เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อลดผลกระทบ Climate change

Tuesday, 04 September 2012 Read 28773 times Written by 

กรณีศึกษาการเก็บข้อมูลบ้านบ่ออิฐ ม.1 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร

ประสาร สถานสถิตย์

โครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (BCRCC)  ได้ดำเนินการอบรมวิทยากรกระบวนการ ในเรื่องการวิเคราะห์ศักยภาพและความเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (CVCA) ให้กับหน่วยงานภาคี ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น ทั้ง 4 จังหวัดในพื้นที่ดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 167 คน แยกเป็นส่วนของภาคีหลักจำนวน 34 คน และแกนนำระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ 133 คน ซึ่งในการจัดอบรม CVCA ในระดับพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากภาคีหลักเข้าร่วมเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงในการจัดอบรมทั้ง 4 จังหวัดที่ผ่านมา  ทั้งนี้วิทยกากระบวนการ CVCA จะมาจากหลายภาคส่วนอาธิ หน่วยงานราชการ ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สาธารสุข องค์กรพัฒนาเอกชนเอกชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำในชุมชน

การเก็บข้อมูล CVCA ในพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่โครงการและกลุ่มวิทยากรกระบวนการที่ผ่านการฝึกอบรม วางแผนเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2555 โดยในได้ดำเนินการเก็บข้อมูลแล้วในหลายพื้นที่ ตัวอย่างในพื้นที่ชุมชนบ้านบ่ออิฐ(แหลมแท่น) ม.1 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จุ.ชุมพร  ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชายฝั่ง มีสภาพการเปิดรับต่อความเสี่ยงจากการภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากลมมรสุมที่พัดเข้ามาในแต่ละปีโดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี แต่ปัจจุบันกลับพบว่าปริมาณของพายุและความรุนแรงของลมมีแนวโน้มที่ถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นจากการสังเกตุของชาวบ้านในชุมชนในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา

จากการวิเคราะห์วิเคราะห์ศักยภาพและความเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่บ้านบ่ออิฐ โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ 4 ประเด็นคือ หนึ่งพื้นที่เปิดรับต่อผลกระทบจากภัยธรรชาติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สองความอ่อนไหวที่จะได้รับผลกระทบฯ สามศักยภาพของชุมชนต่อการตั้งรับปรับตัวกับผลกระทบ และ สี่ กลยุทธในการตั้งรับปรับตัวของชุมชนต่อการคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ข้อสังเกตปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นพบว่าลมมรสุมสุมตามฤดูกาลมีแนวโน้มมีความรุนแรงและถี่ขึ้นขึ้นจาก 2 - 3 ปีที่ผ่านมา,น้ำเสียจากปรากฎการณ์แพลงตอนเป็นพิษ, อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวส่งผลให้มีการย้ายที่อยู่ของสัตว์น้ำ ส่งผลให้การออกหาปลาของเรือประมงไกลขขึ้น,การกัดเซาะชายฝั่งที่มีความรุนแรงมากขึ้น,การเกิดคลื่นหอบเอาน้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่ชายฝั่ง,รวมทั้งยังฝนตกนอกฤดูกาลมากขึ้น

สำหรับความอ่อนไหวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของชุมชนพบว่าทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ : มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายหาดจากเดิมที่เป็นป่าสนหรือชาดหาดปกติมาเป็นรีสอร์ทและบ้านเรือนร้านค้า ทางด้านเศรษฐกิจ : ปัจจุบันชาวบ้านพื้นที่นี้นอกจากจะมีอาชีพทำประมงแล้วยังทำการเกษตรเพื่อรองรับช่วงมรสุมแต่ยังไม่ครอบคัลมทุกบ้าน,พื้นที่เพาะปลูกทำการเกษตรอยู๋ใกล้ชายฝั่งเมื่อเกิดมรุสมหรือพายุจะหอบเอาน้ำทะเลเข้ามาในพื้นที่เพาะปลูก,พืชที่เพาะปลูกมีความทนทานต่อความเข็มน้อย ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ : ยังขาดความตระหนักในการตรียมการรับมือ,ความรู้และทักษะการเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัย ด้านกายภาพ : การตั้งบ้านเรือนบริเวณชายหาด,พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากลมมรสุมเพิ่มขึ้น,การสร้างถนนเลือบชายหาดให้ชาวบ้านต้องสร้างบ้านเรือนติดถนนซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และทางด้านสสังคม : พบว่ายังไม่มีกลไกในการตรียมการรับมือใดๆ  อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เราได้เห็นศักยภาพของชุมชนในด้านของทรัพยากรธรรมชาติ : มีการส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน,ส่งเสริมให้ปลูกไม้ยืนต้นแซมในสวนปาล์ม และด้านเศรษฐกิจ : คนในชุมชนเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกจากการทำประมงเพียงอย่างโดยการเพิ่มอาชีพ ทำสวนและรับจ้างเข้ามารองรับ

กลยุทธที่จะนำไปสู่การรับมือกับผลกระทบ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของบ้านบ่ออิฐได้มีการหารือร่วมกันมีข้อสรุปในเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์และวางแผนกิจกรรมคือ  ด้านทรัพยากรธรรมชาติ : การร่วมการดูแลพื้นที่ชายฝั่งจากการรุกล้ำของประมงพานิชย์ และการร่วมประชาสัมพันธืในการล่ารายชื่อเสนอรายชื่อเพื่อแก้ไขกฎหมายเขตคุมครองทางประทะเลของประมงชายฝั่ง ด้านเศรษฐกิจเศรษฐกิจ : ชุมชนเริ่มมีการรวมตัวในการจัดตั้งกลุ่มสวัสดิการชุมชนเพื่อรองรับผลกระทบในด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ ด้านทรัพยากรมนุษย์ : ทำให้คนมีความพร้อมในการรับมือภัยเบื้องต้น เช่น การจัดเก็บเอกสารสำคัญและสิ่งจำเป็นเบื้องต้นเมื่อเกิดภัยขึ้นมา ด้านกายภาพ : สร้างศูนย์เตือนภัยในระดับชุมชนและบริเวณศูนย์เตือนภัยนั้น จะมีการวมตัวระดับหมู่บ้านในการส่งเสริมพื้นที่ริเวณนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และด้านสังคม : ทางชุมชนสนใจที่จะสร้างระบบการแจ้งเตือนภัยขอชุมชนเองและจัดตั้งเฝ้าระวังทีมเตือนภัยภายในชุมชนลการยกระดับของการใช้ประโยชน์ของเสียงตามสาย,ทีมวิทยุสื่อสารและการกำหนดสัญลักษณ์ในการเตือนภัย

จากกระบวนการ CVCA และความร่วมมือของชุมชนทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่กระบวนการการวิเคราะห์และวางแผนกิจกรรมสำหรับชุมชนได้ อย่างไรก็ตามเรายังต้องรอข้อมูลอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นข้อมูลเชิงวิชาการในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ รวมทั้งการการศึกษาสร้างภาพจำลองการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทางวิทยาศาสตร์ในระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการวางแผนชุมชนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับชุมชนต่อไปโดยได้ประสานตวามร่วมมือจากศูนย์วิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) ที่จะมาช่วยเพิ่มเติมในส่วนนี้ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมมีความสอดคล้องกับสถานการณ์และยังจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในวิถีการดำเนินชีวิตให้กับชุมชนอย่างมั่นคง และมีโอกาศยังยืนในอนาคต

04 09 2012 5

Credit: http://www.greenforall.net

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank