ก๊าซเรือนกระจก ก๊าซที่ไม่มีใครอยากได้

Wednesday, 02 January 2019 Read 2012 times Written by 

syn45

 

ก๊าซเรือนกระจก ก๊าซที่ไม่มีใครอยากได้ มีมากเกินไปก็ต้องลด
ศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนโยบายพลังงานของไทย เพื่อบรรลุเป้าหมาย
NDC

ภาคพลังงาน เป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gas มากที่สุดทั่วโลก ใน ค.ศ. 2013 กว่าร้อยละ 36 มาจากการปล่อยของประเทศไทย!

ต่อมาใน ค.ศ. 2015 ไทยจึงประกาศเจตจำนง เป้าหมายการดำเนินงานของประเทศในระดับมุ่งมั่น (Intended Nationally Determined Contribution (NDC)) ต่อ UNFCCC เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อดำเนินการปรับตัวรับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยที่เป้าหมายของประเทศไทย คือ ต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2030 จากระดับปีฐานการปล่อยปกติ (Business-as-usual; BAU) ในภาคพลังงาน กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use: IPPU) และภาคของเสีย โดยอาจลดได้ถึงร้อยละ 25 หากได้รับการสนับสนุน

แนวทางของไทยคือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานเป็นหลัก (ร้อยละ 98) โดยดำเนินงานตามนโยบายแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (EEP2015) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทน/ทางเลือก (AEDP2015) เป้าหมายในค.ศ. 2030 นอกจะลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังลดการใช้พลังงานไปพร้อมกัน

ศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคพลังงานไทย ประกอบด้วย “4 ภาพฉาย (scenario) ตามเป้าหมายของแผน EEP และ AEDP (2015-2030) คือ SC1 ร้อยละ 100 SC2 ร้อยละ 50 ทั้ง 2 แผน SC3 EEP ร้อยละ 75 ส่วน AEDP ร้อยละ 50 และ SC4 EEP ร้อยละ 50 ส่วน AEDP ร้อยละ 75 ซึ่งเมื่อดำเนินการครบ 4 ภาพฉาย ก็จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ร้อยละ 47, 23, 30 และ 29 ตามลำดับ

          ส่วนเป้าหมาย NDC จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานลงได้ร้อยละ 27 หรือ 113 MtCO2 จาก BAU ในปี 2030 โดยแผนด้านพลังงาน จะต้องทำได้เกินร้อยละ 75 ในแผนใดแผนหนึ่งและร้อยละ 50 สำหรับแผนที่เหลือ

แผนสำรอง หนุนนโยบายลดใช้พลังงานและลดการปล่อยคาร์บอน

          การแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความมั่นคงทางพลังงาน ผ่านกรอบนโยบายที่เรียกว่า แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย(ปี 2012-2050) ครอบคลุมแผนพัฒนาและการลดใช้พลังงาน ส่วน นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ของไทย มุ่งเน้นที่ อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง (Energy intensive industries; EI) และมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการเผาไหม้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิต ดำเนินการโดยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม ส่งเสริมการใช้เอทานอล ไบโอดีเซล และพลังงานทางเลือก เช่น ชีวมวลและก๊าซชีวภาพ แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบพลังงานและการเผาไหม้ รวมถึงเพิ่มการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาชี้ว่า การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอาจไม่ได้มีนัยสำคัญในการลดใช้พลังงานของประเทศเท่าที่ควร เพราะความต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ใช้พลังงานมากเช่นเดิม

          เมื่อวิเคราะห์ตามการบริโภค นักวิจัยพบว่า ภาคอุตสาหกรรมที่ตอบสนองการบริโภคอย่างมากคือ ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงภาคการก่อสร้าง ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานน้อยกว่า EI เช่น อุตสาหกรรมเคมี และโลหะ ความสนใจนโยบายและการดำเนินการด้านการอนุรักษ์พลังงานจึงไม่มากนัก

          ดังนั้น การกำหนดนโยบายด้านการประหยัดพลังงาน อาจจะต้องครอบคลุมไปถึง กระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีค่า EI ต่ำ แต่มีผู้บริโภคต้องการมาก ด้วย เพราะจะส่งผลถึงการกำหนดนโยบายด้านการบริโภค เช่น การประเมินพลังงานหรือคาร์บอนที่อิงการบริโภคในอุตสาหกรรม (Input-Output Analysis) คือถ้าใช้มากก็ต้องจ่ายภาษีมาก ตลอดจนเพิ่มทางเลือก คือให้ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าที่ใช้พลังงานหรือปล่อยมลพิษต่ำ (Lower energy and emissions footprints) ได้อีกด้วย

เห็นได้ว่า ไทยเรายังต้องพยายามพัฒนานโยบายด้านพลังงานอีกหลายด้าน และดำเนินการจริงจัง ให้บรรลุเป้าหมาย NDC โดยมีส่วนร่วมลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด เพื่อช่วยโลกให้หายร้อน

อ้างอิง :

Misila P, Winyuchakrit P, Chunark P, Limmeechokchai B. (2017). GHG Mitigation Potentials of Thailand’s Energy Policies to Achieve INDC Target. Energy Procedia. 138:913-8

Supasa, T., Hsiau, S. S., Lin, S. M., Wongsapai, W., Chang, K. F., & Wu, J. C. (2017). Sustainable energy and CO2 reduction policy in Thailand: An input-output approach from production-and consumption-based perspectives. Energy for Sustainable Development, 41, 36-48.

Photo by Royal Thai Embassy

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank