ก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวลดได้ด้วยการจัดการน้ำ

Wednesday, 02 January 2019 Read 2991 times Written by 

syn25

 

ก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวลดได้ด้วยการจัดการน้ำ

          ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรครึ่งโลก ข้าวร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมดปลูกในทวีปเอเชีย ชาวนาไทยส่วนใหญ่ปลูกข้าวปีละสองครั้ง และทำนาที่ขังน้ำซึ่งต้องใช้น้ำมาก ทว่า การทำนาข้าวไม่ได้มีเพียงประโยชน์ แต่ยังเป็นแหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีเทนที่สำคัญรองจากคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีค่าศักยภาพก่อเกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าถึง 34 เท่า หากจะควบคุมการเพิ่มอุณหภูมิ ไม่ให้โลกร้อนเร็วขึ้น และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็น่าจะใส่ใจหาทางลดก๊าซนี้ให้ได้มาก ๆ โดยเร็ว ไม่ใช่หาทางลดเพียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

          สาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดก๊าซมีเทนก็เพราะเมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำในนาเป็นเวลานาน จะมีเศษซากพืชปริมาณมาก เมื่ออินทรียวัตถุเหล่านี้ย่อยสลายแบบไร้อากาศจะเกิดก๊าซมีเทน แต่หากจัดการน้ำในแปลงนาให้เหมาะสมก็น่าจะลดการเกิดก๊าซนี้ได้

          การจัดการน้ำในแปลงนามีสามวิธี คือ วิธีขังน้ำต่อเนื่องตลอดระยะเวลาปลูกข้าว วิธีผันน้ำกลางฤดูทำนา และวิธีผันน้ำหลายครั้ง หรือที่เรียกว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ผลงานวิจัยเปรียบเทียบวิธีขังน้ำในนาจากพื้นที่บริเวณภาคกลางของไทย 6 แห่ง เพื่อประเมินค่าการปล่อยก๊าซมีเทนระหว่าง ค.ศ. 2001 – 2060 โดยใช้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต พบว่า ในช่วง ค.ศ. 2051 – 2060 เมื่อเทียบกับวิธีขังน้ำต่อเนื่อง วิธีผันน้ำกลางฤดูทำนาจะลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้ 21.9 – 22.9% ถ้าใช้วิธีผันน้ำหลายครั้งจะลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้ถึง 53.5 – 55.2% ค่าการปล่อยก๊าซมีเทนนี้เทียบเท่าค่าการปล่อยก๊าซมีเทนที่บันทึกไว้ในช่วง ค.ศ. 2001 – 2010

แม้สภาพภูมิอากาศในช่วงหลายทศวรรษหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลกระทบเชิงปริมาณของการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวก็จะไม่ลดลง หากไม่จัดการน้ำในแปลงนาให้เหมาะสม การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง นอกจากจะลดการใช้น้ำซึ่งเป็นทรัพยากรที่จะยิ่งหายากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ยังช่วยลดการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ส่งผลให้การปล่อยก๊าซมีเทนลดลง ช่วยชะลอการเพิ่มอุณหภูมิโลก และอาจช่วยเพิ่มผลผลิตด้วย จึงควรศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในด้านพื้นที่เพาะปลูก พันธุ์ข้าว และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบต่าง ๆ ในอนาคต

อ้างอิง: Minamikawa, K., Fumoto, T., Iizumi, T., Cha-Un, N., Pimple, U., Nishimori, M., Ishigooka, Y., Kuwagata, T. (2016). Prediction of future methane emission from irrigated rice paddies in central Thailand under different water management practices. Science of the Total Environment, 566, 641-651.

Photo by CCAFS - CGIAR

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank