เมื่อสองมือร่วมคลายโลกร้อน Cooling down the planet with both hands

Thursday, 07 July 2011 Read 1342 times Written by 

undp 07-07-54

บทนำ

"....โลกเกิดมาเท่ากำปั้น ชีวิตทุกชิวิตก็อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่นั้นแล้ว...”

จอนิ โอโดเชา ปราชญ์กะเหรี่ยงที่เรียกตนเองว่า ปกาเก่อญอ กล่าวไว้เช่นนั้นอย่างไรก็ตาม ในเวลาร้อยปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้เรียนรู้และเห็นพ้องต้องกันว่าการผลิตทางอุตสาหกรรมด้วยน้ำมือมนุษย์ เพื่อสนองตอบความต้องการบริโภคและความสะดวกสบาย ทำให้เราเผาพลาญพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติจนเกินขีดความสามารถของธรรมชาติจะรองรับ และนำไปสู่การเสียสมดุลของโลกอย่างยากจะเรียกกลับคืนจนท้ายที่สุดอาจนำไปสู่หายนะอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติความสาหัสสากรรจ์ของปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งธรรมชาติและสังคม ดังเช่น เรื่องน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็วเกินการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ หิมะที่เคยปกคลุมยอดเขาสูงทั่วโลกลดน้อยจนน่าวิตกพายุที่โหมรุนแรงขึ้น ปรากฏการณ์ถี่ขึ้นของ เอลนิญโญ่-ลา นีญ่า และภูมิอากาศแปรปรวน ที่สร้างความเสียหายให้ทรัพย์สินและชีวิตผู้คนอย่างมากมายนี้ อาจทำให้คนทั่วไปรู้สึกทดท้อที่จะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น ด้วยคิดว่าเกินความสามารถของตนเองทว่าก็ยังมีบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรอีก
จำนวนมาก ที่ไม่ยอมปล่อยให้วิกฤตสถานการณ์มาทำลายขวัญกำลังใจ และชี้ชะตาชีวิตของตนและโลกพวกเขาดำเนินกิจกรรมหลายๆ อย่าง ที่แม้ไม่ใช่อะไรที่ใหญ่โตหรือเป็นที่รับรู้มากนัก แต่ก็มีผลประจักษ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมุ่งหวังเพื่อชะลอความเลวร้ายของสถานการณ์ จนกว่าประชาชนทั่วโลกจะตัดสินใจร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อเรียกสมดุลธรรมชาติให้กลับคืนมาอีกครั้ง
book 07-07-54บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรเหล่านี้มิได้หลบซ่อนอยู่ที่ไหน แต่ดำเนินชีวิตและกิจกรรมอยู่ท่ามกลางชุมชนต่างๆ ในทุกภาค แม้กระทั่งทุกจังหวัดของประเทศ หนังสือเล่มนี้นำตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานของพวกเขามาเสนอ บางเรื่องเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เช่น การรีไซเคิลขยะ ทั้งในระดับโรงเรียน ชุมชน และระดับประเทศ ที่มีการรณรงค์และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง จนอาจจะไม่คิดว่าเป็นสิ่งที่ช่วยโลกได้ บางเรื่องเป็นสิ่งที่หน่วยงานราชการดำเนินการอยู่อย่างเงียบๆ โดยไม่มีการประชาสัมพันธ์มากนัก เช่น การพัฒนาพลังงานลมพลังงานน้ำขนาดเล็ก และเตาถ่านประสิทธิภาพสูงที่ช่วยประหยัดทรัพยากรป่าไม้อย่างเห็นได้ชัด หรือแม้กระทั่งการออกมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการเพื่อสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างตลาดสีเขียวแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็มีตัวอย่างให้เห็นว่าสามารถดำเนินการที่ไม่ทำลายธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศและสร้างชุมชนให้เข้มแข็งเรื่องเล่าที่ทรงความหมายมากที่สุด อาจจะเป็นการทำงานของบุคคลตามพื้นที่ต่างๆ ที่นำภูมิปัญญาความรู้จากอดีตมาใช้แก้ปัญหาในปัจจุบัน และยังสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกด้วย เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ การทำวนเกษตร การทำนาแบบ “ข้าวล้มตอ” หรือการผลิตพลังงานในรูปแบบของก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ขยะมูลฝอย หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือแม้แต่การแก้ปัญหาวิกฤตการกัดเซาะชายฝั่งด้วยภูมิปัญญาจากแนวไม้ไผ่สลายคลื่น เป็นต้น

ทีมาข้อมูล: http://www.undp.or.th/resources/publicationsall.html

ดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์:http://www.undp.or.th/resources/documents/Part1Minus_2_degrees.pdf

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank