การแก้ไขปัญหา ClimateChange ด้วยกฎหมาย: ไทยพร้อมแค่ไหน

Thursday, 27 April 2017 Read 1507 times Written by 

27 04 2017 2

การแก้ไขปัญหา ClimateChange ด้วยกฎหมาย: ไทยพร้อมแค่ไหน

ผู้ประสานงานชุดโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สกว.

CLIMATE@RISK>

ในขณะที่โลกกำลังมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้คนอยู่ดีกินดี กิจกรรมของมนุษย์กลับนำมาซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก ก๊าซดังกล่าวเป็นที่มาของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ClimateChange) ซึ่งผลจากปัญหานี้สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนจากภัยพิบัติต่างๆ ที่นับวันมีแต่จะทวีความรุนแรงและความถี่ยิ่งขึ้น

การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องอาศัย “สหศาสตร์ (Interdisciplinarity)” มาใช้ประกอบกัน การศึกษาอย่างถ่องแท้ในแต่ละศาสตร์จึงเป็นวิถีทางที่อาจทำให้โลกรอดพ้นจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว “ด้วยกระบวนการวิจัย” โดยพัฒนาองค์ความรู้ด้วยศาสตร์ต่างๆ อาทิด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในประเด็นจัดทำแบบจำลองภูมิอากาศอนาคตของประเทศไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศและความแปรปรวน ด้านเศรษฐศาสตร์ ในประเด็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตต่างๆ ด้านสังคมศาสตร์ ในประเด็นด้านการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทาง สกว. ได้สนับสนุนการวิจัยในประเด็นนี้


เป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี เพื่อเผยแพร่และประยุกต์ใช้องค์ความรู้เหล่านี้ในการรับมือและแก้ไขผลกระทบต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตาม อีกศาสตร์หนึ่งซึ่งสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมาก แต่ยังมีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังในวงจำกัด ก็คือ “ด้านนิติศาสตร์” ด้วยเหตุนี้ สกว. จึงสนับสนุนการศึกษาในด้านนี้อย่างจริงจัง และด้วยความร่วมมือจากสำนักงานศาลปกครองจึงได้มีการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ซึ่งโครงการนี้มุ่งเน้นศึกษากฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของต่างประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ และได้ศึกษาปัญหาในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในบริบททางกฎหมายของประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์และเสนอแนะทางออกสำหรับประเทศไทยในการจัดการปัญหาดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางนิติศาสตร์


จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มประเทศตัวอย่างทั้ง 4 ได้นำกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม และแม้ลักษณะและรูปแบบในการตรากฎหมายเพื่อใช้แก้ไขปัญหาจะมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างในแต่ละประเทศ แต่จุดเด่นประการหนึ่งที่ประเทศเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันก็คือ การให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐซึ่งส่งผลกระทบต่อส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ (เม็กซิโก) เป็นปัญหาที่ควรจะได้รับความสำคัญเท่ากับปัญหาการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (สหราชอาณาจักร) และ เป็นปัญหาที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ฉับพลันและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (นิวซีแลนด์)


เมื่อมีการตระหนักและให้ความสำคัญของปัญหาอย่างมีนัยสำคัญในลักษณะดังกล่าวประเทศเหล่านี้จึงได้ตรากฎหมายลำดับศักดิ์สูงเพื่อใช้แก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม และนอกจากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศแล้ว งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาสภาวะทางกฎหมายที่เป็นอยู่ของประเทศไทยและได้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และพบว่าปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหลายประการ อาทิ ปัญหาการไม่มีหน่วยงานในการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ปัญหาการใช้หน่วยงานระดับกระทรวงเป็นกลไกหลักในการจัดการซึ่งยังมีข้อบกพร่อง และปัญหาการจัดเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น


และในท้ายที่สุด งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะทางออกสำหรับประเทศไทย โดยเห็นว่า การตรากฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้น ในระดับพระราชบัญญัติอย่างเร่งด่วนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โดยจะต้องอนุวัติการพันธกรณีที่ไทยต้องดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และต้องกำหนดมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยนำเครื่องมือที่นานาชาติใช้เป็นกลไกในการจัดการปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนมาประยุกต์ใช้ อาทิ มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) มาตรการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation to climate change) มาตรการจูงใจและส่งเสริม มาตรการลงโทษ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์อื่นๆ


อย่างไรก็ดี เมื่อปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ตราขึ้นบังคับใช้ การพิจารณาร่วมกันจากทุกภาคส่วนถึงความจำเป็น และความพร้อมของประเทศไทยในการตรากฎหมายนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้จัดงานเสวนาทางวิชาการขึ้นในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญกับภาวะโลกร้อน: การแก้ไขปัญหาด้วยกฎหมาย” ในวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 08.30-12.00น. ณ โรงแรม เดอะสุโกศล ถนนศรีอยุธยา โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วน เพื่อหารือในเชิงเครื่องมือทางนิติศาสตร์กับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในงานนี้จะมีการแจกหนังสือ “กฎหมายกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Law and ClimateChange)” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้เกิดการตระหนักในวงกว้างต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้โดยติดต่อมายังอีเมล์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  

ดร.อนันต์ คงเครือพันธุ์ สำนักงานศาลปกครอง
หัวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้การสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

Credit เนื้อหา http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638151
Credit ภาพประกอบ http://www.glenmcleodlegal.com

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank