การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร

Wednesday, 02 January 2019 Read 7388 times Written by 

syn38

 

การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรเป็นไปได้จริงหรือ

ดังที่รู้กันดีว่า ไทยปลูกข้าวและส่งข้าวเป็นสินค้าออกแทบจะเป็นอันดับหนึ่งของโลก เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ  ทว่า เกษตรกรก็เป็นต้นเหตุโลกร้อนด้วยโดยไม่รู้ตัว เพราะการปลูกข้าวต้องใช้น้ำมาก การขังน้ำในนาข้าวต่อเนื่อง ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ข้อมูลที่อาจนึกกันไม่ถึงก็คือ ก๊าซมีเทนที่ปล่อยจากนาข้าวมีมากถึงร้อยละ 72 จากภาคการเกษตรทั้งหมดในประเทศไทย นักวิจัยจึงต้องศึกษาหาวิธีลดก๊าซนี้

วิธีหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรทำคือ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง คือแทนที่จะขังน้ำไว้ในนาตลอดเวลา จะปล่อยให้ดินแห้งเฉพาะเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวเท่านั้น ก็ขังน้ำสูง 5 ซ.ม. ปล่อยให้แห้ง แล้วขังน้ำใหม่ถึงระดับ 15 ซ.ม. จากผิวดิน วิธีนี้ช่วยลดการใช้น้ำซึ่งเป็นทรัพยากรที่เริ่มจะหายาก ช่วยลดการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ส่งผลให้ปล่อยก๊าซมีเทนลดลงได้ถึงร้อยละ 35 เมื่อเปรียบเทียบกับการขังน้ำไว้ในนาตลอดฤดูเพาะปลูก การระบายน้ำออก ปล่อยให้นาแห้งจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในดิน จึงลดจุลินทรีย์ที่ผลิตมีเทน เพิ่มจุลินทรีย์ที่ใช้มีเทน จึงลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ในระดับหนึ่ง 

แต่ใช่ว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้งจะมีแต่ผลดี ผลเสียก็มีเช่น ได้ข้าวน้อยลง ปริมาณก๊าซไนตรัสออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อนาแห้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ระบายออกจากนา ค่า pH และปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอน นักวิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้งในนาที่เป็นดินเปรี้ยวจัด ในจังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย จะส่งผลอย่างไรต่อการปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ การวิจัยช่วง ค.ศ. 2013 - 2016 (3 ปี) นักวิจัยได้ตรวจวัดปริมาณก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ปริมาณการใช้น้ำ และผลผลิตข้าว ในนาซึ่งทำนารวม 5 ครั้ง คือ ฤดูแล้ง 3 ครั้ง และฤดูฝน 2 ครั้ง เปรียบเทียบวิธีปลูกข้าว 3 แบบ คือ ขังน้ำตลอดฤดูเพาะปลูก ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง และทำนาแบบเปียกสลับแห้งเฉพาะพื้นที่

          ผลการทดลองคือ ผลผลิตข้าวและปริมาณก๊าซไนตรัสออกไซด์โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่การทำนาแบบเปียกสลับแห้งปล่อยก๊าซมีเทนลดลงร้อยละ 49 ปริมาณน้ำในการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง และการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเฉพาะพื้นที่ ลดลงร้อยละ 42 และร้อยละ 34 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับวิธีขังน้ำตลอดฤดูเพาะปลูก ข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ก็คือในฤดูแล้งมีน้ำจำกัดก็ยังทำนาได้  นอกจากนี้ การควบคุมระดับน้ำในฤดูฝนเป็นไปได้ยาก เพราะฝนตกหนักมีน้ำท่วมขัง  ผลการศึกษายืนยันว่า ชาวนาจะได้รับประโยชน์จากการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

          นอกจากจะปรับวิธีทำนาแล้ว ก็ยังควรมีวิธีใช้ที่ดินให้เหมาะสม ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวด้วย  นักวิจัยลงพื้นที่ศึกษาในจังหวัดพิจิตร ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่เขื่อนงดปล่อยน้ำในหน้าแล้ง เพราะมีน้ำเหลือน้อย ชาวนาไม่อาจปลูกข้าวนาปรัง แต่แทนที่จะเผาตอซังแล้วทิ้งที่นาว่างไว้  ชาวนาก็ยังเลือกปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยกว่าข้าวเช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง หรือแตงโม เพื่อหารายได้เสริมได้ เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพืชห้าชนิดคือ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และแตงโม ในแปลงนาทดลอง โดยใช้ระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่แตกต่างทั้งสิ้น 10 แบบแล้ว พบว่ามีค่าน้อยกว่าแปลงนาทั่วไป เนื่องจากมีการลดปริมาณปุ๋ยเคมีและลดการเผาซากพืช นอกจากนี้นักวิจัยแนะนำว่า ชาวนาพิจิตรควรทำนาปี ปลูกถั่วเขียว แล้วจึงทำนาปรัง

          เมื่อลดการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ลดการเผาตอซังในนาข้าว ปรับวิธีปลูกข้าว และปลูกพืชหมุนเวียน ไม่เพียงแต่ชาวนาจะได้ผลผลิตดี มีรายได้เพิ่ม ก็ยังจะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดโลกร้อนได้อีกมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงควรสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรปรับวิธีใช้พื้นที่นาและวิธีเพาะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยและช่วยลดโลกร้อนไปพร้อมกันด้วย

อ้างอิง:

Chidthaisong, A., Cha-un, N., Rossopa, B., Buddaboon, C., Kunuthai, C., Sriphirom, P., Towprayoon, S., Tokida, T., Padre, A. T., and Minamikawa, K. (2018). Evaluating the effects of alternate wetting and drying (AWD) on methane and nitrous oxide emissions from a paddy field in Thailand. Soil Science and Plant Nutrition, 64(1), 31-38.

Arunrat N, Wang C, Pumijumnong N. (2016). Alternative cropping systems for greenhouse gases mitigation in rice field: a case study in Phichit province of Thailand. Journal of Cleaner Production. 133:657-71.

Photo by AIDF Asia Summit 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank