เราเผาแผ่นดิน ทำลายป่าเพื่อทำมาหากิน

Wednesday, 02 January 2019 Read 653 times Written by 

syn30

 

เราเผาแผ่นดิน ทำลายป่าเพื่อทำมาหากิน...แต่จะมีกินได้อีกนานแค่ไหน

          แผ่นดินเป็นแหล่งสะสมอินทรีย์คาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แผ่นดินตรงไหนมีป่าไม้ตรงนั้นก็สะสมได้มากกว่าตรงที่ไม่มีป่า ที่เรียกว่าป่าก็เพราะมีต้นไม้นานาพรรณขึ้นและเติบโตตามธรรมชาติ รวมทั้งป่าปลูกที่มีต้นไม้หนาแน่นเป็นบริเวณใหญ่ ๆ คนอาจจะปลูกป่าเพื่อให้เป็นป่าจริง ๆ หรือปลูกโดยมุ่งหมายว่า เมื่อต้นไม้โตหรือมีอายุที่จะใช้งานได้ตามความประสงค์ ก็จะตัดไปใช้ แล้วปลูกทดแทน โดยให้ต้นไม้เก่าเป็นพี่เลี้ยง เมื่อต้นไม้ใหม่แข็งแรงดีแล้วก็ตัดต้นใหญ่ไปใช้ได้ แต่ปัจจุบันมนุษย์ทำลายป่าไม้ธรรมชาติจนเกิดเขาหัวโล้นหรือป่าแหว่งไปมาก คนทำลายซึ่งไม่ใช่คนที่ลงทุนลงแรงมาตั้งแต่ต้น และไม่ต้องรอเวลาแต่อย่างใด ขนเครื่องมือทันสมัยพร้อมรถบรรทุกหนักเข้ามาลักลอบตัดไม้ไปเลย คนเหล่านี้ย่อมไม่มีความสำนึกเรื่องการปลูกทดแทน แน่นอนว่าพวกทำลายป่า ไม่ว่าทำลายมากหรือทำลายน้อย ต่างไม่มีความรู้และไม่มีสำนึกเรื่องอินทรีย์คาร์บอนในดินและป่าไม้ หรือว่าทำไปทั้ง ๆ รู้ และรอดหูรอดตาเจ้าหน้าที่ไปได้จึงได้ใจทำต่อไป

ทำไมมนุษย์บางพวกจึงทำลายป่า... พวกแรกที่ทำลายกันเป็นอุตสาหกรรม คิดเอาเองว่าป่าไม่มีเจ้าของ ใครจะเอาประโยชน์อย่างไรก็ได้ ทั้งเพื่อตนเองหรือเพื่อธุรกิจ (ซึ่งอาจเป็นธุรกิจที่ดูเหมือนถูกกฎหมาย เช่น ทำเครื่องเรือน หรือทำสิ่งประดับบ้าน ทว่า ได้ไม้มาโดยผิดกฎหมาย) จึงไม่ต้องคำนึงถึงการเสียประโยชน์ส่วนรวม ส่วนพวกที่สองคือชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนใกล้ป่า แค่เข้าไปหาของป่าออกมาขายตามปกติยังไม่พอกินพอใช้ พอถูกนายทุนชี้ชวนช่องทางเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น ก็ลงแรงหักร้างถางพง ขุดตอไม้ออกด้วย ให้เหลือแต่พื้นดินเพื่อทำการเกษตรแปลงใหญ่ ปลูกพืชชนิดเดียวจำนวนมากเพื่อป้อนโรงงาน อาทิ ข้าวโพด อ้อย สับปะรด และมันสำปะหลัง

พื้นดินเป็นแหล่งสะสมอินทรีย์คาร์บอนขนาดใหญ่ที่สุดของวัฏจักรคาร์บอนในโลก พื้นดินที่มีอินทรีย์คาร์บอนมากย่อมอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้งอกงามเติบโต เมื่อตัดต้นไม้เพื่อเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินจึงลดลง นักวิจัยศึกษาผลของการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นไร่ข้าวโพดในภาคตะวันออกของไทย พบว่า อินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดในดิน ลึก 1 เมตร มีแนวโน้มลดลง ตามจำนวนปีที่ทำการเกษตร โดยอินทรีย์คาร์บอนในป่าดิบแล้งลดลงจาก 170 Mg C/ha เหลือ 137, 109, และ 89 Mg C/ha หรือ ร้อยละ 20, 36, และ 47 หลังจากการปลูกข้าวโพด 3, 7, และ 10 ปี ตามลำดับ

อัตราการลดลงของอินทรีย์คาร์บอนในดินเฉลี่ย 6.97 Mg C/ha/yr นอกจากนี้พบว่าการลดลงของอินทรีย์คาร์บอนในดินส่วนใหญ่ อยู่บริเวณผิวดินที่ระดับความลึก 0 - 10 ซ.ม. คาร์บอนจากข้าวโพดส่งผลต่อการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินเพียงเล็กน้อย โดยหลังจากการปลูก 10 ปี ให้อินทรีย์คาร์บอนเพียง 3.20 Mg C/ha

ทั้งนี้เพราะชาวไร่นิยมเผาตอซังของข้าวโพดหลังจากเก็บเกี่ยว ความร้อนทำลายคุณภาพดินลงไปทุกฤดูกาล แม้จะแก้ไขได้บ้างด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน แต่ก็แก้ปัญหาที่ชาวบ้านเรียกง่าย ๆ ว่า “ดินจืด” ได้ไม่มากนัก ผลผลิตจึงด้อยคุณภาพไปเรื่อย ๆ เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อขายผลผลิตได้เพราะนายทุนรับซื้อ มีการประกันราคา บางรายเอาเงินมาใช้ล่วงหน้าก็ได้ นักทำลายป่าเพื่อการเกษตรพืชเชิงเดี่ยวก็จะเต็มใจรุกรานป่า ขยายแปลงปลูกเพิ่มขึ้นไม่รู้จบ

หากนายทุนและชาวบ้านมีความรู้มากขึ้น รู้ว่าต้องบำรุงดินให้ดี ให้มีอินทรีย์คาร์บอนมาก จะได้ทั้งผลผลิตคุ้มความเหนื่อยโดยไม่ต้องขยายแปลงปลูกใหม่ ก็จะได้รักษาป่า ลดโลกร้อนไปพร้อมกันด้วย หากทุกฝ่ายไม่มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ไม่ปรับความคิดและพฤติกรรม โลกก็จะร้อนขึ้น ภูเขาถล่ม ดินทลาย น้ำท่วม ฝนแล้ง และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ คนที่ไม่ได้ก่อก็ต้องรับกรรมที่ทำไว้กับแผ่นดินด้วยกันโดยถ้วนหน้า ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

อ้างอิง : Jaiarree, S., Chidthaisong, A., Tangtham, N., Polprasert, C, Sarobol, E. and Tyler, S. C. (2011). Soil organic carbon loss and turnover resulting from forest conversion to maize fields in eastern Thailand. Pedosphere.21 (5): 581–590.

Photo by CCAFS - CGIAR

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank