สร้างเมืองให้มั่นคงไว้เพื่อสู้ภัยกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

Tuesday, 01 January 2019 Read 758 times Written by 

syn5

 

สร้างเมืองให้มั่นคงไว้เพื่อสู้ภัยกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

          ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพชีวิตของคนจำนวนมากต้องเสี่ยงภัยธรรมชาตินานาชนิด จึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันและปรับตัวโดยมีแนวทางที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งเรียกเป็นภาษาวิชาการว่า การตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Resilience settlement)

ประเทศไทยมีแนวโน้มจะเสี่ยงภัยมากขึ้นเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะเสี่ยงจากน้ำท่วม ปัญหานี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างมาก การเตรียมการด้วยวิธี เมืองที่มั่นคงเพื่อรับปัญหาอย่างรู้เท่าทันจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

          จากการศึกษาหาแนวคิดเพื่อสร้างเมืองให้มั่นคงมากขึ้นสำหรับความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระยะยาว พบว่า จะต้องพิจารณาความสัมพันธ์เชิงระบบของเมืองและการตั้งถิ่นฐานแบบองค์รวม เนื่องจากความเสี่ยงจะแตกต่างกันไปตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแต่ละท้องถิ่น รวมถึงปัจจัยด้านนโยบายและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม หลักการคือสร้างเมืองที่มั่นคง เมื่อใดมีปัญหาเกิดขึ้น โครงสร้างพื้นฐานและระบบต่าง ๆ ของเมือง อาทิ ระบบสังคม เศรษฐกิจ อาหาร พลังงาน และการจัดการน้ำเสีย เป็นต้น ก็ยังมีศักยภาพรองรับปัญหาได้และฟื้นฟูได้

          นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วม โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์พลวัตระบบเมือง ยังพบว่า จะต้องมีกระบวนการปรับตัวแตกต่างกันไปตามเวลาและพื้นที่ รวมถึงมีการวางแผนรับมือระยะยาวต่อเนื่องควบคู่กับการวางแผนเมืองด้านต่าง ๆ อีกด้วย          

สำหรับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวคิดเชิงนโยบายในการจัดการความเสี่ยงจากน้ำท่วมร่วมกับการวางผังเมืองและการจัดการที่ดิน โดยใช้สิ่งก่อสร้างเป็นคันกั้นน้ำเพื่อปกป้องชุมชนเมือง รวมถึงการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น การยกแนวคันกั้นน้ำเหนือ -ใต้รอบเมือง และการพัฒนาเพิ่มพื้นที่สาธารณะให้ชุมชนหรือพื้นที่รองรับน้ำให้กับเมือง เป็นต้น

ส่วนเมืองเล็ก เช่น ในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี มีการวางแผนพัฒนาเมืองเป็น 2 ส่วนคือ เมืองเก่าและเมืองใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขยายตัวของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมรุนแรง รวมถึงมีการปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร (Building Code) ในพื้นที่เสี่ยง และลดปัญหาน้ำท่วมโดยใช้ระบบทางน้ำหลากธรรมชาติ (Floodway) และพื้นที่พักน้ำ

          สำหรับชุมชนและครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ดังตัวอย่างใน จ.เชียงใหม่ ได้ปรับตัวโดยใช้วิธีออกแบบที่อยู่อาศัยให้ 3 ส่วนเชื่อมโยงกัน ด้วยหลัก 3E คือ 1) Eco-robust design เป็นการออกแบบที่ปล่อยให้น้ำผ่านและป้องกันความเสียหาย โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของชุมชนและครัวเรือน ให้สอดคล้องกับลักษณะน้ำท่วม 2) Eco-repairable design เป็นการออกแบบที่ยอมรับน้ำท่วมและความเสียหาย สิ่งที่เสียหายส่วนใหญ่คือวัสดุทางสถาปัตยกรรมซึ่งจะฟื้นฟูซ่อมแซมได้ง่าย และ 3) Eco-adjustable design เป็นการออกแบบเพื่อเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชนเมื่อน้ำท่วม เช่น ที่กิน ที่อยู่ ห้องขับถ่าย น้ำและไฟฟ้า โดยเน้นการประหยัดค่าใช้จ่าย

          อย่างไรก็ตาม การผนวกเรื่องการปรับตัวกับการวางแผนพัฒนาเมืองก็ยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน โดยประเด็นทางนโยบายที่จะต้องคำนึงในการบริหารงานภาครัฐของเมือง คือต้องมีนโยบายประสานงานระหว่างหน่วยงานในระดับเมืองใหญ่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงกรอบด้านกฎหมายเรื่องระบบการจัดการสิทธิการครอบครองที่ดิน ซึ่งต้องพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมร่วมด้วย

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภาวะอากาศที่แปรปรวน ควรเป็นประเด็นที่ประชาชนสนใจปรับตัวเตรียมรับภัยพิบัติ ดังตัวอย่างกรณีน้ำท่วมที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนควรมีส่วนร่วมพิจารณาและตัดสินใจเรื่องการปรับตัวอย่างเท่าเทียมกันและรอบคอบ ตั้งแต่การวางแผนระยะสั้นรับภาวะอากาศที่แปรปรวน วางแผนระยะยาวโดยการตั้งถิ่นฐานที่มั่นคง โดยพิจารณาความสัมพันธ์ข้ามพื้นที่และภาคส่วนระหว่างเมืองใหญ่กับชนบท ซึ่งจะเป็นแนวทางศึกษาการปรับตัว เพื่อรับมือกับภัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

อ้างอิง : วิจิตรบุษบา มารมย์, วนารัตน์ กรอิสรานุกูล และ ณัชวิชญ์ ติกุล, 2559: การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของการตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. ใน: รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2: องค์ความรู้ด้านความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. คณะทำงานกลุ่มที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [อำนาจ ชิดไธสง, ปริเวท วรรณโกวิท, มัทนพรรณ จิ๋วเจียม, อัศมน ลิ่มสกุล, ศุภกร ชินวรรโณ และชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (บรรณาธิการ)]

Photo by European Environment Agency

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank