พายุเกมี เข้าไทย 6-7 ต.ค.นี้ เตือนทุกภาคระวังฝนตกหนัก

Tuesday, 02 October 2012 Read 839 times Written by 

02 10 2012 1

อุตุฯ ประกาศเตือนพายุเกมี ฉบับที่ 4 วันนี้ (2 ต.ค.)คาดพายุจะเคลื่อนตัวเข้าประเทศไทย วันที่ 6-7 ต.ค. ซึ่งจะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ "พายุ “เกมี” (GAEMI)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2555 เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (2 ต.ค. 2555) พายุโซนร้อน “เกมี” (GAEMI) ที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประมาณ 700 กิโลเมตร มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม./ชม. พายุนี้เกือบจะไม่เคลื่อนที่ และในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. 2555 ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. คาดว่า พายุจะเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม และในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. จะเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ของประเทศไทย ตามลำดับ ประกอบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาวะอากาศดังกล่าว สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. นี้ ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกมีกำลังอ่อนลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank