ผลกระทบและแนวทางรับมือ ''โลกร้อน''

Wednesday, 24 August 2011 Read 1417 times Written by 

 

daylinewสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมมือกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Workshop on Climate Change Adaptation Strategies for the Thai Agricultural Sector เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรและกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ผลและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพ

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสศก. กล่าวว่า จากการสัมมนากลุ่มย่อยใน 5 สาขา ได้แก่ พืช ปศุสัตว์ ประมง น้ำและการชลประทาน และ ป่าไม้ ซึ่งมุ่งเน้นระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการปรับตัว เพื่อการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคการเกษตร สามารถสรุปได้ว่า

ด้านพืช มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ปริมาณฝนตกมากขึ้น ในขณะที่จำนวนวันที่ฝนตกน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม และการใช้ประโยชน์จากน้ำฝนลดลง เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการสุก-แก่ของผลไม้ และการระบาดของโรคและแมลง ดังนั้น แนวทางการปรับตัว ได้แก่ การส่งเสริมทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดและเลิกการเผา โดยนำเศษวัสดุต่าง ๆ มาใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์แทน ต้องมีการวิจัย พัฒนาพันธุ์พืช เช่น พืชที่ทนร้อน การสนับสนุน

เรื่อง Carbon Footprint ติดบนฉลากสินค้า การใช้ระบบเตือนภัยที่มีการพยากรณ์ล่วงหน้า ส่วน ด้านปศุสัตว์ นั้น ผลจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เกิดโรคใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตของสัตว์ลดลง และผลผลิตปศุสัตว์ลดลง เกิดผลกระทบต่อการผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น อาหารสัตว์แพงขึ้น การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ มีผลต่อแหล่งอาหารสัตว์ลดลง รวมถึงเกษตรกรไม่สามารถลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ได้ ดังนั้น แนวทางการปรับตัว ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตน้ำเชื้อ การฝากถ่ายตัวอ่อน การจัดเก็บเชื้อพันธุ์พื้นเมือง การส่งเสริมงานวิจัยด้านต้นทุน การพัฒนาเทคนิคการจัดการฟาร์ม การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร รวมถึง การเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์เพื่อเตรียมตัวและแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์

ด้าน ประมง ก็เช่นกันอุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง การสึกกร่อน และการเกิดพายุ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อระยะเวลาการวางไข่ของสัตว์น้ำ การระบาดของโรคสัตว์น้ำ เกิดปัญหามลพิษ และผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง สำหรับสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อหรือกระชังจะเกิดความเครียดเนื่องจากอยู่ในบริเวณจำกัด มีผลโดยตรงต่อผลผลิต ปัญหาน้ำท่วมขังและเน่าเสียมีผลทำให้สัตว์น้ำตาย การรุกล้ำของน้ำเค็มทำให้กุ้งในบ่อเลี้ยงช็อกตาย

ด้าน ทรัพยากรน้ำและชลประทาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลทำให้เกิดน้ำท่วม ภาวะภัยแล้ง และผลต่อระบบชลประทาน แนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับภาวะน้ำท่วม ได้แก่ การพัฒนาแบบจำลองภูมิอากาศและระบบพยากรณ์ล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลให้เกษตรกรสามารถเตรียมตัวได้ทัน มีระบบเตือนภัยน้ำท่วมที่เชื่อถือได้ การจัดวางผังเมืองเพื่อการระบายน้ำ การปรับตัวต่อภัยแล้ง ได้แก่ การใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การพัฒนาพันธุ์พืชที่ใช้น้ำน้อยและทนแล้ง เพิ่มการบริหารจัดการชลประทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ

สุดท้าย ด้านป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผลกระทบทั้งต่อป่าชายเลนและป่าบก ผลจากน้ำทะเลที่สูงขึ้นและการกัดเซาะชายฝั่ง มีผลต่อสัตว์น้ำวัยอ่อน เนื่องจากพื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลวัยอ่อน และมีความอ่อนไหวต่อผลกระทบได้ง่าย การแก้ไขปัญหามีทั้งการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการใช้ไม้ไผ่ปักไว้เพื่อชะลอและลดผลกระทบจากคลื่น ลดปริมาณการกัดเซาะชายฝั่ง ผลจากการสัมมนาดังกล่าวจะเป็น

ข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์ เสนอแนะแนวทางการปรับตัวและนโยบาย เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตร ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหารูปแบบโมเดลที่เหมาะสมต่อไป.

ขอขอบคุณที่มา:http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=contentcategoryID=676contentID=158555

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank