การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของระบบเกษตร

Tuesday, 01 January 2019 Read 2706 times Written by 

syn7

 

แม้อากาศเปลี่ยนแปลงไป แต่เกษตรไทยต้องมั่นคง

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของระบบเกษตร

          การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตที่แปรปรวนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากโลกร้อนนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลโดยตรงต่อภาคการเกษตร ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำและสร้างรายได้จากการส่งเป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยเรา การเปลี่ยนแปลงนี้มีทั้งทางด้านกายภาพของพืชและสัตว์ ทั้งการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตลอดจนผลผลิตที่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากการเกษตรเกิดปัญหาย่อมทำให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเสียหายไปตาม ๆ กัน

ด้วยอากาศที่ร้อนขึ้นและความผันผวนของปริมาณฝนที่บางครั้งก็มากไป น้อยไป และไม่ตกต้องตามฤดูกาล รวมถึงการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ อาจทำให้ทั้งปริมาณและคุณสมบัติของดินและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตเปลี่ยนแปลงไปด้วย จะเห็นได้ว่า ระบบเกษตรในอนาคตจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากกว่าปัจจุบัน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมียุทธศาสตร์และแนวทางการปรับตัวเพื่อนำ ภาคการเกษตรไทยไปสู่ความมั่นคงในอนาคตระยะยาว ให้จงได้

ความท้าทายในการปรับตัวของภาคการเกษตรต้องเริ่มจากการขยายวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์การเกษตรระยะยาวถึง 20-30 ปี โดยวางแผนเรื่องผลผลิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยและของโลก โดยพิจารณาผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปหลากหลายรูปแบบ แล้วถอดบทเรียนออกเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการปรับตัว

          รายงานของ IPCC ได้เสนอแนวทางการปรับตัว ประกอบด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรเพื่อปรับปรุงและใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสม ได้แก่ พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตมากและทนความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วม น้ำและดินเค็ม รวมถึงโรคพืชและแมลงต่าง ๆ ร่วมกับการจัดการแปลงเพาะปลูกและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร เช่น การจัดหาหรือจัดสรรพื้นที่และน้ำเพื่อปศุสัตว์ การสำรองน้ำฝน และระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการจัดการน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำท่วม เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องมีการปรับปรุงการสื่อสารด้านการพยากรณ์อากาศให้ไปถึงเกษตรกร รวมถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงนานาชาติเพื่อการวางแผนที่ดีขึ้นอีกด้วย

มีรายงานของ FAO เสนอแนวทางการปรับตัวสำหรับภาคการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสำหรับประเทศไทยได้ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาและเสนอแนวทางการปรับตัวโดยปรับเปลี่ยนปฏิทินเพาะปลูกและเทคนิคการเพาะปลูกพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญ เช่น การเพิ่มรอบการปลูกต่อปีโดยใช้พันธุ์ข้าวที่อายุสั้นและหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของพื้นที่จากน้ำท่วมในนาชลประทาน ร่วมกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปรับโครงสร้างการเพาะปลูก โดยจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นต้น

          นอกจากนี้ ต้องศึกษารูปแบบโครงสร้างของตลาดและกลไกราคาสินค้าเกษตร ซึ่งอาจจะนำมาใช้เป็นกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การปรับรูปแบบการเกษตรได้ในอนาคต รวมไปถึงแนวทางการประกันภัยพืชผลทางเกษตรในกรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายจากการประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ

สำหรับภาคส่วนการเกษตรในระดับท้องถิ่น อาจต้องพิจารณาในเชิงการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ โดยอาจอิงกับแนวคิดระบบนิเวศเกษตรและความมั่นคงในการดำรงชีพ ซึ่งเกษตรกรมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกใช้วิธีการตามทุนที่มีอยู่ ร่วมกับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐและสถาบันท้องถิ่นด้วย

          อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาองค์ความรู้ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่า การศึกษาในระยะที่ผ่านมายังคงจำกัดอยู่ที่การเพาะปลูกพืชบางชนิดเท่านั้น และมักเป็นประเด็นในแง่ของการรักษาระดับการผลิต ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอสำหรับการวางแผนการปรับตัวที่เหมาะสมหรือสร้างโยบายที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ จึงจำเป็นต้องขยายกรอบการศึกษาเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการผลิตด้านการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น ตลอดจนการศึกษาความเสี่ยงของระบบนิเวศเกษตรที่แตกต่างกัน รวมถึงการพิจารณาประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย

          ดังนั้น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตด้วยระบบเกษตรที่มั่นคง ย่อมไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของภาคส่วนใด แต่ต้องอาศัยทุก ๆ คนร่วมมือกันรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม เพราะเราคงมีชีวิตอยู่ไม่ได้หากขาดข้าวปลาอาหาร ซึ่งล้วนเป็นผลผลิตมาจากการเกษตรที่มั่นคงนั่นเอง

อ้างอิง : ศุภกร ชินวรรโณ และ พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, 2559: การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของระบบเกษตรที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. ใน: รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2: องค์ความรู้ด้านความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. คณะทำงานกลุ่มที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [อำนาจ ชิดไธสง, ปริเวท วรรณโกวิท, มัทนพรรณ จิ๋วเจียม, อัศมน ลิ่มสกุล, ศุภกร ชินวรรโณ และชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (บรรณาธิการ)]

Photo by United Nations University

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank