โลกร้อน! เราเย็นได้ หากใช้วิธีจัดการน้ำที่ยั่งยืน

Tuesday, 01 January 2019 Read 667 times Written by 

syn6

 

โลกร้อน! เราเย็นได้ หากใช้วิธีจัดการน้ำที่ยั่งยืน

          การที่มีแนวโน้มว่าภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่โลกเรามีประชากรมากขึ้น เมืองขยายมากขึ้น และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่งผลให้ผู้คนใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้น้ำ ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมไปถึงการช่วยหล่อเลี้ยงระบบนิเวศธรรมชาติก็เพิ่มขึ้นจนเกิดปัญหา

          ประเด็นน่าสนใจที่ตามมาก็คือ เมื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ได้กลายเป็นแรงขับดันและความท้าทายที่ทำให้ต้องปรับตัวเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ เราจะทำอย่างไรดีจึงจะจัดการได้อย่างยั่งยืน

          จากรายงานขององค์การสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาน้ำของโลก (The United Nations World Water Development Report 2015) ตามแนวคิด น้ำเพื่อโลกที่ยั่งยืนสรุปได้ว่า ปัจจุบันโลกของเรามีการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนโดยต้องการใช้น้ำมากขึ้น คาดการณ์ได้ว่าใน ค.ศ.2030 จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำประมาณร้อยละ 40 ในบางพื้นที่ หากยังพัฒนากันไปแบบปกติเหมือนในอดีต ทั้งนี้ ได้นำเสนอ น้ำกับการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ใน 3 มิติ คือ การจัดการน้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญแก่ระบบนิเวศซึ่งช่วยให้เกิดการบริการน้ำที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงแหล่งน้ำที่ปลอดภัยเท่าเทียมกันทุกคน

          สำหรับประเทศไทยในอนาคต การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีแนวโน้มจะทำให้ปริมาณฝนไม่แน่นอน การกระจายตัวของฝนด้านพื้นที่และห้วงเวลาก็ไม่แน่นอน จึงจำเป็นต้องปรับการจัดการน้ำตั้งแต่ปัจจุบันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม ยังมีส่วนพัฒนาการวางแผนการใช้และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย

          อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ได้เสนอให้บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ เป็นกรอบการประเมินความเปราะบางและการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้นำมาแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศในอนาคตด้วย ใช้กลยุทธ์และภาพฉายต่าง ๆ โดยมีการบริหารความเสี่ยงภายใต้ความเปราะบางนั้น เพื่อให้ได้แผนพัฒนาที่ทนทาน ยั่งยืน และปรับตัวได้

          การบูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศลงในยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ด้านการจัดการน้ำ ซึ่งรวมไปถึงการจัดการภัยพิบัติจากน้ำ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ มาตรการเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำเริ่มโดยจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนให้พอใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ คุณภาพน้ำดีและปลอดภัย ใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ รวมถึงมีกฎหมายควบคุมการบุกรุกทางน้ำและปรับปรุงแหล่งน้ำที่เสื่อมสภาพ ที่สำคัญคือ การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของประชาชน เพื่อให้ปรับตัวและจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยได้ดี ทั้งนี้ ต้องมีแนวทางลดการใช้น้ำ แต่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำด้วย เช่น การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water recycling) เป็นต้น

          นอกจากนี้ การพัฒนาและบริหารจัดการน้ำบาดาลยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านน้ำของประเทศไทย โดยหากใช้อย่างเหมาะสมก็จะมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับอนาคต ขณะนี้ยังมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม รวมไปถึงการจัดกระบวนการเติมน้ำใต้ดิน เพื่อให้เตรียมการพัฒนาอย่างเหมาะสมถูกต้องในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำในอนาคต

          จะเห็นได้ว่า การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยวิธีจัดการน้ำที่ยั่งยืนนั้น จะต้องอาศัยองค์กรระดับชาติกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนา ร่วมกับการประสานความร่วมมือจากท้องถิ่น โดยเฉพาะประชาชนทุกคนที่จะต้องพร้อมปรับตัว

อนึ่ง การพัฒนาทรัพยากรน้ำโดยมีความเสี่ยง ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งทางกายภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ผลการพัฒนานั้นยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

อ้างอิง : พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ และ โพยม สราภิรมย์, 2559: การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของการจัดการน้ำที่ยั่งยืน. ใน: รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2: องค์ความรู้ด้านความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. คณะทำงานกลุ่มที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [อำนาจ ชิดไธสง, ปริเวท วรรณโกวิท, มัทนพรรณ จิ๋วเจียม, อัศมน ลิ่มสกุล, ศุภกร ชินวรรโณ และชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (บรรณาธิการ)]

Photo by The Nation

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank