หลายพื้นที่ในภาคเหนือเฝ้าระวังน้ำท่วม ขณะที่อีสานแล้ง

Wednesday, 15 August 2012 Read 887 times Written by 

15 08 2012 4

ฝนที่ตกทิ้งช่วงในระยะนี้ ส่งผลให้ปริมาณการกักเก็บน้ำของเขื่อน และอ่างเก็บน้ำหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณน้ำลดลง เกษตรกรบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต่างจากภาคเหนือที่ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายเริ่มสูงขึ้น ชาวบ้านต้องเตรียมพร้อมรับมือกับฤดูน้ำหลาก

ผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน่าน บ้านน้ำหัก ต.ท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร ต้องคอยตรวจสอบความแข็งแรงของกระชังปลาทับทิมที่เลี้ยงไว้ หลังระดับน้ำในแม่น้ำน่าน ที่ไหลผ่านจ.พิจิตร มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุด แม้ระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่ง 6 เมตร แต่ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านต้องเตรียมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นเหมือนปีก่อน ส่วนที่อ.แม่สอด จ.ตาก หลังสถานการณ์น้ำท่วมจากภาวะแม่น้ำเมยล้นตลิ่งเข้าคลี่คลายลง ล่าสุดมีการสำรวจพบว่า กระแสน้ำที่ไหลแรงได้กัดเซาะตลิ่งเสียหายเป็นแนวยาว เช่นเดียวกับฝั่งพม่า
 
ส่วนที่จ.พิษณุโลก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโครงการเร่งด่วนป้องกัน และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในอ.บางระกำ เพื่อเตรียมเสนอแผนเพิ่มเติมกับรัฐบาล เบื้องต้นพบว่า โครงการมีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังพบปัญหาชาวบ้านรุกล้ำที่ดินสาธารณะ จึงสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เร่งรัดและตรวจรับงานให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ
 
ด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายยังต่ำกว่าตลิ่ง โดยที่แม่น้ำโขงหน้าศูนย์อุทกวิทยาส่วนที่ 3 จ.มุกดาหาร วันนี้ (15 ส.ค.55) วัดระดับน้ำได้ 9 เมตร 85 เซนติเมตร ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ (14ส.ค.55) อีก 40 เซนติเมตร แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งเกือบ 3 เมตร ผู้รับเหมายังคงเร่งก่อสร้างพนั้งกั้นน้ำ ป้องกันน้ำกัดเซาะตลิ่ง หลังพบว่า ในช่วงฤดูน้ำหลากตลิ่งถูกน้ำกัดเซาะเป็นบริเวณกว้าง
 
ส่วนเจ้าหน้าที่ชลประทานจ.นครราชสีมายังคงระบายน้ำจากเขื่อนลำตะคอง และเขื่อนลำพระเพลิง เพื่อไม่ให้กระทบกับเกษตรกร แม้ระดับน้ำในเขื่อนจะลดกว่าปกติ โดยเฉพาะเขื่อนลำพระเพลิงมีระดับกักเก็บเพียงร้อยละ 19 ของความจุอ่าง
 
ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา กำชับเจ้าหน้าที่หากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ให้หยุดจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรทันที นอกจากนี้ยังได้ประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา เร่งทำฝนเทียมในพื้นที่เพื่อเพิ่มระดับน้ำภายในอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง
 
ส่วนที่จ.บุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่เร่งขุดลอกห้วยยาง พร้อมทำแก้มลิงในต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค โดยขณะนี้การก่อสร้างความคืบหน้ามากกว่าร้อยละ 70 คาดว่าจะแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชาวบ้านได้กว่า 600 ครอบครัว

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank