ปัญหาโลกร้อนในเวทีริโอบวกยี่สิบ

Wednesday, 29 August 2012 Read 1260 times Written by 

29 08 2012 6

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรม์

ปัญหาโลกร้อนในเวทีริโอบวกยี่สิบ เส้นทางบนความเสียง

การประชุมไม่เป็นทางการครั้งแรกเพื่อการเจรจาร่างเอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมสหประชาชนว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๑๒ (ริโอบวกยี่สิบ) และที่เพิ่งจัดในระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๗ มีนาคม ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จบลงด้วยการทำใหร่างเอกสารผลลัพธ์การเจรจาที่มีชื่อว่า “อนาคตที่เราต้องการ” (The Future We Want) มีเนื้อหาความยาว ๒๐๖ หน้า จากต้นร่างเดิม ๑๙ หน้า โดยเป็นการเพิ่มเติมความเห็น ข้อเสนอ และข้อโต้แย้งที่ผู้แทนประเทศที่เข้าร่วมประชุมระดมใส่เพิ่มเข้าไปในเอกสารตอนนี้เอกสารเต็มไปด้วยวงเล็บ ทางเลือกต่างๆมากมายที่รอการหาข้อสรุปยุติในการประชุมครั้งต่อๆไป

ในมุมหนึ่ง ผลการประชุมที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงการตื่นตัว การให้ความสำคัญต่อสาระการประชุมริโอบวกยี่สิบ ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปีนี้ ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติคาดหมายว่าจะเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ และสร้างผลการเปลี่ยนแปลงต่อทิศทางการพัฒนาของโลกอย่างกว้างขวางไปสู่การพัฒนาแนวคิด “เศรษฐกิจสีเขียว” ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในการประชุมเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วในปี ค.ศ.๑๙๙๒ ทำให้แนวคิดเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” กลายเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อมแพร่ไปทั่วไทย แต่ในมุมหนึ่ง ผลการประชุมก็สะท้อนถึงความแตกต่าง ความขัดแย้งของแนวคิดการพัฒนา และจุดยืนที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน และระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นในทุกเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวข้อหนึ่งที่อยู่ในร่างเอกสาร “อนาคตที่เราต้องการ” อันที่จริงปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นแรงผลักดันสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่แนวคิดเรื่อง “เศรษฐกิจสีเขียว” เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติเรื่องโลกร้อน ต้องลดการปล่อยคาร์บอน ลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประเทศต่างๆ ยังต้องการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ปล่อยคาร์บอนต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ประเทศส่วนใหญ่ยอมรับ ในเอกสารฉบับต้นร่างมีเนื้อหาเขียนไว้ภาพใต้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียง ๒ ข้อสั้นๆ ในเชิงหลักการกว้างๆ ในข้อหนึ่งกล่าวถึงความสำคัญของเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในฐานะเป็นปัญหาท้าทายมากที่สุดที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ แสดงความชื่นชมต่อผลลัพธ์กรประชุม ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ อีกข้อหนึ่งมีเนื้อหาเรียกร้องการริเริ่มและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ พลังงาน อาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่อกัน ลดความขัดแย้งทางด้านนโนบาย “ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกเกิดขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับประเทศผ่านความตกลงในลักษณะทวิภาคมากกว่าความตกลงแบบพหุภาค”

ในการประชุมเจรจาครั้งนี้ มีข้อคิดเห็น ข้อถกเถียงเพิ่มเติมมากมาย เนื้อหาในหัวข้อนี้ซึ่งยังไม่มีข้อยุติมีความยาวเพิ่มเป็น ๕ หน้า ส่วนใหญ่เป็นข้อเรียกร้องและข้อถกเถียงเรื่องเดิมๆ ที่เคยปรากฏในเวทีการประชุมเจรจาของประเทศภาคีอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ข้อเรียกร้องจากกลุ่ม G77 ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ให้เพิ่มการสนับสนุนด้านการเงิน การถ่านทอดเทคโนโลยี ซึ่งก็ถูกคัดด้านจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ไม่ให้เพิ่มเติมข้อความเหล่านั้นในเอกสาร

มีเนื้อหาเพิ่มเติมข้อเดียวซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับหารส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างการเสริมพลัง (Synergy)ของการทำงานระหว่างองค์กรต่างๆภายใต้โครงการสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเด็นนี้เป็นข้อเสนอจากสหภาพยุโรป และนอร์เวย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนิวซีแลนด์ แต่ทางสหรัฐคัดค้านเนื้อหาในข้อนี้ทั้งหมดยังอยู่ในวงเล็บซึ่งหมายถึงว่ายังไม่มีข้อสรุปยุติ

ความยุ่งยากในการหาฉันทามติในเวทีการประชุมเจรจาระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประเด็นการเจรจาที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นมีผู้เล่นในเวทีมากขึ้น องค์กรพัฒนาเอกชนและบรรษัทข้ามชาติมีบทบาทมากขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาก็ไม่ยอมถูกบังคับให้ยอมรัยข้อสรุปที่เกิดจากการผลักดันของประเทศที่พัฒนาแล้วแต่เพียงฝ่ายเดียว

การถกเถียงโต้แย้งที่เกิดขึ้นในการเจรจาเพื่อเตรียมไปสู่ประชุมริโอบวกยี่สิบ มีสาเหตุรากฐานสำคัญเชื่อมโยงกับผลสรุปการประชุมเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วทางกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีมุมมองว่า ในช่วง ๒๐ ปี ที่ผ่านมา ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ทำไว้ในการประชุมริโอในปี ๑๙๙๒ รวมทั้งการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี ๒๐๐๒ นอกจากนี้ ทางกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเน้นย้ำให้ความสำคัญต่อหลักการเรื่อง “ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง” ซึ่งเป็นหลักการข้อหนึ่งในปฏิญญาริโอทั้ง ๔๐ เรื่อง มิใช่การให้ความสำคัญเฉพาะหลักการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตนเอง

จากบรรยากาศที่เกิดขึ้นในการประชุมเจรจาในครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร Global South มองว่า การประชุมริโอบวกยี่สิบ อาจจบลงด้วยความล้มเหลว แต่ผู้เข้าร่วมการประชุมบางส่วนยังเห็นว่ายังพอมีโอกาสและทางเลือกที่หลุดพ้นไปจากทางตันที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้

สภาพแวดล้อมโลกทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมในปี ๒๐๑๒ มีความแตกต่างอย่างมากจากโลกในปี ๑๙๙๒ ความก้าวหน้าและความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกอาจเกิดขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผ่านความตกลงในลักษณะทวิภาคี มากกว่าความตกลงแบบพหุภาคีดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank