ต้นยางพารา – ปลูกไว้ให้มากกว่าน้ำยาง

Wednesday, 02 January 2019 Read 4009 times Written by 

syn33

 

ต้นยางพารา – ปลูกไว้ให้มากกว่าน้ำยาง

เกษตรกรไทยทางใต้กับอีสานปลูกยางพารากันมาก และประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำเป็นระยะ ๆ  บางคนถอดใจจนอยากจะโค่นต้นยางทิ้งให้หมดเรื่องกันไป  แต่...ช้าก่อน ต้นยางพารามีประโยชน์มากกว่าแค่ให้น้ำยาง เพราะสวนยางทั้งสวนเก็บกักคาร์บอน จึงช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย หากมีข้อมูลศักยภาพกักเก็บคาร์บอนที่ชัดเจน ก็จะมีหนทางเพิ่มรายได้ เพราะคาร์บอนมิได้มีแต่ข้อเสีย เนื่องจากตั้งแต่มีพิธีสารเกียวโต ก็มีสิ่งที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต ซึ่งคือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM (Clean Development Mechanism)  กลไกนี้มีเพื่อประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งประสบปัญหาการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก จะซื้อโควตาคาร์บอนจากผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโครงการพัฒนาที่สะอาด  การทำเช่นนี้เรียกว่า การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก

เมื่อจะขายคาร์บอนเครดิตก็ต้องรู้ชัดว่า แต่ละที่กักเก็บคาร์บอนได้มากน้อยอย่างไร นักวิจัยจึงศึกษาสวนยางพารา โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงวิธีประเมินมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอน  วิธีประเมินการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันใช้ภาพถ่ายความละเอียดปานกลาง  ผลที่ได้จึงไม่ค่อยแน่นอน  นักวิจัยได้เปลี่ยนไปใช้ภาพถ่ายที่มีความละเอียดมาก (ระดับ 2 เมตร) จากดาวเทียมไทยโชติ ประกอบกับการตรวจสอบในพื้นที่จริงที่ศึกษาคือ บริเวณลุ่มน้ำประแส จังหวัดระยอง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011

 เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีจำแนกเชิงวัตถุด้วยข้อมูล พบว่าทำแผนที่สวนยางพาราได้ถูกต้อง เมื่อใช้แผนที่นี้ประกอบกับข้อมูลศึกษาจากพื้นที่ ก็จำแนกอายุของต้นยางได้ อีกทั้งประเมินได้ว่า ปริมาณชีวมวลทั้งหมดของสวนยางพาราในลุ่มน้ำประแสร์ มีจำนวน 2.23 ล้านตัน หรือ สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ในเนื้อไม้ได้ 0.99 ล้านตันคาร์บอน หรือ 64.23 ตันคาร์บอนต่อแฮกแตร์

          โดยสวนยางพารา อายุ 25 ปี กักเก็บคาร์บอนได้สูงสุดในอัตรา 53 ตันต่อแฮกแตร์ต่อปี ส่วนสวนยางพาราอายุ 8 ปี กักเก็บคาร์บอนได้ต่ำสุด 7.79 ตันต่อแฮกแตร์ต่อปี 

สรุปได้ว่าสวนยางพาราในลุ่มน้ำประแสร์ ค.ศ. 2011 สามารถดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 121 ตัน หรือ กักเก็บคาร์บอนไว้ในต้นยางพารา 33.05 ตัน

          ฉะนั้น จึงน่าจะมีการศึกษาต่อไปว่า นอกจากจะเก็บน้ำยาง ทำยางแผ่นขายแล้ว จะมีวิธีค้าขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพาราได้อย่างไร  ภาครัฐควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องนี้ให้เกษตรกรชาวสวนยางรู้โดยทั่วหน้า เพื่อเป็นทางเลือกก่อนจะตัดสินใจว่า ควรโค่นต้นยางไปปลูกพืชอื่นแทนดีหรือไม่

อ้างอิง: Charoenjit, K., Zuddas, P., Allemand, P., Pattanakiat, S., & Pachana, K. (2015). Estimation of biomass and carbon stock in Para rubber plantations using object-based classification from Thaichote satellite data in Eastern Thailand. Thesis.

Photo by Colourbox 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank