ดินสะสมคาร์บอนได้ มาก – น้อย

Wednesday, 02 January 2019 Read 1528 times Written by 

syn32

 

ดินสะสมคาร์บอนได้ มาก น้อย ตามอัตราการใส่ปุ๋ยหมัก

คนไทยทำเกษตรกรรมกันมาก แต่ก็ประสบปัญหามากเช่นกัน การเพาะปลูกต้องอาศัยดิน ทว่า ปัจจุบันดินเสื่อมคุณภาพด้วยสาเหตุหลายประการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีพื้นที่ดินทราย 12.5 ล้านไร่ ซึ่งจัดว่าเป็นดินเสื่อมโทรม มีธาตุอาหารของพืชน้อย จึงทำการเกษตรได้ผลผลิตน้อย เมื่อประชากรมากขึ้น ต้องการที่ดินเพาะปลูกเพิ่มขึ้น จึงต้องหาวิธีเพาะปลูกในพื้นที่ดินทรายให้ได้ผลผลิตมาก  วิธีแก้ปัญหาที่สาเหตุคือปรับปรุงดินทรายให้อุดมสมบูรณ์ วิธีหนึ่งคือใช้ปุ๋ยหมักซึ่งจะเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้ดิน กักเก็บคาร์บอน ช่วยให้เกิดเม็ดดิน เพิ่มแบคทีเรียในดิน และที่แน่นอนคือมีธาตุอาหารอย่างโปรแตสเซียมและฟอสฟอรัสช่วยให้พืชงอกงามด้วย

อินทรีย์คาร์บอนในดินทรายหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว หากใส่ปุ๋ยหมักน้อยเกินไปก็จะไม่เพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอน แต่จะรักษาระดับอินทรีย์คาร์บอนไว้ได้บ้าง แต่การใส่ปุ๋ยมาก ๆ ก็ไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป ในเมื่อการจัดการไร่นาอย่างการให้น้ำและใส่ปุ๋ยก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย แม้ว่าจะมีค่าเพียงร้อยละ 10 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

การจัดการคาร์บอนและเพิ่มอินทรีย์คาร์บอนในดินให้เหมาะสมจะช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการจึงต้องรู้ข้อมูลการกักเก็บและการสูญเสียคาร์บอนในดิน การใส่ปุ๋ยหมักช่วยกักเก็บคาร์บอน ส่วนการไถพรวนดินและการใช้ปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินสูญเสียคาร์บอน  ดินที่สูญเสียคาร์บอนมากกว่าที่กักเก็บได้ก็คือแหล่งปล่อยก๊าชเรือนกระจกนั่นเอง

นักวิจัยได้ประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในดินทราย โดยเปรียบเทียบผลการใส่ปุ๋ยหมักน้อยกับที่ใส่มาก โดยใช้ป่าดิบเขาเป็นระบบนิเวศอ้างอิง โดยศึกษาเมื่อ ค.ศ. 2005 ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนตามพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อเก็บข้อมูลจากแปลงปลูกข้าวโพดหวานเพื่อกินฝัก (super sweet corn) ที่ใส่ปุ๋ยหมักต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ในอัตราสูงที่ 8 ตันต่อไร่ต่อปี  และในอัตราต่ำที่ 4.8 ตันต่อไร่ต่อปี การใส่ปุ๋ยในอัตราสูงก็เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์และเพิ่มผลผลิตข้าวโพด  ส่วนการใส่ปุ๋ยในอัตราต่ำจะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเท่านั้น  ผลการวิจัยชี้ชัดว่า ปุ๋ยหมักที่เหมาะสมคือ ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย การใช้ปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่อง 22 ปี ในอัตราสูงเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในดินได้ถึง 90 กิโลกรัมคาร์บอนต่อไร่ต่อปี ส่วน ค.ศ. 2005 คาร์บอนในดินของป่าดิบเขาซึ่งใช้เป็นแปลงเทียบเคียงกักเก็บคาร์บอนได้ 2.61 ตันคาร์บอนต่อไร่ 

สรุปได้ว่า แม้จะต้องเพาะปลูกในพื้นที่ดินทราย หากใส่ปุ๋ยหมักให้เหมาะสม ไม่เพียงจะเพิ่มผลผลิต แต่ยังกักเก็บคาร์บอน และช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

อ้างอิง: Jaiarree, S., Chidthaisong, A., Tangtham, N., Polprasert, C., Sarobol, E., & Tyler, S. C. (2014). Carbon budget and sequestration potential in a sandy soil treated with compost. Land Degradation & Development, 25(2), 120-129.

Photo by Greenpeace 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank