ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง

Monday, 01 April 2013 Read 2381 times Written by 

01 04 2013 4

ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง - ทิศทางเกษตร

เมล่อนหรือแคนตาลูป เป็นพืชเศรษฐกิจประเภทแตงอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อนุ่ม หวานฉ่ำและมีกลิ่นหอม ใช้ประกอบของหวานและเครื่องดื่มหลายชนิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาดี

มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปแอฟริกา ไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัด ชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ร้อนจัด อุณหภูมิที่เหมาะอยู่ที่ 25- 30 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน การปลูกควรยกแปลงให้สูง 30-40 ซม. มีร่องน้ำกว้างเพื่อการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในฤดูติดกัน ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินควรอยู่ที่ 6.0-6.5 ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้ ต้องปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้สูงขึ้นด้วยปูนขาว หยอดเมล็ดลงในหลุมในแปลงปลูกได้โดยตรง จำนวนหลุมละ 2-4 เมล็ด แล้วจึงถอนแยกให้เหลือต้นที่แข็งแรงเพียง 1 ต้นเท่านั้น

แช่เมล็ดในน้ำหรือน้ำอุ่น สูงพอท่วมหลังเมล็ดประมาณ 6 ซม. หุ้มด้วยผ้าเปียกน้ำหมาด ๆ ต่ออีก 1 คืน สังเกตว่าเมล็ดมีรากขาวเริ่มออกมาแล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อในวัสดุเพาะ แล้วจึงรดด้วยสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราเจือจาง ในการเพาะกล้าแตง เริ่มจากวัสดุปลูกที่ให้ผลดีที่สุดใกล้เคียงกับพีทมอส เช่น ขุยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกไปแล้ว ผสมกับปุ๋ยคอกและทรายหยาบที่ร่อนเอาเม็ดกรวดออกไปแล้ว ในอัตรา 1 : 1 : 1 หรือดินร่วนที่ผ่านการตากแดดฆ่าเชื้อและนำมาย่อยจนละเอียดดีแล้วอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นกล้าอีกทางหนึ่ง เมื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกที่ต้องการใช้ให้เข้ากันดีแล้ว ทำการกรอกวัสดุปลูกลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงพลาสติกเพาะกล้า ทำการหยอดเมล็ดลงในกระบะหรือถุงเพาะหลุมละ 1 ต้น ให้ลึกประมาณ 2 ซม. กลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะชนิดเดียวกัน รดน้ำให้ชุ่ม ก่อนนำไปวางไว้ในที่ร่ม รำไร ไม่ให้โดนแสงแดดจัดโดยตรง ขนาดของต้นกล้าที่แข็งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ คือที่ใบจริงประมาณ 2-3 ใบ

การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้นด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 ซม. จากนั้นไถแป เพื่อย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปูนขาวใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500-2,000 กก.ต่อไร่ พรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่วป้องกันวัชพืชด้วยพลาสติกคลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็น 2 แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. และระหว่างหลุมในแถวห่างกัน 0.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น

ในต้นแตงหนึ่งต้นควรให้ติดลูกเพียงหนึ่งผลเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผล หลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ปักค้างให้กับต้นแตง มีความสูงจากผิวดินไม่น้อยกว่า 1.80 ซม. ในกรณีปลูก 2 แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้นก็ได้ เมื่อต้นแตงเริ่มมีการแตกกิ่งแขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่าข้อที่ 8 และสูงกว่าข้อที่ 12 ออกโดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่างข้อที่ 8-12 ไว้ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป

ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ ลดปริมาณการให้น้ำแก่ต้นแตงลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ลดน้ำลงจนกระทั่งต้นแตงปรากฏอาการเหี่ยวในช่วงกลางวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลแตงและลดปัญหาการแตกของผลแตงก่อนการเก็บเกี่ยว แตงที่มีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่าความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ขึ้นไป หรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

สำหรับแตงพันธุ์เบาจะมีอายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วัน หลังดอกบาน , พันธุ์ปานกลางจะมีอายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40-45 วัน หลังดอกบาน ส่วนพันธุ์หนักจะมีอายุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80-85 วัน หลังเพาะเมล็ดหรือ 50-55วัน หลังดอกบาน.

Credit: http://www.dailynews.co.th/agriculture/190260

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank