ปลูกป่าคืนแผ่นดินไทย สนองพระราชเสาวนีย์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

Thursday, 18 August 2011 Read 1522 times Written by 

p24urlปัจจุบันป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ กำลังถูกแผ้วถางทำลายอย่างรวดเร็ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระราชดำริ ให้มีการชักชวนประชาชนทั่วไป และข้าราชการส่วนต่าง ๆ ร่วมกันปลูกป่าตัวอย่างเพื่อเป็นการชักชวนให้ประชาชน เกิดความรู้สึกรักและหวง แหนป่าไม้ ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำพิธีขึ้นครั้งแรกที่บริเวณเชิงภูผาเหล็ก ติดกับอ่างเก็บน้ำคำจวง บ้านถ้ำติ้ว อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 เวลา 14.00 น. โดยในพิธีทรงให้มีการบวงสรวงเทพารักษ์ เจ้าป่ามาสถิตอยู่ ณ ป่าแห่งนี้ด้วยและพระองค์ทรงปลูกป่าเป็นตัวอย่าง ด้วยพระองค์เอง จำนวน 1 ไร่ พร้อมทั้งพระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า “โครงการป่ารักน้ำ”


อย่างไรก็ตามจากพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ขอให้ทหารช่วยดูแลเรื่องป่าไม้ และน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และป่าเขาใหญ่ ขอให้ทหารและกรมป่าไม้ รวมทั้งส่วนราชการอื่น ๆ ปลูกฝังแนวคิดให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อยู่ร่วมกับป่าอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยไม่เข้าไปรบกวนป่า ตลอดจนพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย พล.ร.ท.พงศ์ศักดิ์ ภูรีโรจน์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดได้สนองพระราชดำริ ที่ทรงห่วงใยผืนป่าที่ถูกทำลาย จึงได้นำกำลังทหารหาญ พร้อมด้วย เยาวชน ประชาชน โดยทั่วไปร่วมโครงการปลูกป่า ฟื้นฟูธรรมชาติขึ้นมา และถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 นี้อีกด้วย

สำหรับโครงการค่ายเยาวชนรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยการรับผิดชอบของ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดและหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี ปีงบประมาณ 2554 ปัจจุบันพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในเขต อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี มีผู้บุกรุกแผ้วถางเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวทำให้สภาพป่าเกิดความเสื่อมโทรม ต้นน้ำลำธารถูกทำลายนำมาซึ่งความแห้งแล้งในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงทำให้มีผลกระทบต่อการใช้น้ำของเกษตรกรทำให้ผลผลิตลดลงเพื่อสนองพระราชดำริทรงให้ความสำคัญกับป่าต้นน้ำ
ลำธารที่ต้องอนุรักษ์ไว้จึงควรให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เยาวชนในพื้นที่โดยจัดให้มีค่ายเยาวชนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปลูกจิตสำนึกของเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนในการอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดใน ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โดยมีเยาวชนของโรงเรียนต่าง ๆ ใน ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการ

ส่วน โครงการรักษ์ชีวิตสัตว์ และป่าบ้านคลองโป่ง พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด แต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2518 รัฐบาลได้มีนโยบายเปิดให้มีการทำป่าไม้ทั่วประเทศ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนสัตว์ป่าขาดแคลนอาหารจึงต้องออกหาอาหารและน้ำนอกพื้นที่ป่าทำลายพืชผลทางเกษตรของราษฎรที่อาศัยอยู่รอบ ๆ พื้นที่ป่า ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างราษฎร และสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีราษฎรอยู่จำนวนหนึ่งที่เคยบุกรุกพื้นที่ป่า และปัจจุบันยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่านั้นและเมื่อ พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติผ่อนผันให้ราษฎรเหล่านั้นคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าต่อไปได้ และเพื่อให้ราษฎรที่อาศัยในพื้นที่ป่าสามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่บุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น และสามารถอยู่กับสัตว์ป่าได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการปลูกจิตสำนึกถึงความสำคัญของป่าส่งเสริมพัฒนาอาชีพหลักลดรายจ่ายเสริมรายได้ และสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อจัดตั้งองค์กรเครือข่ายในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยมีราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ใน ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว เข้าร่วมโครงการ

สำหรับโครงการพิทักษ์ชีวิตสัตว์ และป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ใน จ.จันทบุรี ป่าภาคตะวันออกในอดีตเคยเป็นป่าผืนใหญที่ติดต่อกัน ตั้งแต่ป่าดงพญาไฟป่าพนมสารคาม ไปจนถึงประเทศกัมพูชา แต่ด้วยเหตุผลนานัปการเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันป่าภาคตะวันออกเหลือเพียงป่ารอยต่อ 5 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, จันทบุรี, ระยอง และชลบุรี ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากกว่า 600 ชนิด ที่สำคัญได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น ช้างป่า กระทิง วัว แดง เก้ง กวาง สัตว์จำพวกนก และสัตว์อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก จึงถือเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมสัตว์ป่าที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมาป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ได้ลดพื้นที่ลงตามลำดับ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาอย่างต่อเนื่อง กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด นั้น ได้รับมอบนโยบายจากมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ในพื้นที่ จ.จันทบุรี โดย กปช.จต. ได้มอบหมายให้ ฉก.นย.จันทบุรี พัน.ร.ฉก.นย.จันทบุรี, พัน.ป.กจต. และ ร้อย.ลว.กจต. รับผิดชอบในการป้องกัน และปราบปราม และฟื้นฟูป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ในพื้นที่ อ.แก่งหางแมว และพื้นที่ อ.เขาคิชฌกูฏ ซึ่งที่ผ่านมา ฉก.นย.จันทบุรี ได้ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.แก่งหางแมว และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดำเนินการป้องกัน และปราบปรามการบุกรุกป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) จนประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตามถึงแม้ในปัจจุบันปัญหาการบุกรุกผืนป่ารอยต่อ 5 จังหวัด จะไม่รุนแรงเหมือนในอดีต แต่ก็ยังคงมีการลักลอบล่าสัตว์ป่าอยู่ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ ฉก.นย.จันทบุรี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่า ที่จะทำให้ระบบนิเวศของป่าเกิดความสมดุล ดังนั้นเพื่อให้ทรัพยากรสัตว์ป่ายังดำรงอยู่คู่กับป่า จึงต้องมีการรณรงค์ให้เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันรักษาชีวิตสัตว์ป่า และเลิกล่าสัตว์ป่า.


ขอขอบคุณที่มา :http://www.norsorpor.com/ข่าว/n2562264/นย.จันทบุรีจัดปลูกป่าคืนแผ่นดินไทย%20สนองพระราชเสาวนียือนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank