เร่งพร่องน้ำในเขื่อน เตรียมรับน้ำในฤดูฝน

Tuesday, 31 January 2012 Read 828 times Written by 

31_01_2012_2

กรมชลประทานเตรียมแถลงแผนรับมืออุทกภัย โดยยืนยันว่าสามารถบริหารจัดการน้ำได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่เขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งในภาคเหนือยังคงมีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าร้อย ละ 80 ทำให้ต้องเร่งระบายน้ำออกจากอ่าง เพื่อรองรับน้ำฝนที่คาดว่าจะมีปริมาณมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ปรับแผนการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล จากเดิมกำหนดไว้วันละ 30-35 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็นวันละ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะทยอยเพิ่มอีกวันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้สูงสุดที่วันละ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปจนถึงเดือน เม.ย. หรือให้เหลือปริมาณน้ำในอ่างที่ความจุต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำประมาณร้อยละ 81 ของความจุอ่าง

ส่วนเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร่องน้ำวันละ 58 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยยืนยันว่า การระบายน้ำของเขื่อนจะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ตอนล่าง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำวังและและแม่น้ำยมมีปริมาณน้อย

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า คณะทำงานบริหารจัดการน้ำและวิเคราะห์สถานการณ์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มีการประชุมเพื่อวางมาตรการรับมืออุทกภัยปี 2555 โดยนำการพยากรณ์อากาศจากองค์การเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่คาดการณ์ว่า ปี 2555 จะมีพายุเข้ามาในภูมิภาคนี้ 38 ลูก มาประเมินร่วมกับการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งระบบ และปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ โดยยืนยันว่า จะบริหารและพร่องน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ให้มีที่ว่างรับน้ำในฤดูฝนได้ 5,000-6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเพิ่มการระบายน้ำทั้ง 2 เขื่อนรวมกันวันละ 100 ลูกบาศก์เมตร

ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า อุทกภัยในปี 2555 จะไม่หนักเท่ากับปี 2554 เนื่องจากได้เตรียมพื้นที่ชะลอน้ำหลากจากภาคเหนือไว้ประมาณ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งยังมีการปรับปรุงแนวคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำหลากมายังทุ่งลพบุรี ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง และทุ่งมหาราช รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำของคลองสายหลักต่างๆ ซึ่งแผนรับมืออุทกภัยทั้งหมดจะแถลงที่กรมชลประทานในวันนี้ (31 ม.ค.)

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank