ภาคป่าไม้กับปัญหาโลกร้อนและเศรษฐกิจสีเขียว การบ้านของรัฐบาลใหม่

Monday, 01 August 2011 Read 2018 times Written by 

ผู้เขียน: บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้ประสานงานชุดโครงการ MEAs Think Tank

treeworld

ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา กำลังศึกษาวิจัยและครุ่นคิดอย่างหนักเพื่อกำหนดแนวทางและกิจกรรมที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่ำและมีความเป็นธรรม เนื่องจากตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ IPCC เพื่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และผลการเจรจาความตกลงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แคนคูนในปลายปี 2010 มีแนวโน้มชัดเจนว่า ทุกประเทศต้องร่วมกันรับผิดชอบ โดยให้แต่ละประเทศไปกำหนดเป้าหมายและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของตนเอง รวมทั้งจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแบบคาร์บอนต่ำ
การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้เป็นกิจกรรมที่ได้รับสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีต้นทุนการดำเนินงานค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตอื่นๆ นอกจากนี้ การรักษาป่าและเพิ่มพื้นที่ป่าเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้ว กิจกรรมลดก๊าซในภาคป่าไม้จึงได้ประโยชน์ร่วมหลายด้านพร้อมกัน จะเห็นได้ว่าในแผนงานลดก๊าซเรือนกระจกของหลายประเทศจึงมีกิจกรรมในภาคป่าไม้อยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศบราซิลมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2020 ให้ได้ 564 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าโดยลดการทำลายป่าอะเมซอน เมื่อปี 2009 นายกฯ อภิสิทธิ์ ได้ประกาศในที่ประชุม COP15 ที่กรุงโคเปนเฮเกนว่าประเทศไทยจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% ของพื้นที่ประเทศ
แนวคิดและกลไกลดก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้มีหลากหลายรูปแบบจนทำให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเกิดความสับสน ในพิธีสารเกียวโตมีโครงการ CDM ภาคป่าไม้ ซึ่งมีความพยายามผลักดันให้ดำเนินโครงการ CDM ด้านป่าไม้ในประเทศไทย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีโครงการเกิดขึ้น ทั่วโลกก็มีไม่ถึง 20 โครงการ เนื่องจากความเข้มงวดด้านกฎเกณฑ์เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นโครงการที่ช่วยลดก๊าซได้อย่างแท้จริง ในความตกลงแคนคูนซึ่งเป็นผลการเจรจาความตกลงด้านโลกร้อนครั้งล่าสุดได้เพิ่มกลไกใหม่เรื่องป่าไม้ที่เรียกว่า “REDD Plus” เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา และการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนของป่า นอกจากนี้ ยังมีโครงการปลูกป่าเพื่อกักเก็บคาร์บอนในตลาดภาคสมัครใจ เป็นการดำเนินงานที่อยู่นอกกรอบพิธีสารเกียวโต มีกฎเกณฑ์เข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินงานภายใต้พิธีสารเกียวโต จึงขยายตัวได้เร็ว มีข่าวว่าได้เริ่มดำเนินโครงการหลายพื้นที่ในประเทศไทยแต่ที่มีข้อมูลปรากฏชัดเจน คือ โครงการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ของเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร
ในประเทศไทยยังมีกิจกรรมอีกหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ รูปแบบกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารต้นไม้ ป่าชุมชน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ การปลูกป่าของธุรกิจภาคเอกชนเพื่อเป็น CSR ฯลฯ ในด้านกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อภาคป่าไม้ เช่น การขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าชุมชนและป่าอนุรักษ์
ดังนั้น โจทย์ในเชิงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้สำหรับสังคมไทยและรัฐบาลใหม่ คือ ประเทศไทยจะมีนโยบายสำหรับเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้อย่างไร แต่ละกลไกด้านป่าไม้ที่กล่าวถึงข้างต้นจะนำมาใช้ดำเนินการหรือไม่ จะอยู่ในพื้นที่ได้ แต่ละกลไกมีสัดส่วนการดำเนินงานในเชิงพื้นที่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีประเด็นโจทย์เฉพาะสำหรับแต่ละกลไก ตัวอย่างเช่น
กรณีเรื่อง REDD Plus มีข้อพิจารณาว่าประเทศไทยจะใช้กลไกนี้มาดำเนินการในประเทศไทยหรือไม่ จะดำเนินการในพื้นที่ใด (เฉพาะในป่าอนุรักษ์ หรือนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วย) จะใช้มาตรการส่งเสริมแบบใด (ระบบกองทุน หรือการซื้อขายคาร์บอนเครดิต หรือใช้ทั้งสองรูปแบบคู่กัน) ฯลฯ
กรณีเรื่องโครงการปลูกป่าสำหรับตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ มีข้อพิจารณาว่ารัฐบาลจะส่งเสริมหรือกำกับดูแลอย่างไร ควรอยู่ในพื้นที่ใด จะมีมาตรการหรือกลไกกำกับดูแลอย่างไร หากมีการขยายตัวมากขึ้นในอนาคตจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ
กรณีเรื่องธนาคารต้นไม้ ป่าชุมชน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีข้อเสนอจากภาคประชาชนและชุมชนว่า รูปแบบกิจกรรมเหล่านี้มีส่วนสำคัญต่อการช่วยรักษา เพิ่มพื้นที่ป่าและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนอย่างมากเช่นกัน มีข้อพิจารณาว่ากิจกรรมเหล่านี้จะรวมอยู่ในรูปแบบกิจกรรม REDD Plus ของไทยหรือไม่ รัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนอย่างไร จะพัฒนาเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทยหรือไม่ (เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยเก็บคาร์บอนเครดิตไว้ในประเทศ ไม่ให้ขายไปสู่ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในต่างประเทศ)
นอกจากนี้ ยังมีข้อควรพิจารณาว่าจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างภาคป่าไม้โดยกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ที่กล่าวถึง กับภาคอื่นๆ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในเมืองและภาคขนส่งที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำและการสร้างระบบเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ประเด็นเหล่านี้ควรเป็นโจทย์การบ้านอีกเรื่องหนึ่งสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศไทย

ขอขอบคุณที่มา: http://measwatch.org/writing/2864

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank