ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?

Wednesday, 02 January 2019 Read 2388 times Written by 

syn42

 

ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?” คำถามที่ดังไปสู่ชุมชนชายฝั่งทะเล

การปรับตัวของชุมชนชายฝั่งทะเลไทยรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

          ชุมชนชายฝั่งทะเล กำลังประสบสภาวะการเปลี่ยนแปลง เพราะภูมิอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมทำให้ทรัพยากรประมงลดลง พลอยให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวตามไปด้วย

          ชุมชนชายฝั่งทะเลจะปรับตัวอย่างไร โดยที่ยังคงต้องพึ่งพิงทรัพยากรชายฝั่ง จำเป็นต้องประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างรอบด้าน เพื่อให้ชุมชนใช้ผลการศึกษาในการวางแผนเพิ่มขีดความสามารถการปรับตัว เพื่อตอบคำถามนี้ นักวิจัยได้ศึกษาตัวอย่างชุมชนประมงชายฝั่ง 7 แห่ง ใกล้พื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลอันดามันของไทย โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานในการสำรวจและสัมภาษณ์

ภูมิอากาศเปลี่ยน ชาวประมงชายฝั่งต้องปรับ

          การปรับตัวของชุมชนด้านแรกที่สำคัญ คือ การเพิ่มพูนความรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นักวิจัยพบว่า ชาวประมงมีประสบการณ์และรับรู้การเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศแบบวันต่อวัน เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การกัดเซาะชายฝั่ง แต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะยังต้องหาเช้ากินค่ำ จึงแทบไม่มีเวลาหรือความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัว ดังนั้น การตอบสนองจึงเป็นแบบระยะสั้นมากกว่าการป้องกันและจัดการความเสี่ยงในอนาคต

          อย่างไรก็ตาม ชาวประมงยังมีกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงแบบอื่น นั่นคือ การมีรายได้แน่นอน ฐานะมั่นคง การออมเงิน และการส่งเสริมเยาวชนให้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

          สถาบันการเงินชุมชน ช่วยชาวประมง ในแง่การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพร้อมกับกระตุ้นการปรับตัว มีงานวิจัยที่พบว่า ชุมชนจะเริ่มปรับตัวได้เมื่อมีการสนับสนุนด้านการเงินเพียงพอ เทียบกับค่าใช้จ่ายในการปรับตัวของครัวเรือน        

          โดยสถาบันการเงินชุมชนจะมีประสิทธิภาพได้ ถ้าระดมชาวบ้านให้เป็นสมาชิกกันมากขึ้น มีการจัดการรูปแบบการออมและการให้เงินกู้อย่างเหมาะสม ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งเพื่อใช้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือกองทุนเพื่อการปรับตัวระดับโลก ต่อภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจริง

สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ชุมชนประมงจึงต้องอนุรักษ์

ชุมชนรับรู้ว่า สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจริง จำนวนปลาลดลงจริงๆ และยังจับปลาตัวใหญ่ได้น้อยลงด้วย

          ทั้ง ๆ ที่กรมประมงได้ประกาศมาตรการทำประมงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ชาวประมงส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิบัติตามเฉพาะกฎหมายเครื่องมือเท่านั้น ไม่ค่อยรับรู้ประกาศของกรมอุทยานแห่งชาติเรื่องเขตอนุรักษ์และเขตห้ามทำการประมงจับปลา และไม่ปรับตัวทำตามข้อบังคับของอุทยานฯ อาจเพราะว่า หากปฏิบัติตามจะทำมาหากินได้ไม่พอเพียง ภาครัฐเองก็ยังบริหารจัดการหรือกำกับดูแลแบบไม่เคร่งครัด หากใช้สองมาตรการแรกนี้อย่างจริงจัง ก็อาจช่วยให้ชาวประมงปรับตัวได้ วิธีนี้เรียกว่าเป็นการจัดการจากภายนอก หรือแบบ บนลงล่าง

          “การปรับตัวผ่านการพัฒนาของสถาบันท้องถิ่นและการเคารพจารีตในสังคม สถาบันพัฒนาท้องถิ่นติดตามการใช้ทรัพยากรประมง และพื้นที่ทางสังคมสำหรับการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและสนับสนุนการอนุรักษ์ ชุมชนจะปรับตัวได้ผลมาก เป็นวิธีการจัดการจากภายใน หรือแบบ ล่างขึ้นบนนั่นเอง

การปรับตัวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน พลิกวิกฤตสู่โอกาส

          สุดท้ายเป็น การปรับตัวต่อโอกาสทางเศรษฐกิจ รายได้ของครัวเรือนในชุมชนประมงกว่าร้อยละ 22.8 มาจากการท่องเที่ยว ดังนั้น การมีรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชนชาวประมง จะมีส่วนช่วยให้ชุมชนมีโอกาสที่จะมีรายได้มั่นคง และพร้อมจะปรับตัวด้านต่าง ๆ

          การพัฒนาชุมชนชายฝั่งทะเลไทยมีปัจจัย 3 ประการด้วยกัน คือ พื้นที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว คือมี ทุนทางธรรมชาติ อย่างอุดมสมบูรณ์ การมีที่ดินทำกิน หรือ "มีเงินทุน/มีสินทรัพย์และการจ้างแรงงานในท้องถิ่นและการมีรายได้จากภายนอก นั่นคือ 'การเชื่อมโยงทุนทางสังคม' รวมไปถึงความรู้ในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตลอดเวลา

จะเห็นได้ว่า ชุมชนชายฝั่งทะเลต้องปรับตัว ไม่ใช่เพียงเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังต้องประเมินประเด็นอื่น ๆ อย่างเหมาะสมด้วย โดยภาครัฐสนับสนุน และที่สำคัญคือ ชุมชนต้องเปิดใจและมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เพราะไม่เฉพาะชุมชนปัจจุบันเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ลูกหลานในชุมชนก็จะได้ประโยชน์ในอนาคตด้วย หากไม่ปรับตัว ปัจจัยทั้ง 3 ประการนั้นไม่ได้พัฒนา การเป็นชุมชนชาวประมงอาจกลายเป็นเพียงประวัติศาสตร์ ไม่เหลือปลาและสัตว์น้ำ ไม่เหลือสิ่งแวดล้อมที่สวยงามตามธรรมชาติ มีนายทุนมาครอบครองใช้ที่แทนเจ้าของเดิม นักท่องเที่ยวก็หายไป ดังนั้น ชาวประมงจึงต้องปรับตัวทั้งเพื่อปัจจุบันและอนาคตของชุมชน

 

อ้างอิง :

Bennett NJ, Dearden P, Murray G, Kadfak A. (2014). The capacity to adapt?: communities in a changing climate, environment, and economy on the northern Andaman coast of Thailand. Ecology and Society. 19(2).

Kulpraneet, A. (2013). Coastal household adaptation cost requirements to sea level rise impacts. Mitigation and Adaptation Strategies for Global Change, 18(3), 285-302.

Photo by UNDP in Latin America and the Caribbean

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank