การศึกษาติดตามการเจรจาเรื่อง REDD ในเวทีการเจรจาเรื่องโลกร้อน และนัยสำคัญต่อประเทศไทย

Monday, 02 May 2011 Read 2133 times Written by 

โดย
ผศ. ดร. ลดาวัลย์  พวงจิตร
คณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ ด้านความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนโดย สำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย (สกว.)
มกราคม 2552

คำนำ

ความ พยายามของนานาประเทศในการต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นนั้น  มี การดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการประชุมสุดยอดโลก (earth summit) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2535 โดยมีอนุสัญญาที่สำคัญคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือการร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แสวงหาวิธีการลดผลกระทบ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หลังจากที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้แล้ว ได้มีการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ (Conference of the Parties: COP) อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีการดำเนินการอันจะนำไปสู่เป้าหมายของอนุสัญญาฯ

ในปี พ.ศ. 2540 ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 3 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการรับรองพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งกำหนดให้มีข้อผูกพันทางกฏหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I) ภายในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของระดับการปล่อยโดยรวมของกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 ในปี พ.ศ. 2533 ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดกลไกที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ 3 อย่างคือ (1) การดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Joint Implementation: JI) (2) การซื้อขายแลกเปลี่ยนปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) และ (3) การ ดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาในการลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการจัดทำกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ภายใต้กลไกที่ยืดหยุ่นทั้งสามนี้ มีเพียงกลไกเดียวที่ประเทศไทยในฐานะกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (non-Annex I) ซึ่งไม่มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถร่วมดำเนินการได้คือ กลไกการพัฒนาที่สะอาด

ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาดได้มีการกำหนดประเภทของโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด 15 ประเภท โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้เพียงประเภทเดียวคือโครงการปลูกป่า (afforestation/reforestation) ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการเพิ่มพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอน จึงแตกต่างจากโครงการประเภทอื่นๆ ที่เน้นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินการปลูกป่าตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดนั้น มีเงื่อนไขและข้อกำหนดมากมาย ทำให้ทั่วโลกมีโครงการปลูกป่าภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาดเพียงโครงการเดียวที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด คือโครงการปลูกป่าลุ่มแม่น้ำ Pearl River ของประเทศจีน

ความพยายามดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านมา จะเน้นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานและอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งเป็นภาคที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด อย่างไรก็ตาม จากรายงานของ IPCC (2007) พบว่า การ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเนื่องมาจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในเขต ร้อนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศคานาดา ในปี พ.ศ. 2548 จึงได้มีการเสนอแนวคิดให้เพิ่มเรื่องของการทำลายป่าเข้าไปในกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยประเทศปาปัวนิกินีและประเทศคอสตาริกา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศภาคีสมาชิกอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยในเวลาต่อมา แนวคิดดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้นในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 13 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยกำหนดให้เป็นกลไกเพิ่มเติมและเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด เรียกว่า REDD (Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries) หรือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา มีการมอบหมายให้องค์กรย่อยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Subsidiary Body for Scientific and Tehnologial Advice: SBSTA) ศึกษารายละเอียดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจา ประเทศไทยในฐานะประเทศเขตร้อนที่มีการทำลายป่า จึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อประโยชน์ในการเจรจาในการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาฯ ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี

การ ศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะติดตามและศึกษาประเด็นการเจรจาเรื่อง REDD และวิเคราะห์ความเกี่ยวโยงที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศไทย เพื่อช่วยเอื้อในการกำหนดท่าทีและจุดยืนทางนโยบายของประเทศไทยในการเจรจาที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดแนวทางการศึกษาวิจัยเชิงลึกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเจรจาและการ ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ REDD ต่อไป

Download attachments:

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank