การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบริเวณทะเลชายฝั่ง

Tuesday, 01 January 2019 Read 2762 times Written by 

syn3

 

แม้แต่ชายฝั่ง... ก็ยังร้อน !

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศบริเวณทะเลชายฝั่ง

          การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพราะโลกร้อนทำให้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ แปรปรวน ไม่ใช่เฉพาะในภาคพื้นทวีปเท่านั้น แต่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกพื้นที่ รวมถึง มหาสมุทรและทะเลชายฝั่งอีกด้วย ปัญหาอากาศร้อนที่ทะเลชายฝั่ง ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากโลกมีส่วนที่เป็นน้ำเค็มมากกว่าพื้นดินและน้ำจืดถึงเท่าตัว ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชายฝั่งและภาคพื้นดินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

          จากการสังเคราะห์และประมวลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในมหาสมุทรและทะเลชายฝั่ง ประกอบกับความก้าวหน้าของการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค โดยวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น รวมถึงการสร้างภาพการณ์จำลองของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตกับพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ ผลการศึกษาต่างชี้ว่า ระดับน้ำและอุณหภูมิน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น และสร้างปัญหาให้มนุษย์และระบบนิเวศชายฝั่งทะเล

          มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสถานีวัดระดับน้ำแบบรายจุดบริเวณชายฝั่งแต่ละประเทศ กับข้อมูลจากดาวเทียมประเภทอัลติมิเตอร์ซึ่งบันทึกระดับน้ำทะเลทั่วโลก รวมถึงใช้เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง GPS ทำให้ทราบอัตราการเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่งของแผ่นดินที่มีผลต่อระดับน้ำทะเล พบว่า ระดับน้ำทั่วโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.8 มิลลิเมตรต่อปี (ข้อมูลจากสถานีตรวจวัด) - 3.2 มิลลิเมตรต่อปี (ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม)

          ส่วนการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในทะเลที่อยู่ใกล้กับประเทศไทยคือ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ และทะเลในประเทศอินโดนีเชีย เมื่อคำนวณจากดาวเทียมพบว่า ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 3.6 - 6.6 มิลลิเมตรต่อปี

          หากพิจารณาระดับภูมิภาค พบว่า ในบางพื้นที่ระดับน้ำทะเลอาจลดลง ขณะที่บางพื้นที่อาจเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพหลายประการ เช่น มวลน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในวัฏจักรน้ำ ธารน้ำแข็งละลาย น้ำทะเลขยายตัวเพราะอุณหภูมิสูงขึ้น ผลจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) และการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของเปลือกโลก เป็นต้น

          จากเหตุการณ์จำลองการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย พบว่า ในช่วง 30 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเฉลี่ย 10 - 20 เซนติเมตร และพื้นที่อ่าวไทยตอนบนมีโอกาสถูกน้ำท่วมเพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กรุงเทพฝั่งตะวันออก สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมถึงจังหวัดเพชรบุรีซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังพบว่า ในช่วงสิ้นศตวรรษ (ค.ศ. 2069 2089) พายุหมุนที่มีโอกาสเคลื่อนที่เข้าสู่อ่าวไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมจะลดจำนวนลง 20 – 44% แต่จะมีพายุรุนแรงเพิ่มจำนวนขึ้น 3 – 9% รวมถึงในอนาคตอาจมีปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะมากขึ้นอีกด้วย         

          จากการใช้แบบจำลองภูมิอากาศศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเล พบว่า อุณหภูมิน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนรายงาน TARC ฉบับที่ 1 กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลในบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้มีอัตราเพิ่มขึ้น 0.06 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ ระหว่าง ค.ศ.1982 2006

          อย่างไรก็ตาม หากนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ ควรระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากผลการศึกษามีข้อจำกัดด้านแบบจำลองและข้อมูล รวมทั้งสมมุติฐานที่ใช้ ดังนั้น จึงยังจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มหลักฐานและความมั่นใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล

          ดังนั้น คำถามสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในบริเวณทะเลชายฝั่ง อาจไม่ใช่แค่ สาเหตุคืออะไร แต่จะรวมไปถึงว่า ระดับน้ำเพิ่มขึ้นถึงระดับไหนแล้วเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในบริเวณกว้างและควบคุมได้ยาก อย่างไรก็ตาม เราทุกคนควรศึกษาและติดตามข่าวสารความรู้เพื่อปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงตระหนักว่าต้องช่วยกันป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งก็คือ ต้องไม่ทำให้โลกร้อน นั่นเอง

อ้างอิง : ปัทมา สิงหรักษ์ และสุริยัณห์ สาระมูล, 2559: การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทะเลชายฝั่ง. ใน: รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2: องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารปัจจุบันด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย. คณะทำงานกลุ่มที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [อำนาจ ชิดไธสง, ปริเวท วรรณโกวิท, มัทนพรรณ จิ๋วเจียม, อัศมน ลิ่มสกุล, ศุภกร ชินวรรโณ และชโลทร แก่นสันติสุขมงคล (บรรณาธิการ)]

Photo by Environmental Protection

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank