อากาศแปรปรวนส่งผลให้ป่วยหนักจนถึงตาย!!!

Wednesday, 02 January 2019 Read 632 times Written by 

syn20

 

อากาศแปรปรวนส่งผลให้ป่วยหนักจนถึงตาย!!!

อาหารอร่อยประจำถิ่นอีสานและถิ่นเหนือของไทยหลายชนิด คืออาหารปรุงดิบ ๆ สุก ๆ ที่ยอดนิยมคือปลาร้าและปลาดิบซึ่งไม่ใช่ปลาดิบแบบญี่ปุ่น แม้แพทย์จะหมั่นบอกหมั่นเตือนมาหลายปีดีดัก ว่าการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ปรุงสุกเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทว่า ความเคยชินและความอร่อยนั้นทำให้ยากจะห้ามใจ จึงมีผู้ป่วยเพราะพยาธิใบไม้ตับถึง 8 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในโลก  เมื่อเป็นโรคนี้ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ การแพทย์สมัยใหม่ก็ “เอาอยู่” แต่ที่แย่คือ เมื่อแรกเป็นมักไม่มีอาการอะไรนักหนา กว่าจะรู้ตัวก็ช้าเกินจนตับอักเสบ หรือถึงกับเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ ถึงตอนนั้นรักษายากเสียแล้ว  โรคนี้ใช่ว่าจะมีแต่ในไทย ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนามตอนใต้ก็มีผู้ป่วยไม่น้อยเพราะนิสัยการกินคล้ายกัน

การแก้ปัญหาย่อมต้องแก้ที่สาเหตุ เมื่อประชาชนชอบกินปลาดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิ  พยาธิก็จะเข้าไปอาศัยอยู่ในท่อทางเดินน้ำดีที่อยู่ในตับแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ทำลายตับของเรา แพทย์จึงแนะนำให้กินอาหารปรุงสุก แม้ว่าหอยและปลาในแหล่งน้ำจืดมีพยาธิเป็นปรสิต แต่ถ้าปรุงสุกให้ทั่ว ใช้ความร้อนเกิน 70 องศา พยาธิก็ตาย คนกินปลอดภัย

แต่ถ้าแก้ที่นิสัยคนกินไม่ได้ มีวิธีลดพยาธิในธรรมชาติได้ไหม ให้พยาธิเกิดน้อย ๆ ตายมาก ๆ หรือสูญพันธุ์ไปเลยก็ได้ หอยและปลาจะได้สุขภาพดีน่ากิน นักวิจัยจึงลองทำแบบจำลองผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อศักยภาพการแพร่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ เนื่องจากสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ และปริมาณฝน มีผลต่อการกระจายตัว การอยู่รอด และการเพิ่มจำนวนของพยาธิในธรรมชาติ อีกทั้งการแพร่เชื้อจะขึ้นกับชนิดของสัตว์พาหะที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ด้วย 

นักวิจัยได้สร้างแบบจำลองผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เพื่อประเมินโอกาสแพร่ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับในอนาคต การวิเคราะห์พบว่า ปัจจุบันการกระจายของพยาธิใบไม้ในตับขึ้นกับปริมาณฝนและอุณหภูมิต่ำสุด  ทว่า เมื่อพิจารณาภาพฉายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าในปี 2050 การกระจายของพยาธิใบไม้ตับจะขึ้นกับปริมาณฝน อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ยของช่วงเดือนที่ฝนชุกที่สุด ส่วนในปี 2070 จะขึ้นกับปริมาณฝนตกในฤดูหนาว และอุณหภูมิสูงสุดกับต่ำสุด  สรุปได้ว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการเพิ่มจำนวนของปรสิตจะเพิ่มขึ้น โตเร็วกว่าเดิม ระยะเวลาแพร่เชื้อก็นานขึ้นด้วย ดังนั้น โอกาสที่พยาธิชนิดนี้จะลดน้อยหรือสูญพันธุ์จึงไม่มี มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น แถมแพร่เชื้อได้นานขึ้นอีก ข้อมูลที่ได้จากงานนี้จะใช้อ้างอิงเพื่อวางแผนป้องกันและควบคุมพยาธิใบไม้ตับในระยะยาวของประเทศได้

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว การจะหวังว่าพยาธิจะเกิดน้อย ตายมาก ๆ หรือสูญพันธุ์ จะต้องผิดหวังแน่นอน ดังนั้น ถ้าไม่อยากทรมาน เจ็บไข้ได้ป่วยและตายอย่างทรมาน เพราะเกิดโรคโดยกินพยาธิอย่างเอร็ดอร่อย ก็ควรลด ละ เลิกการกินอาหารดิบ ๆ สุก ๆ และช่วยกันบอกต่อแก่เพื่อนบ้านด้วย

อ้างอิง : Suwannatrai, A., Pratumchart, K., Suwannatrai, K., Thinkhamrop, K., Chaiyos, J., Kim, C. S., . . .Sripa, B. (2017). Modeling impacts of climate change on the potential distribution of the carcinogenic liver fluke, Opisthorchis viverrini, in Thailand. Parasitology Research, 116(1), 243-250.

Photo by สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank