"อียู" ชู 4 ยุทธศาสตร์ ดันเทศบาลไทยสู่ "สังคมคาร์บอนต่ำ"

Wednesday, 26 December 2012 Read 2027 times Written by 

26 12 2012 7-1

จากผลกระทบภาวะโลกร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันนี้ ส่งผลให้เกิดภัยทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่องและกระจายวงกว้างขึ้นทั่วโลก ซึ่งแนวโน้มจากความผันผวนของภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงเกิดขึ้นส่งผลโดยตรงต่อสังคมและโลกของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อนอย่างร่วมมือร่วมใจ "วิจัย อัมราลิขิต" ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมืองและการโยธา สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ได้ถือเอาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในปี 2555 น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน จัดเป็น "โครงการเทศบาลไทยมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา" ผ่านการสนับสนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากสหภาพยุโรป (อียู) 19 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 36 เดือน (กุมภาพันธ์ 2555-มกราคม 2558)

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปนี้ "เดลฟิน บริสซันนัว" ผู้แทนจากสหภาพยุโรป บอกว่า โครงการนี้ได้รับเลือกมาจากโครงการของสหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้องค์กรเอกชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้เรียนรู้วิธีการนำไปสู่เมืองน่าอยู่ หรือเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon Society)

"เนื่องจากในยุโรปเป็นสังคมเมืองที่มีประชากรอาศัยไม่น้อยกว่า 500 ล้านคน และจำนวนของ 3 ใน 4 อยู่ในชุมชนเมือง ซึ่งมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 60-80% เราจึงต้องให้ความสำคัญ เพราะสังคมเมืองเป็นสังคมใหญ่ที่ทุกคนมาอาศัยอยู่รวมกันและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อโลกของเรา เราจึงต้องร่วมกันสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป"

"กิจกรรมในวันนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ตัวแทนจากเทศบาลได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสังคมสีเขียว จริง ๆ แล้ว การจะทำให้เมืองน่าอยู่ด้วยการเป็นสังคมสีเขียวไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินตัว ซึ่งประเทศไทยสามารถแลกเปลี่ยนถอดบทเรียนจากโครงการนี้มาประยุกต์ใช้กับชุมชนของตัวเองได้"

ทั้งนี้ อียูตั้งเป้าการร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ภายในปี 2563 และเข้าสู่สังคมเมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในปี 2593 ด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1) มุ่งสู่เมืองแห่งต้นไม้ คือการมีพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ที่ประกอบด้วยไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ลำต้นจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 5 เมตร มีเรือนพุ่มไม่น้อยกว่า 5 ตารางเมตร และมีเส้นรอบวงรอบโคนต้นไม้น้อยกว่า 50 ซม. มากกว่าการปลูกพืชล้มลุก ไม้ประดับ หรือสนามหญ้า

2) มุ่งสู่เมืองไร้มลพิษ โดยเทศบาลสามารถรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนลดปริมาณของเสียให้เหลือน้อยที่สุดก่อนนำไปกำจัด และสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ณ แหล่งกำจัดของเสีย ซึ่งวิธีนี้ เทศบาลสามารถลงทุน เพื่อสร้างแหล่งเก็บก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของขยะจากหลุมฝังกลบ เพื่อเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ

3) มุ่งสู่เมืองพิชิตพลังงาน โดยการส่งเสริมให้คนในเขตเทศบาลใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรณรงค์ให้เกิดการใช้พลังงานทดแทน เพื่อเป็นอีกทางเลือก แทนการใช้ไฟฟ้าและน้ำมัน

4) มุ่งสู่เมืองที่มีการบริโภคอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยแนวทางที่หนึ่ง ส่งเสริมการบริโภคของคนในเขตเทศบาลให้น้อยลง โดยการใช้ซ้ำ ใช้นาน และบริโภคเท่าที่จำเป็น

แนวทางที่สอง ส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าในชุมชน เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานจากการขนส่ง และแนวทางที่สาม แนะนำและส่งเสริมการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ต้องบอกว่าทั้ง 4 ยุทธศาสตร์เป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจจากเทศบาลทุกระดับจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เห็นได้จากการรับสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องทั้งสิ้น 166 แห่ง และร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินโครงการเทศบาลไทยสู่เมือง

คาร์บอนต่ำ ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อปฐมนิเทศแก่เทศบาลนำร่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555-พฤศจิกายน 2557 ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมเพื่อสร้างศักยภาพบุคลากรก่อนการเสนอและติดตามโครงการริเริ่มเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในชุมชน

ต้องยอมรับว่าการจะก้าวไปสู่เมืองสีเขียวที่น่าอยู่ได้ ทุกหน่วยงานจะต้องประสานความร่วมมือกัน และหนึ่งในตัวช่วยที่จะเป็นกำลังสำคัญก็คือ "ตัวแทนเทศบาลไทย" ทุกคน ซึ่งปัจจุบันมีตัวอย่างของเทศบาลตำบลเมืองแกลง จ.ระยอง

ในเรื่องนี้ "สมชาย จริยเจริญ" นายกเทศมนตรีตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง ให้คำแนะนำว่า การประยุกต์ใช้วิธีการรณรงค์ในยุคสังคมเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้เกิดการรับรู้ร่วมมือให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

"ชุมชนของเราเดี๋ยวนี้ การอยู่อาศัยของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองหมดแล้ว เมื่อรูปแบบการอยู่อาศัยของคนในชุมชนเปลี่ยนไป เราก็ต้องมีมาตรการการรณรงค์ที่เป็นยุคสมัยมากขึ้น เช่น โครงการรถบริการขนส่งเมืองแกลง หรือ ขสมก. คอยให้บริการแก่คนในชุมชน เพื่อเป็นการลดจำนวนยานยนต์ที่มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก"

"อีกปัญหาคือขยะ ซึ่งเรื่องขยะที่กำจัดไม่หมด หรือขยะล้นเมืองเป็นการสร้างโอกาสมากกว่าจะเป็นวิกฤต เพราะเราสามารถนำขยะเหล่านั้นนำกลับใช้ใหม่ได้ โดยการรณรงค์การคัดแยกขยะ ซึ่งเราก็ประสบความสำเร็จ คนในชุมชนเข้าใจและพร้อมจะปฏิบัติในทางเดียวกัน"

แล้วการปฏิบัติในชีวิตประจำวันเหล่านี้ เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญเพื่อก้าวไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

Credit: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1344226610&grpid=no&catid=17&subcatid=1700

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank