ลดภัยน้ำ สร้างฝายทำประปาภูเขา

Thursday, 28 July 2011 Read 2575 times Written by 

Water Assessmentไม่ว่าจะน้ำแล้งหรือน้ำท่วม ทั้งสองปัญหาต่างก็เป็นอุทกภัยที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายด้วยกันทั้งนั้น ทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดความรุนแรงจากภัยธรรมชาติดังกล่าวได้นั่นคือ การสร้างฝายชะลอน้ำ ที่ทำให้ชาวบ้านอำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1,102 ครัวเรือน ไม่ขาดแคลนน้ำในยามแล้ง และลดความเสียหายเมื่อเกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก นับตั้งแต่ช่วยกันสร้างฝายจำนวน 40 ฝาย เมื่อปี พ.ศ.2551

ทาง LimnoTech องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับ The Nature Conservancy ทำการคำนวณด้วยโมเดลชื่อ Soil & Water Assessment เพื่อวัดปริมาณน้ำซึมลงสู่ใต้ดินและปริมาณน้ำที่ถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำพบว่า การสร้างฝายชะลอน้ำในสองอำเภอดังกล่าว ช่วยฟื้นฟูความสมบูรณ์ของป่า ลดปริมาณน้ำที่หลากลงสู่แม่น้ำได้กว่า 2,000 ล้านลิตรต่อปี แสดงให้เห็นว่า น้ำส่วนใหญ่ซึมซับลงสู่ใต้ดิน และความสมบูรณ์ของหน้าดินไม่ถูกกัดเซาะลงสู่แหล่งน้ำ ลดปริมาณดินและตะกอนดินที่ถูกกัดเซาะลงสู่แหล่งน้ำได้กว่า 2.7 ล้านเมตริกตันต่อปี

จากความสำเร็จในครั้งนั้น ส่งผลให้ปีนี้ มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย จำกัด นำคณะสื่อมวลชนพร้อมพนักงานกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา และพันธมิตรสำคัญอย่าง มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต เดินทางไปยังลุ่มน้ำคลองยัน ลุ่มน้ำย่อยหนึ่งของลุ่มแม่น้ำตาปี ในบริเวณหมู่บ้านคลองปาว อำเภอวิภาวดี ที่สุราษฎร์ฯ เพื่อร่วมกับชาวบ้านกว่า 300 ชีวิต ช่วยกันสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเติมอีก 12 ฝาย และระบบประปาภูเขา 1 แห่ง กินพื้นที่ทั้งสองอำเภอที่มูลนิธิโคคา-โคลาฯ ให้การสนับสนุนในคราวก่อน
มร.ฆอเฮ การ์ดูโน กรรมการ มูลนิธิโคคา-โคลาฯ เผยว่า การลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านทำฝายชะลอน้ำในปีนี้ซึ่งถือเป็นครั้งที่สอง มีเป้าหมายสร้างฝายชะลอน้ำให้ได้จำนวน 84 ฝาย รวมทั้งสร้างระบบประปาภูเขารวม 4 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมรักน้ำ ภายใต้แนวคิด Live Positively สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้แก่โลก

นายประวีณ จุลภักดี ประธานมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต เล่าว่า อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอวิภาวดี อยู่บนพื้นที่ราบเชิงเขา ริมห้วยริมธาร มีลำธารสายเล็ก ๆ ไหลมารวมกันที่ลำธารใหญ่ของหมู่บ้าน การสร้างฝายชะลอน้ำในลำห้วยขนาดเล็ก บริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่ลาดชันสูงจะช่วยให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ แม้ในช่วงน้ำไหลแรงก็ให้ประโยชน์ในการชะลอน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในลุ่มน้ำตอนล่าง โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ออกไปทั้งสองข้าง แถมยังสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้จะโตเร็วและไม้ไม่ทิ้งใบ ถือเป็นการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้เขียวชอุ่ม

สำหรับระบบประปาภูเขาที่ช่วยกันสร้างเพิ่มเติมมาในครั้งนี้ จะเป็นตัวช่วยกรองตะกอนดินทรายออกจากน้ำและป้องกันท่อส่งไม่ให้อุดตัน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในครัวเรือน เพียงแค่เลือกจุดที่แคบที่สุดของลุ่มน้ำ ทั้งนี้ควรเป็นบริเวณที่อยู่ค่อนข้างสูงเพื่อการไหลของน้ำตามแรงดึงดูดในธรรมชาติ จากนั้นวางบ่อซีเมนต์ให้ถึงพื้นน้ำ ซึ่งน้ำจะซึมเข้าบ่อซีเมนต์ทางขอบบริเวณก้นบ่อ พร้อมทั้งต่อท่อพีวีซีออกมาสำหรับให้น้ำในบ่อซีเมนต์ไหลออกไปยังบ้านเรือนที่เชื่อมต่อท่อรับน้ำ ส่วนบริเวณด้านข้างบ่อซีเมนต์ต้องก่อหินขนาดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นตัวชะลอและกรองน้ำไปในตัว  

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าการมีฝายชะลอน้ำและระบบประปาภูเขาเพื่อลดปัญหาภัยน้ำ นั่นคือ ความสามัคคีในหมู่ชาวบ้านอาสาสมัครที่เกิดขึ้นระหว่างการร่วมมือร่วมใจช่วยกันก่อร่างสร้างเครื่องป้องกันภัยธรรมชาติ จนกลายเป็นตัวอย่างชุมชนที่เข้มแข็ง.

ขอบคุณที่มา:http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=153474 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank