ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม

Thursday, 01 December 2011 Read 1842 times Written by 

157


ภาวะน้ำท่วมที่เกษตรกรชาวสวนยางประสบอยู่เสมอ ได้แก่ภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันที่มีทั้งน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว และมีทั้งน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เหตุการณ์เหล่านี้ ข้อมูลจาก จดหมายข่าวผลิใบ ของกรมวิชาการเกษตร ที่มี คุณพรรณนีย์ วิชชาชู หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกรมฯเป็นบรรณาธิการ ได้กล่าวถึง ภาวะน้ำท่วมที่เกษตรกรชาวสวนยางประสบอยู่เสมอ ได้แก่ภาวะน้ำท่วมแบบฉับพลันที่มีทั้งน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว และมีทั้งน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เหตุการณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดความเสียหายกับต้นยาง ความเสียหายดังกล่าวบางกรณีสามารถแก้ไขเพื่อให้ลดความเสียหายลงได้บ้าง ในบางกรณีเกิดความเสียหายระดับรุนแรงจนต้องโค่นต้นยางเพื่อปลูกใหม่ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกษตรกรได้รับความสูญเสียทั้งสิ้น หากพูดถึงระดับความเสียหายรุนแรงของน้ำท่วม จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

อายุยางและความยาวนานของน้ำที่ท่วม โดยธรรมชาติของยางพาราเป็นพืชที่ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุยาง ระดับน้ำและความยาวนานของน้ำท่วม โดยทั่วไปพบว่าในสภาพน้ำท่วมขังทำให้ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนในดินต่ำ ซึ่งมีผลต่อรากยางและจุลินทรีย์ในดินขาดก๊าชออกซิเจนที่จะถูกนำไปใช้ในการหายใจ และสมดุลของสารบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น ธาตุเหล็ก อะลูมินัม เป็นต้น มีปริมาณมากขึ้นจนเป็นพิษต่อยางและบางครั้งสูญเสียธาตุอาหารพืชจากดิน ทำให้มีผลกระทบกับต้นยางโดยตรง ทำให้ลำต้นแคระแกร็น โคนต้นโต แตกพุ่มเตี้ยและมีใบเหลืองซีดคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน บางครั้งพบปลายยอดแห้งตาย บางพื้นที่ยางอายุ 10 ปี ยังไม่สามารถเปิดกรีดได้เพราะต้นมีขนาดเล็กมาก ยางอ่อนอายุน้อยกว่า 4 ปี ทนภาวะน้ำท่วมขังได้ไม่เกิน 5–10 วัน ส่วนยางอายุมากกว่า 5 ปี จะทนภาวะน้ำท่วมขังได้นานกว่า

นอกจากนั้น ยังพบต้นยางแสดงอาการใบเหลืองและรากเน่า โดยเฉพาะในส่วนของรากฝอยที่ทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารในดิน เชื้อราอาจเข้าทำลายส่วนของราก และโคนต้นหรือส่วนที่เป็นแผล ทำให้กระทบการเจริญเติบโตของต้นยาง หากอาการรุนแรงอาจทำให้ต้นยางตายได้

ระดับน้ำท่วมขังมีความสำคัญเช่นกันหากระดับน้ำสูง 0.5–1.0 เมตร ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมเพียงระยะเวลาสั้นแค่วันเดียวก็ตาม อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับต้นยางได้ และหากน้ำท่วมถึงบริเวณรอยกรีดยางจะทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เพราะการกรีดยางเป็นการทำให้ต้นยางเกิดแผลทางหนึ่ง เชื้อราที่เข้าทำลายบริเวณหน้ากรีดยางทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือหน้ากรีดยางเน่า ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรควรหยุดกรีดยางและทาสารเคมีเมทาแลกซิลทุกสัปดาห์ติดต่อกันจนกว่าจะหาย ในภาวะที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันหรือน้ำท่วมขัง ทำให้ดินอ่อนตัวลงโดยเฉพาะรอบ ๆ บริเวณโคนต้นทำให้ต้นยางโค่นล้มได้ หรือในกรณีที่สวนยางโดนลมรวมทั้งพายุฝนทำให้ส่วนของกิ่งก้านยางฉีกขาดจนต้นล้ม ซึ่งมีทั้งล้มเป็นบางต้นและล้มเป็นแถบเหมือนโดมิโน หากสวนยางของเกษตรกรอยู่ตรงบริเวณช่องลมพัดผ่านเข้าเป็นประจำทุก 5–10 ปี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกยางและเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น พืชไร่ที่อายุสั้น หรือพืชที่ทนต่อลม แต่ถ้ายางล้มเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ให้ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติยากที่จะหลีกเลี่ยงได้

แนวทางแก้ไขต้นยางที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม เกษตรกรต้องเร่งสำรวจสภาพทั่วไปของสวนยาง หากต้นยางได้รับความเสียหายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของสวน เช่น ปลูกต้นยางไร่ละ 76 ต้น หากเสียหาย 50 เปอร์เซ็นต์ จะมีต้นยางคงเหลืออยู่ 38 ต้นต่อไร่ หรือกรณีที่มีสวนยาง 10 ไร่ มีต้นยางคงเหลือเพียง 380 ต้น เกษตรกรต้องพิจารณาว่าต้นยางที่เหลือรอดอยู่นั้น อยู่ติดกันหรือกระจายตัวไปทั้งแปลงยาง ที่ต้องพิจารณาเช่นนี้ เนื่องจากมีผลต่อการปฏิบัติดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดวัชพืช หรือการกรีดยางในอนาคต เพราะคนกรีดต้องเดินไกลกว่าจะได้กรีดยางต้นหนึ่ง นอกจากนั้น ต้นยางที่อยู่ระหว่างต้นที่ว่างอยู่มีโอกาสล้มได้ง่าย เพราะต้นยางที่ติดกับหลุมว่างจะมีทรงพุ่มขนาดใหญ่ หนา และหนักทำให้โค่นล้มได้ง่ายเพียงแต่ดินอ่อนตัวเนื่องจากฝนตกติดต่อกันหรือมีพายุเพียงเบา ๆ เพราะโดยทั่วไปแล้วต้นยางบริเวณใกล้เคียงจะช่วยเป็นแนวบังลมให้กันและกัน

ขอบคุณที่มาจาก :เดลินิวส์

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank