ภาวะโลกร้อนและการปรับตัว

Wednesday, 29 August 2012 Read 5086 times Written by 

คุณศุภกร ชินวรรโณ

ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์จากสภาวะโลกร้อนอันเป็นผลจากสภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๘ และทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะหยุดยั้งลงได้อย่างไรตราบใดที่โลกยังต้องพึ่งพาพลังงานจากน้ำมันและถ่านหิน (fossil fuel)

แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะหาพลังงานทดแทนแต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่มากนอกจากนั้น กลไกระเบียบโลกที่มีอยู่ตามข้อตกลงนานาชาติเพื่อที่จะควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งข้อตกลงที่สำคัญได้แก่ พิธีสารเกียวโต ก็เพียงแต่มีผลในการชะลอภาวะโลกร้อนออกไปได้บ้างอย่างเท่านั้น

เป้าหมายของพิธีสารเกียวโตนั้นได้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ จะให้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่า “ประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากและพัฒนาแล้ว”(Annex 1 countries)ลดลงประมาณ ๕ % จากปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี ค.ศ. ๑๙๙๐ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงพากันคาดการว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงหรือเปลี่ยนรูปแบบต่อไปอีกในอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

ในระยะที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศไทยก็ได้ก็ได้มีการกล่าวถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อีกทั้งมีการจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงทั้งประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อีกทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ก็ได้กล่าวถึงประเด็น กรปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้บ้าง นอกจากนั้นภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะ NGO หลายกลุ่มก็มีการตื่นตัวมากขึ้นและพยายามที่จะทำงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ดี การดำเนินการวางแผนในระยะที่ผ่านมาก็มักจะพิจารณาถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในแง่มุมเดียวเป็นหลักกล่าวคือ พยายามทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เป็นผลสืบเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตและหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ และในบางกรณีก็เป็นการพยายามหาทางปรับตัวต่อผลของสภาพแปรปรวนและภาวะอากาศรุนแรง (เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม) ในระยะที่ผ่านมา ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นภัยพิบัติจากธรรมชาตินี้ หากจะพิจารณาถึงการเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติในปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงมาจากอดีตที่ผ่านมาบ้างแต่ก็ยังไม่อาจนับได้ว่าเป็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

หากยังคงเป็นเรื่องของการจัดการภัยพิบัติ ทั้งนี้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change adaptation) นั้นจะต้องพิจารณาในบริบทของภูมิอากาศ (Climate) โดยมองออกไปถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตระยะยาว

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น มีความหมายที่กว้างไกลกว่าการหาแนวทางแก้ปัญหาอนาคตจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นมีหลากมิติและหลายแง่มุมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นเรื่องของการคิดเชิงยุทธศาสตร์โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็ง (resilience) ให้กับภาคส่วนและชุมชนต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหรืออาจจะพิจารณาในเชิงของการปรับทิศทางของยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันให้สอดคล้องเหมาะสมกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต เพื่อให้แน่ใจว่าผลการดำเนินการจะไม่นำสังคมไปสู่ปัญหาใหม่ภายใต้สภาพการณ์ที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตหรือเป็นการวางแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อยุทธศาสตร์นั้นทนทานและยั้งยืน (robust) ต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและยังคงบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ หรือ อาจหมายถึงการจัดตั้งกลไกในการกระจายความเสี่ยงข้ามภาคส่วน ข้ามพื้นที่ และข้ามห้วงเวลา เช่น กลไกประกันภัยที่ครอบคลุมภาคส่วนที่หลากหลายมากขึ้นหรืออาจหมายถึงการปรับวิถีชีวิตชุมชน เป็นต้น

นอกจากนั้น การวางแผนและยุทธศาสตร์เพื่อการปรับตับต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น อาจเป็นการวางแผนในขอบเขตและขนาด (scale) ที่แตกต่างกัน โดยอาจพิจารณาถึงการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น หรือเป็นการมองถึงการปรับตัวในระดับประเทศ หรือ ลุ่มน้ำ หรือ จังหวัด หรือ ชุมชน ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้มีบริบทของการวางแผนการปรับตัวที่แตกต่างกัน

อีกทั้งยังต้องคำนึงด้วย การปรับตัวนั้นเป็นเรื่องเฉพาะที่และเฉพาะกาล แนวคิดหนึ่งๆในวันนี้อาจจะไม่เหมาะสมเมื่อวันเวลาผ่านไป เพราะบริบทของพื้นที่และภาพส่วนอาจเปลี่ยนไปตามพลวัตของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่การคิดวางแผนครั้งหนึ่งเพื่อใช้ไปอีกหลายสิบปีในอนาคต

สรุปประเด็นสำคัญที่สังคมไทยจะต้องตระหนัก คือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าหลีกพ้นได้ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอาจผิดแผกแตกต่างไปจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและพบเห็นในปัจจุบันสังคมไทยต้องเตรียมตัวให้สามารถอยู่ได้ในภายใต้สถานการณ์อนาคต หรือมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงได้มากขึ้น

การคิดถึงภาวะโลกร้อยโดยเน้นประเด็นเรื่องลดโลกร้อนนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีและควรช่วยกันทำแต่ก็ไม่อาจเพียงพอต่อการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราต้องปรับทัศนคติสังคมโดยต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าการช่วยกันคนละเล็กคนน้อย (ถือถุงผ้า-ดับไฟ) นั้นไม่เพียงพอ เราต้องคิดถึงการปรับวิถีชีวิต ปรับยุทธศาสตร์ประเทศชุมชน และธุรกิจ ให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีขีดความสามารถในการับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้ดีขึ้น

ในโอกาสต่อไปจะได้กล่าวถึงแนวคิดและแง่มุมต่างๆ ของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกทั้งตัวอย่างจากงานศึกษาในระยะที่ผ่านมาให้เป็นที่เข้ากันมากขึ้น

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank