"โคกสำโรง"กับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ยั่งยืน

Wednesday, 06 February 2013 Read 2304 times Written by 

"โคกสำโรง" กับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำที่ยั่งยืน

06 02 2013 1

อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่เขตเทศบาลตำบลโคกสำโรง เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ และยังขาดแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งสำนักชลประทานที่ 10 ได้รับมอบหมายจาก มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร และกรมชลประทาน ให้ดำเนินการออกแบบโครงการแก้มลิงโคกสำโรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอโคกสำโรง

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการแก้มลิงโคกสำโรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดิน ที่นายปภัสร์ แซ่ฉั่ว น้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 83 ไร่ 40 ตารางวา ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อพัฒนาเป็นแก้มลิง และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำในการบรรเทาอุทกภัยและเพื่อใช้ในการเกษตร   การออกแบบแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2556 จากนั้นจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2556 หรือ 2557 จากสำนักงาน กปร. ซึ่งคาดว่าจะให้งบประมาณทั้งสิ้น 28 ล้านบาท

สำหรับงานสำคัญ ๆ ของโครงการแก้มลิงโคกสำโรงนั้น ประกอบงานก่อสร้างคันดินรอบพื้นที่แก้มลิง โดยจะทำเป็นผิวจราจรลูกรังอัดแน่น รวมระยะทาง 1.476 กิโลเมตร เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นทางสัญจรได้ด้วย งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำ 1 แห่ง เพื่อสูบน้ำจากแก้มลิงเข้าคลองส่งให้กับพื้นที่การเกษตรบริเวณใกล้เคียง งานก่อสร้างท่อรับน้ำเพื่อรับน้ำเข้าพื้นที่แก้มลิง งานก่อสร้างท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากแก้มลิง และงานปรับปรุงคลองศรีสุกพร้อมอาคารประกอบ มีความยาว 3.6 กิโลเมตร

โครงการแก้มลิงโคกสำโรง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 430,000 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 54 ของปริมาณน้ำท่า ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังและอุทกภัยในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลโคกสำโรงได้ประมาณ 2,300 ครัวเรือน เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ 500 ไร่ และในช่วงฤดูแล้งได้ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรในเขตพื้นที่รับประโยชน์จากโครงการ เพราะสามารถทําการเกษตรในฤดูแล้งได้

รวมทั้งยังจะเป็นแหล่งน้ำสําหรับการอุปโภคบริโภคและสัตว์เลี้ยงประมาณ 250 ครัวเริือน เป็นแหล่งแพร่เพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปริมาณน้ำท่าในคลองห้วยยาง และคลองศรีสุก ซึ่งเป็นคลองที่มีผลกระทบต่อพื้นที่เทศบาลตำบลโคกสำโรงซึ่งเป็นพื้นท่ี่เศรษฐกิจโดยตรง (ส่วนคลองสนามแจงจะไม่มีผลกระทบเนื่องจากไม่ได้ไหลผ่านเขตเทศบาลฯ) แล้วพบว่า จะมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรวมกันถึง 34.66 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนี้สามารถกักเก็บไว้ได้เพียงประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 0.29 ของปริมาณน้ำท่าทั้งหมด จึงไม่แปลกเลย ที่ในฤดูฝนน้ำจะท่วมพื้นที่เทศบาลตำบลโคกสำโรง และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเป็นประจำเกือบทุกปี

การสร้างแก้มลิงโคกสำโรง จะช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำในพื้นที่คลองทั้ง 2 แห่งดังกล่าวอีก 430,000 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้กรมชลประทานก็ยังมีแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ตามแผนงานงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF) อีก 2 โครงการ ซึ่งจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 100,000 ลูกบาศก์เมตร เมื่อรวมกับปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ในปัจจุบัน 100,000 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้พื้นที่คลองห้วยยางและคลองศรีสุก มีแหล่งกักเก็บน้ำรวม 630,000 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 1.85 ของปริมาณน้ำท่าของคลองทั้ง 2 แห่ง  แต่จะสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะปริมาณน้ำท่า โดยเฉพาะปริมาณน้ำท่าที่ไหลมาจากคลองห้วยยางมีปริมาณที่มาก

หากจะพูดว่า ฝนที่ตกในพื้นที่รับน้ำของคลองห้วยยางทั้งหมดไหลลงสู่เขตเทศบาลตำบลโคกสำโรง ก็คงจะไม่ผิดมากนัก เพราะแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่เก็บน้ำได้ไม่ถึง 1% ดังนั้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจะต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่คลองห้วยยางมากขึ้น

ส่วนคลองศรีสุก โครงการแก้มลิงโคกสำโรงที่กำลังจะเกิดขึ้น จะสามารถบริหารจัดการควบคุมปริมาณน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน

สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในคลองห้วยยาง นอกจากโครงการตามแผนงาน MTEF แล้ว สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ได้เคยศึกษาเบืื้องต้นที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยยาง กั้นคลองห้วยยางที่ตำบลเพนียด อำเภอโคกสําโรง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ตัวเขื่อนมีความยาว 2,000 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร   และมีความสูง 55 เมตร มีความจุในระดับกักเก็บ 17.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถรับน้ำนองได้สูงสุดถึง 29.20 ล้านลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยยาง เป็นพื้นที่ซ้อมยิงปืนใหญ่ของกองทัพบก ดังนั้นหากทางกองทัพบกพิจารณาทบทวนโครงการเพื่อให้สามารถก่อสร้างได้แล้ว จะทำให้พื้นที่คลองห้วยยาง และคลองศรีสุก มีแหล่งกักเก็บน้ำรวมกันถึง 18.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51.68 ล้านลูกบาศก์เมตรของปริมาณน้ำท่าในพิื้นที่ ซึ่งนอกจากจะเป็นปริมาณน้ำที่มากพอสำหรับจะใช้บริหารจัดการ แก้ปัญหาอุทกภัยในเขตเทศบาลตำบลโคกสำโรงได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้มีน้ำเพืื่อ การเกษตรในฤดูฝนได้อีก 12,000 ไร่ และในฤดูแล้ง 1,300 ไร่ อีกด้วย

น้ำ...ก็จะไม่สร้างปัญหาให้กับชาวโคกสำโรงอีกต่อไป...

Credit: http://www.dailynews.co.th/agriculture/182675

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank