การเผาเศษวัสดุในนาข้าวเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

Wednesday, 02 January 2019 Read 3160 times Written by 

syn26

 

การเผาเศษวัสดุในนาข้าวเกิดผลเสียต่อสุขภาพ แล้วยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มปัญหาโลกร้อน

ชาวนาไทยทำนาปีละสองถึงสามครั้ง ผลิตข้าวสำหรับบริโภคในประเทศและส่งออกขายในตลาดโลก หลังเก็บเกี่ยวก็จะเตรียมที่นาสำหรับทำนาครั้งต่อไปทันที ไม่ว่าจะเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือใช้รถเกี่ยว สิ่งที่เหลืออยู่ในนาคือตอซัง ซึ่งต้องทำลายทิ้งก่อนจะไถนาเตรียมปลูกข้าวครั้งต่อไปได้

ตอซัง เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ รวมเรียกว่าชีวมวล แม้ชีวมวลจะมีประโยชน์ แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือไม่ระวังก็ก่อโทษเช่นกัน

เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนามักเผาตอซัง หญ้า เศษวัชพืชต่าง ๆ ในนาข้าว เพื่อเตรียมที่นาสำหรับฤดูเพาะปลูกครั้งต่อไป การเผาชีวมวลเหล่านี้ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นวิธีที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงเป็นที่นิยมตลอดมา มาในระยะหลังนี้จึงเริ่มมีการศึกษาประโยชน์และโทษของการเผาชีวมวลจนพบว่า การเผานี้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกด้วย

รายงานวิจัยหนึ่งในเรื่องนี้ศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็นของชาวนาหนึ่งพันคน ทั้งในเรื่องจำนวนที่นาที่ครอบครอง จำนวนครั้งที่ทำนา วิธีปลูกข้าว วิธีเก็บเกี่ยวที่เลือกใช้ รวมถึงสาเหตุที่เผาชีวมวลในนา วิธีเผา พื้นที่ที่เผา นักวิจัยเลือกแปลงนาตัวอย่าง 120 แห่ง เพื่อตรวจวัดค่าปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ หลังฤดูเก็บเกี่ยว

มีผลการวิจัยว่า ชาวนาร้อยละ 45 มีพฤติกรรมเผาเศษวัสดุการเกษตรบนที่โล่งเป็นประจำ โดยให้เหตุผลว่าเผาเพื่อการเตรียมดินก่อนทำนา ปริมาณเศษวัสดุการเกษตรจากการทำนามีประมาณ 117 ล้านตัน กว่าร้อยละ 60 ของเศษวัสดุทั้งหมดจะถูกเผาในทุ่งนา เศษวัสดุเหลือใช้เพียงร้อยละ 15 ที่ถูกเผาในทุ่งนาโดยสมบูรณ์เพราะมีความชื้นในเศษวัสดุการเกษตรและดินเป็นตัวขัดขวางการเผาไหม้

ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการเผาเศษวัสดุเกษตรบนที่โล่ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ 14.87 ล้านตัน มีเทน 0.03 ล้านตัน และไนตรัสออกไซด์ 0.0009 ล้านตัน มลพิษที่ปล่อยจากการเผาเศษวัสดุการเกษตร ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ 1.67 ล้านตัน ออกไซด์ของไนโตรเจน 0.04 ล้านตัน ฝุ่นละลองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน 0.35 ล้านตัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน 0.12 ล้านตัน และเขม่าดำคาร์บอน 0.01 ล้านตัน

ก๊าชเรือนกระจกและมลพิษดังกล่าว ร้อยละ 30, 26 และ 17 เกิดจากการเผาที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันตกของประเทศไทย นอกจากนี้ ร้อยละ 31 และร้อยละ 30 มลพิษจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมถึงมกราคม และ เมษายนถึงพฤษภาคม เป็นประจำทุกปี โดยมีแนวโน้มของค่ามลสารที่ปล่อยสู่บรรยากาศสูงกว่าในอดีต 1-5

การศึกษานี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินค่าปัจจัยการปล่อยมลพิษในอากาศ ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยประสบปัญหามลพิษในอากาศจากการเผาชีวมวลในนาข้าวนี้ตลอดปี เพราะการทำนาปีละสองครั้ง ทั้งนาปีและนาปรัง ถ้ายังปลูกข้าวและเผาชีวมวลเช่นนี้ก็จะประสบปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่อง จำเป็นต้องเสนอทางเลือกสำหรับจัดการชีวมวลในนา การส่งเสริมใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์ตอซังในการปลูกข้าว การสร้างแรงจูงใจด้านผลตอบแทนจากการไม่เผาตอซัง และ ให้ความรู้ชาวนาเรื่องสาเหตุของโลกร้อน

อ้างอิง: Cheewaphongphan, P. and Garivait, S., (2013). Bottom up approach to estimate air pollution of rice residue open burning in Thailand. Asia-Pacific Journal of Atmospheric Sciences, 49(2), 139-149.

Photo by The Nation 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank