สถานภาพและแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

Tuesday, 01 January 2019 Read 1471 times Written by 

syn8

 

ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากแค่ไหน

สถานภาพและแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

          เชื่อว่าทุกคนต่างต้องเคยได้ยินผ่านหู ได้ดูผ่านตากันมาบ้างแล้วว่า ปัญหาโลกร้อนเกิดจาก ภาวะเรือนกระจกที่ชั้นบรรยากาศโลกเพราะมีการสะสมของก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากจนเกินสมดุลของระบบธรรมชาติในการดูดกลับ ทำให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านเข้าในในชั้นบรรยากาศโลกไม่ถูกสะท้อนมายังพื้นโลกมากขึ้น  การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์บนโลกนั่นเองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก    

ทั้งนี้มีข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาระดับโลกโดย IPCC ที่รายงานว่า ใน พ.ศ. 2513 ทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ในหน่วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ CO2eq) ประมาณ 27 พันล้านตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 49 พันล้านตัน ใน พ.ศ. 2553 โดยมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและกระบวนการในอุตสาหกรรม มากที่สุดถึงร้อยละ 65 และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกด้วย  ดังนั้น คงอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วประเทศไทยของเราล่ะ มีสถานภาพและแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างไร

          จากข้อมูลของสถาบันทรัพยากรโลก ซึ่งประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมได้ ระบุว่า ใน พ.ศ. 2555 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 375.7 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จัดอยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสุทธิต่อหน่วยประชากรอยู่ที่ระดับ 5.63 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อคน ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 85.8 เมื่อเทียบกับใน พ.ศ. 2513

          กลับมาพิจารณาการศึกษาปริมาณก๊าซเรือนกระจกของฝั่งไทยเราเองบ้าง พบว่า มีหลายหน่วยงานที่สนใจศึกษาและคำนวณบนพื้นฐานที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการจัดทำรายงานอยู่หลายชุดข้อมูลที่สำคัญได้แก่ รายงานความก้าวหน้ารายสองปี (Biennial Update Report – BUR) ซึ่งจัดทำครั้งแรกใน พ.ศ. 2558 รายงานว่า ใน พ.ศ. 2554 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากอดีตร้อยละ 3.20 ต่อปี โดยสาขาพลังงานปลดปล่อยมากที่สุดถึงร้อยละ 70 ของทั้งหมด

          เมื่อพิจารณาภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้ร่วมด้วย พบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.03 ต่อปี เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้มีศักยภาพเป็นแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยในช่วง พ.ศ. 2543 2554 ปริมาณการดูดกลับมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.93 ต่อปี  ดังนั้น เมื่อนำมาคำนวณรวมกันจึงส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นที่น้อยลง นั่นเอง

นอกจากนั้นแล้ว องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ยังรายงานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยเพิ่มเติมอีกว่า ใน พ.ศ. 2551 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ (ในหน่วยล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ MtCO2eq) เท่ากับ 402.65 โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด คือ 263.28 (ร้อยละ 65.39) รองลงมาคือ มีเทน 111.01 (ร้อยละ 27.57) ไนตรัสออกไซด์ 27.07 (ร้อยละ 6.72) รวมถึงก๊าซกลุ่มไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ อีกกว่า 1 ล้านตัน

          สำหรับแนวโน้มในอนาคต มีการคาดการณ์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ใน พ.ศ. 2552 2593 จากโครงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญ ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยใช้ข้อมูล GDP ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด ซึ่งอาจสูงถึง 657.67 MtCO2eq ใน พ.ศ. 2573 และมากถึง 1,250 MtCO2eq ใน พ.ศ. 2593 อย่างไรก็ตาม การนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ก็ควรคำนึงถึงระดับความน่าเชื่อถือ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

เพราะฉะนั้น แม้ว่าประเทศไทยจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือ Non – Annex I ของ UNFCCC ซึ่งไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่สถานการณ์ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพราะโลกร้อนก็เป็นเรื่องที่ทุกคนทั่วโลกต้องเผชิญ ทั้งยังเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหานี้ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีส ประชาชนคนไทยเองก็ต้องตระหนักถึงความสำคัญและร่วมมือจัดการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ และช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมของโลกในครั้งนี้ไปให้ได้

อ้างอิง : อรทัย ชวาลภาฤทธิ์, 2559: สถานภาพและแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย. ใน: รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2: องค์ความรู้ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก. คณะทำงานกลุ่มที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [อำนาจ ชิดไธสง, ปริเวท วรรณโกวิท, มัทนพรรณ จิ๋วเจียม, อัศมน  ลิ่มสกุล, ศุภกร ชินวรรโณ และชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (บรรณาธิการ)]

Photo by World Resource Institute 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank