ปัญหาจากชุมชนเล็ก ๆ ไปสู่นโยบายแห่งชาติ

Wednesday, 02 January 2019 Read 2130 times Written by 

syn46

 

ปัญหาจากชุมชนเล็ก ๆ ไปสู่นโยบายแห่งชาติด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรับตัวสู้ภัยอากาศแปรปรวนอย่างยั่งยืน
การบูรณาการมาตรการปรับตัวให้เหมาะสมรับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จากชุมชนประมงเล็กๆ
สู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศ

มีหลักฐานมากมายที่ฟ้องว่า โลกร้อนขึ้น เพราะเกิดภัยพิบัติสารพัดแบบที่ไม่เคยเกิดมาก่อน กล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่ใดในโลกที่ไม่เดือดร้อนเพราะอากาศแปรปรวน  ดังนั้น ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาและเดือดร้อนโดยทั่วกัน จึงต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา  ทุกคนต้องปรับตัวอย่างจริงจังรับการเปลี่ยนแปลงนี้

ตราบใดที่มนุษย์ยังกินสัตว์น้ำ ภาคการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและระบบเศรษฐกิจ

ทำไมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยต้องปรับตัว?

ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2007-2015) ผลผลิตสัตว์น้ำลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.3 ต่อปี เหตุเพราะอากาศแปรปรวน การจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติได้ไม่พอกินพอขาย ทำให้ต้องอาศัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอีกมาก

ไทยเราก็มีโครงการนำร่องเกี่ยวกับการปรับตัวรับอากาศแปรปรวน ในเรื่องประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ในเชิงนโยบายยังดำเนินการในขั้นต้นเท่านั้น เช่น การสนับสนุนการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

นโยบายส่วนใหญ่ให้ความสำคัญแก่ความอ่อนไหวต่ออากาศแปรปรวน เช่น การกำหนดเขต (Zoning) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่อ่อนไหวและจะได้รับผลกระทบ แต่เขตนั้นก็อาจพบปัญหาได้อีก หากไม่มีการวางแผนควบคุมในระยะยาว

แล้วปรับตัวอย่างไร จึงจะเรียกได้ว่า ยั่งยืน

ความท้าทายต่อมา จึงเป็นการหาแนวทางปรับตัวที่ยั่งยืนมากขึ้น นั่นคือ มุ่งทำความเข้าใจความเปราะบางของสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชนชายฝั่งทะเล และการกำหนดกลยุทธ์การปรับตัวในระดับชาติ ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาทุกบริบท และวางแผนไปพร้อมกันในทุกมิติ

          ปรับตัวจาก ชุมชนประมงเล็กๆ นักวิจัยได้ศึกษากระบวนการสร้างภาพฉายในอนาคตโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based scenario planning process) เพื่อวิเคราะห์ความเปราะบางและวางแผนการปรับตัวของชุมชนประมงชายฝั่ง บ้านท่าแพย้อย จ.พังงา และบ้านทะเลนอก จ.ระนอง ซึ่งมีปัญหาปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในระบบชุมชนและทรัพยากร

          กระบวนการนี้มี 4 ระยะด้วยกัน เริ่มจาก 1) ระบุปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวางแผน 2) สำรวจระบบและประเภทของการเปลี่ยนแปลง 3) สร้างสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในอนาคต และปิดท้ายด้วย 4) เสนอและจัดลำดับความสำคัญของการปรับตัว

การศึกษาพบว่า การรับรู้การเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้เกิดการปรับตัว ผู้รับรู้คือชาวบ้านซึ่งตระหนักแล้วว่า สังคมและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง และชุมชนต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมของตนเอง และกำหนดรู้ศักยภาพการปรับตัวของตนเอง

          ต่อจากนั้นจึง สร้างภาพฉาย 3 ขั้นตอนที่ช่วยให้ชุมชนเกิดความมั่นใจ ว่า ชุมชนเล็ก ๆ ก็ใช้ศักยภาพปรับตัวและทำอนาคตให้ดีขึ้นได้ คือ 1 ภาพฉายที่แสดงให้เห็นว่าจะเกิดสถานการณ์เลวร้ายจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง 2 จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างหากวันนี้ไม่ลงมือทำ และ 3 ภาพในอนาคตที่ชุมชนต้องการ

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยในชุมชน ทั้งด้านสังคม เช่น ความเข้มแข็งของผู้นำ และความสัมพันธ์ของคนในชุมชน  ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความสมบูรณ์ของพืชและสัตว์น้ำ การจัดการขยะ โดยพิจารณาร่วมกับ ปัจจัยผลกระทบจากอากาศแปรปรวน เช่น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มีพายุแปรปรวนและกระแสน้ำไม่เป็นปกติ

          ทั้งนี้ ก็เพื่อร่วมกันกำหนดว่า ชุมชนจะทำหรือควบคุมปัจจัยใดได้หรือไม่อย่างไร เช่น ภัยพิบัติที่รุนแรงมากและควบคุมไม่ได้ ต้องเตรียมรับมือ เมื่อกำหนดแล้วจึงเขียนแผนการปรับตัว ช่วยกันระบุปัญหาและลำดับความสำคัญของการทำงานตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

          สู่การกำหนดนโยบายการปรับตัวระดับประเทศ ขั้นตอน การวางแผนจากภาพฉายในชุมชนดังอธิบายมานี้ช่วยให้ชุมชนปรับตัวแบบเชิงรุก และกำหนดนโยบายส่งเสริมการปรับตัวของชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่สำคัญอันจะนำไปสู่การสร้างโยบายใหญ่ระดับประเทศและระดับโลก

          สรุปได้ว่า การร่วมมือกันวางแผนปรับตัวที่เหมาะสมจากทั้งภาคชุมชน องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (NGOs) และรัฐบาล ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย สู่การปรับตัวได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิง :

Bennett NJ, Kadfak A, Dearden P. (2016). Community-based scenario planning: a process for vulnerability analysis and adaptation planning to social-ecological change in coastal communities.  Environment Development and Sustainability. 18(6):1771-99.

Uppanunchai, A., Chitmanat, C., & Lebel, L. (2018). Mainstreaming climate change adaptation into inland aquaculture policies in Thailand. Climate Policy, 18(1), 86-98.

Photo by Nano in Thailand Blog 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank