น้ำทะเลซัดชายฝั่งหายไป เรื่องน่าวิตกที่คิดไม่ถึง

Wednesday, 02 January 2019 Read 2883 times Written by 

syn44

 

น้ำทะเลซัดชายฝั่งหายไป เรื่องน่าวิตกที่คิดไม่ถึง!

เรื่องหนึ่งที่คนไทยคิดว่าไกลตัว ไม่น่าจะส่งผลมาถึงบ้านเราได้ คือเรื่องน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน ทว่า แม้น้ำแข็งจะละลายที่ขั้วโลกไกลโพ้น แต่น้ำไหลไปได้ทั่วโลก ไม่มีทางหายไปไหนได้หมด ถึงระเหยก็ขึ้นไปอยู่ในชั้นบรรยากาศ แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ตกเป็นฝนคืนสู่โลก ดังนั้น น้ำจากภูเขาน้ำแข็งก็ยังอยู่ และส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เมื่อละลายก็ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

ชายฝั่งทะเลไทยยาว 3,148.23 กิโลเมตร มีชุมชนชายฝั่งทะเลมากมาย ผู้คนส่วนหนึ่งที่อาศัยริมทะเลเป็นชาวประมง แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม และรีสอร์ทอีกมากเช่นกัน ปัญหาหนึ่งที่ผู้อาศัยตามชายฝั่งทะเลประสบคือชายฝั่งถูกกัดเซาะซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ  ปกติชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะตามธรรมชาติจากลมพายุ กระแสน้ำ และภาวะน้ำขึ้นน้ำลง รวมทั้งสภาพทางกายภาพของชายฝั่งทะเลเอง  นอกจากนี้ ก็ยังมีตัวแปรอื่น ๆ ด้วย คือ การก่อสร้างขนาดใหญ่ริมทะเล การพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว การสร้างเขื่อน ฝาย หรืออ่างเก็บน้ำที่ต้นน้ำซึ่งจะกักตะกอนที่ปกติจะไหลมาสะสมที่ปากแม่น้ำ เมื่อไม่มีตะกอนใหม่มาเติมตะกอนที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป ก็ถูกกัดเซาะหายไปเรื่อย ๆ  นอกจากนี้ การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลน การสูบน้ำบาดาลจนแผ่นดินทรุด และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจนระดับน้ำทะเลสูงขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลทั่วประเทศด้วย

ปัจจุบันปัญหานี้เข้าขั้นวิกฤติ ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกน้ำทะเลกัดเซาะลึกเข้ามาตั้งแต่ 50 เมตรถึงมากกว่า 1 กิโลเมตร ประเทศไทยเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลไป 79,725 ไร่ และยังเสียพื้นที่ชายหาดโคลน ชายหาดทราย และสันทรายใต้น้ำอีกประมาณ 227,937 ไร่อีกด้วย

การกัดเซาะชายฝั่งส่งผลอย่างไรต่อชุมชนบ้าง  เมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมชายฝั่ง นอกจากเสียพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยแล้ว ยังมีผลถึงระบบนิเวศชายฝั่ง การทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประชาชนในชุมชนที่เลี้ยงชีพโดยการทำประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะประสบปัญหาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้เพราะน้ำท่วม ส่วนการทำประมงชายฝั่งก็จะได้สัตว์น้ำน้อยลงเพราะน้ำท่วมป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ  เมื่อสัตว์น้ำน้อยลง  ชุมชนต้องปรับตัวให้ได้โดยเร็ว  อย่างชุมชนชาวประมงที่ อ.แหลมสิงห์ จันทบุรี ที่นักวิจัยคาดการณ์ว่า ใน ค.ศ. 2050 ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นจากเดิมใน ค.ศ. 2000 ถึง 50 ซม. ท่วมบ้านเรือน 2,060 หลัง รวมพื้นที่ 87.77 ตร.กม. ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมปรับตัวรับปัญหาเหล่านี้  นอกจากนี้บริเวณเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากที่สุด รองลงมาคือป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทำให้มีผลกระทบต่อความยั่งยืนของทรัพยากรประมงต่อไป  เมื่อเปรียบเทียบแต่ละตำบล พบว่า ต. บางกะไชย มีความเปราะบางมากที่สุด ตามด้วย ต. ปากน้ำแหลมสิงห์ ต. หนองชิ่ม และ ต. เกาะเปริด ส่วน ต. บางกะไชย และ ต. หนองชิ่ม มีศักยภาพในการปรับตัวสูงสุด โดยพื้นที่แต่ละตำบลมีศักยภาพในการปรับตัวและความเปราะบางแตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างทางสังคม ประชากร องค์กร เศรษฐกิจ และสภาพตามธรรมชาติ 

ข้อมูลที่ได้นี้ใช้ได้ทั้งการส่งเสริมเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และใช้ประกอบการกำหนดนโยบายทั้งระดับท้องถิ่นของจังหวัด ใช้วางแผนและกำหนดวิธีรับมือเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้เสนอแนะวิธีการลดผลกระทบจากปัญหา เช่น บังคับใช้แผนพัฒนาเมืองอย่างเคร่งครัด ลดการใช้น้ำใต้ดิน ติดตั้งปะการังเทียมเพื่อชะลอน้ำ ปลูกป่าชายเลน ทำประกันภัยสำหรับพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้ความรู้ชุมชน รวมทั้งจัดทำแผนการอพยพและการย้ายถิ่นที่อยู่ด้วย

แม้ว่าภูเขาน้ำแข็งจะละลายอยู่ไกลจากเรามาก แต่ก็ส่งผลถึงเราได้ ดังนั้น หากเราเรียนรู้ เตรียมพร้อม เริ่มแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาใหม่เท่าที่ทำได้ อนาคตของชุมชนชายฝั่งทะเลไทยก็จะไม่มืดมนนัก

อ้างอิง : Panpeng, J., & Ahmad, M. M. (2017). Vulnerability of Fishing Communities from Sea-Level Change: A Study of Laemsing District in Chanthaburi Province, Thailand. Sustainability, 9(8), 19.

Photo by EurActiv 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank