อนน้ำท่วม แผนการขณะเกิดอุบัติภัย และแผนการฟื้นฟู” นายจริย์ ตุลยานนท์ กล่าว
ทางด้าน นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้มีแผนรับมือ โดยมีการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ ระบบลำน้ำสายหลัก และคลองธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อจะรองรับน้ำใหม่ที่กำลังจะมา โดยเฉพาะเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งได้เร่งระบายน้ำมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีฝนตกหนักในภาคเหนือมาอย่างต่อเนื่อง ในจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และในลุ่มน้ำยม ในช่วงที่ผ่านมาและในขณะนี้ จึงต้องลดระดับน้ำในลุ่มน้ำสายหลักให้ลดลงโดยเร็ว
การนี้ นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการ กปร. ในฐานะหนึ่งในกรรมการและองค์กรประสานงานเพื่อการดำเนินงานตามโครงการฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า ในปีนี้ เป็นปีที่ทุกหน่วยงานเข้าใจ และได้ดำเนินการเป็นการล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ก็ยังมี อบต. อบจ. ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำตามโครงการได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานด้วย
“จากที่ได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ ให้เตรียมพร้อมเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพราะตอนนี้เป็นเวลาที่ใกล้น้ำเหนือลงสู่พื้นที่ทางภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากแล้ว พระองค์มีรับสั่งเรื่องคลองลัดโพธิ์ ที่มีพระราชดำริและสามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และมีรับสั่งให้มีการบูรณาการโครงการต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำมาทำงานร่วมกัน เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยให้ดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สิ่งสำคัญคือเรื่องการใช้ข้อมูลของแต่ละส่วนราชการมาเสริมซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ การไหลของน้ำ พระองค์มีรับสั่งโดยละเอียด เพื่อให้หน่วยงานทั้งหลายร่วมกันดำเนินงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในฤดูปี 2554 นี้” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว.
ขอขอบคุณที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=contentcategoryId=340contentID=154868