วิศวกรรมสถานฯเสนอแนวคิดสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วม

Monday, 12 March 2012 Read 839 times Written by 

12_03_2012_2

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยเสนอแนวคิดสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วม ใต้ถนนวงแหวนตะวันตกเริ่มต้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ้นสุดที่ปากอ่าวไทย จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร โดยจะช่วยตัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนไหลเข้ากรุงเทพมหานครได้กว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ ภายใต้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์นำภาพจำลองระบบอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วมมาเสนอเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร

อุโมงค์แห่งนี้จะก่อสร้างในรูปแบบเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งอยู่ใต้ถนนวงแหวนตะวันออกตลอดแนว เชื่อมระบบคู คลองต่างๆ ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อตัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนระบายลงสู่ทะเล ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้การบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

อุโมงค์แห่งนี้นอกจากใช้ระบายน้ำแล้ว ในช่วงปกติสามารถใช้เป็นเส้นทางการจราจร พร้อมทั้งการออกแบบยังช่วยให้สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร และผลิตกระแสไฟฟ้า

แม้ที่ผ่านมาในช่วงปลายปี 2554 คณะกรรมการฯ ได้เคยเสนอแนวคิดนี้ต่อรัฐบาล แต่ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาความเป็นไปได้ และหากได้รับการตอบรับจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที เนื่องจากได้ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่น้อย โดยจะมีระยะเวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 5 ปี ใช้งบประมาณกว่า 200,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมอุโมงค์โลก 2012 ระหว่างวันที่ 18 - 23 พฤษภาคมนี้ ภายใต้แนวคิด อุโมงค์และการใช้พื้นที่ใต้ดิน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสังคมโลก โดยมีชาติสมาชิกเข้าร่วมกว่า 64 ประเทศ ซึ่งไทยก็เตรียมนำแนวคิดการก่อสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมนี้เสนอต่อที่ประชุมเพื่อการก้าวเป็นศูนย์กลางการก่อสร้างใต้ดินของอาเซียน รองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank