กทม.พร้อมรับมือพายุ แต่หากฝนเกิน60 มม. ต้องใช้เวลาระบายน้ำ

Tuesday, 02 October 2012 Read 774 times Written by 

02 10 2012 2

ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมรับมือพายุดีเปรสชั่นตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา แต่ยอมรับ หากฝนตกหนักเกินกว่า 60 มิลลิเมตร จำเป็นต้องใช้เวลาในการระบายน้ำอย่างน้อย 1-3 ชั่วโมง

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนว่ากรุงเทพมหานคร อาจได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่นในช่วงวันที่ 6-7 ตุลาคมนี้ นี้ ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักเกินกว่า 90 มิลลิเมตร โดยระบุว่า กทม.พร้อมทำงานอย่างเต็มที่ แต่จำเป็นต้องย้ำเพื่อความเข้าใจกับทุกฝ่ายว่า หากปริมาณฝนตกเกิน 60 มิลลิเมตร ต้องขอเวลาระบายน้ำ 1-3 ชั่วโมง เนื่องจาก กทม.มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่กว่า 200 จุด แต่ร้อยละ 50 สามารถระบายน้ำในพื้นที่จนแห้งปกติภายใน 1 ชั่วโมง

ด้านนายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร ยืนยันปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ กทม.ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือน กันยายนที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนสูงจากการที่มีฝนตกหนัก โดยปริมาณน้ำฝนรายเดือนประจำเดือนกันยายน 2555 วัดได้สูงถึง 842.5 มิลลิเมตร ซึ่งหากเทียบกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีที่วัดได้ประมาณ 1,500 มิลลิเมตรแล้ว นับว่าปริมาณน้ำฝนเดือนกันยายนเพียงเดือนเดียวสูงกว่าครึ่งของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี จึงส่งผลให้เกิดปัญหาในการระบายน้ำ

ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ กทม. โดยภาพรวมได้ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำไปแล้วร้อยละ 99.5 การขุดลอกคูคลองในพื้นที่ 18 เขตเร่งด่วน จำนวน 644 คลอง ความยาวรวม 988 กิโลเมตร คืบหน้าไปร้อยละ 96.33 ด้านสถานการณ์น้ำในเขื่อนขณะนี้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำร้อยละ 59 และ 67 ตามลำดับ และปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม.ในช่วงสัปดาห์ก่อนนั้น เป็นน้ำที่ท่วมขังที่เกิดจากน้ำฝนค้างทุ่งในพื้นที่ปทุมธานีไหลเข้าท่วมในพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน และได้ประสานขอเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว รวมถึงการพร่องน้ำในคลองเพื่อใช้เป็นแก้มลิง โดยคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. มีแผนจะดึงน้ำออกไปทางแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ส่วนกรณีที่ชาวชุมชนริมคลองหกวา ตั้งแต่คลอง 1-4 ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมบ้านเรือนและเส้นทางสัญจร ได้เรียกร้องให้มีการเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 30 เซนติเมตร เนื่องจากประตูระบายน้ำ 3 แห่งถูกปิดไว้ ซึ่งมีประตูระบายน้ำคลองสอง สายใต้ ประตูระบายน้ำคลองลำหม้อแตก และประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ซึ่งประตูระบายน้ำทั้งหมดอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ กทม. เบื้องต้น กทม.ได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำตามข้อเรียกร้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับระชาชนแล้ว

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank