ภัยแล้งเพราะโลกร้อนคุกคามน้ำใต้ดินด้วย!

Wednesday, 02 January 2019 Read 822 times Written by 

syn19

 

ภัยแล้งเพราะโลกร้อนคุกคามน้ำใต้ดินด้วย!
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย

ลึกลงไปใต้ผิวดิน ยังมีแหล่งทรัพยากรน้ำทางเลือกที่เรียกว่า น้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล ซึ่งอยู่ลึกในระดับน้ำอิ่มตัว  น้ำบาดาลถูกสูบขึ้นมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ๆ ๆ  เพราะน้ำผิวดินที่ลดลงจนไม่พอใช้

สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นตัวการลำดับต้น ๆ ที่ก่อให้เกิด ปัญหาภัยแล้ง ที่รุนแรง ความแปรปรวนของภูมิอากาศตามฤดูกาล และการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรม ไม่ได้คุกคามเฉพาะอากาศและผิวโลกเท่านั้น ยังกลายเป็นภัยคุกคามน้ำใต้ดินด้วย  เมื่อภัยนี้หนักขึ้นทุกที ๆ  ในอนาคตน้ำใต้ดินจะเป็นอย่างไร?

ภัยแล้งคุกคามน้ำใต้ดิน

นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ของสถานการณ์ภัยแล้งกับสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ซึ่งทำให้ชาวบ้านภาคตะวันออกของไทยต้องการใช้น้ำใต้ดินกันมากขึ้น ภาพจำลองการหมุนเวียนภูมิอากาศในอนาคต ชี้ว่า ฝนในภาคตะวันออกจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2

หลักฐานเพิ่มเติมจากแผนที่ภัยแล้ง ของกรมพัฒนาที่ดิน แสดงให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 95 ในภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญการขาดแคลนน้ำมากขึ้น ทั้งจากภัยแล้งตามฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงเพราะปริมาณฝนลดลงมากที่สุดและจะเกิดภัยแล้งรุนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี และสระแก้ว

พื้นที่ที่จะเผชิญภัยนี้เพิ่มขึ้น เรียกว่า “exposure” คือ เป็นพื้นที่มีแนวโน้มสูงว่าจะต้องการใช้น้ำใต้ดินเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

น้ำใต้ดินที่อ่อนไหว ก็รับภัยสูง

มีปัจจัยถึง 4 ประการที่ชี้วัดว่า น้ำใต้ดินในพื้นที่ภาคตะวันออก มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง และจะได้รับผลกระทบสูงจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง นั่นคือ

1. ชั้นน้ำใต้ดิน มีความลึกเฉลี่ย 5 เมตร (จากช่วง 1.3 ถึง 20 เมตร) และกว่าร้อยละ 90 ลึกระหว่าง 2 ถึง 10 เมตร

2. บริเวณชั้นดินส่วนเหนือระดับน้ำใต้ดิน (Vadose zone) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีเกือบร้อยละ 50 เป็นดินทรายที่ระบายน้ำง่าย พื้นผิวดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหนียวปนทราย และบางพื้นที่เป็นดินทรายผสมกรวดหิน ทำให้น้ำใต้ดินปนเปื้อนได้ง่ายมากกว่า

3. ปริมาณน้ำจำเพาะ หรือ ศักยภาพในการให้น้ำของชั้นน้ำใต้ดิน (specific capacity) มีค่าเฉลี่ยต่ำ คือ เพียง -0.616 (จากช่วง -1.38 ถึง 0.72) และ

4. ลักษณะภูมิประเทศที่มีความลาดชันต่ำหรือค่อนข้างราบ คือ เฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0 ถึง 2 ดังนั้น ระบบน้ำใต้ดินก็เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าพื้นที่สูงชัน

จากการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ความอ่อนไหวของน้ำใต้ดินดังกล่าว ได้ผลเป็นระดับความรุนแรงของความอ่อนไหว (DRASTIC sensitivity) และเมื่อนำมาซ้อนทับกับข้อมูลระดับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้สามารถประเมินผลกระทบโดยตรงจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มีต่อน้ำใต้ดินได้

ผลการศึกษา ระบุว่า หากในอนาคตฝนตกมากขึ้น ผลกระทบก็จะน้อย (Impact +) แต่ถ้าฝนตกน้อยลง ผลกระทบก็จะรุนแรง (Impact -) และรุนแรงสูงสุด (Impact --) เมื่อน้ำฝนเข้าใกล้ค่าศูนย์หรือไม่มีฝนเลย

ภาคตะวันออกกว่าร้อยละ 70 เป็น Impact - และร้อยละ 10 เป็น Impact -- โดยเป็นพื้นที่ที่มีทั้งค่าความอ่อนไหวสูงและปริมาณฝนที่ลดลง มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เป็น Impact +  กว่าร้อยละ 80 ของตำบลในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับความแห้งแล้ง โดยจังหวัดฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี พบร้อยละ 13, 5, 11, 11, 17, 10 และ 12 ตามลำดับ

นอกจากนั้นแล้ว จากการวิเคราะห์ความเปราะบาง (Vulnerability) ต่อภัยคุกคามจากอากาศแปรปรวน  ในอนาคต ยังพบอีกว่า เพียงร้อยละ 5 ของตำบลในจังหวัดจันทบุรีและตราดที่ไม่มีความเสี่ยง ส่วนที่เสี่ยงเล็กน้อยถึงปานกลางมีร้อยละ 15 และ 45 ตามลำดับ  ขณะที่ กว่าร้อยละ 35 มีความเสี่ยงสูง และประมาณร้อยละ 6 ของภูมิภาคจัดเป็นจุดวิกฤต (เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งและขาดแคลนน้ำใต้ดินปริมาณมาก) หรือเรียกว่า hotspot เช่น จังหวัดชลบุรี โดยจุดเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอนาคตและการเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจของภูมิภาค

จะเห็นได้ว่า น้ำใต้ดิน อันเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่น้อย เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพิงน้ำใต้ดินในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  รวมถึงการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย  ดังนั้น การรับรู้สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจึงสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการน้ำใต้ดินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม และรับมือกับสภาพอากาศแปรปรวนที่ไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลงเลย

อ้างอิง : Seeboonruang, U. (2016). Impact assessment of climate change on groundwater and vulnerability to drought of areas in Eastern Thailand. Environmental Earth Sciences, 75(1), 13.

Photo by NoCamels.com 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank