กรมชล ยันน้ำเต็มเขื่อนจัดการได้ทันเวลา น้ำไม่ท่วมแน่นอน

Thursday, 26 January 2012 Read 818 times Written by 

26_01_2012_2

ขณะนี้เขื่อนส่วนใหญ่ทั่วประเทศจะยังมีน้ำมากเป็นประวัติการณ์แม้จะอยู่ในฤดูแล้ง แต่กรมชลประทานยืนยันว่า มีแผนการบริหารจัดการน้ำที่จะสามารถระบายน้ำออกได้ทันเวลา และจะไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักเหมือนปีที่ผ่านมา

นาย ณรงค์ ไทยประยูร ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่าวันนี้ (26 ม.ค.) เป็นวันแรกที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เพิ่มปริมาณการระบายน้ำจากวันละ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นวันละ 44  ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะขณะนี้ยังมีน้ำในเขื่อนอยู่ที่ร้อยละ 83 ขณะที่เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่วันนี้ยังคงมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 ทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำกว่า 7 พันล้านลูกบาศก์เมตร ภายในเดือนเมษายนนี้ เพื่อรองรับน้ำใหม่ที่จะไหลเข้าเขื่อนในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม

ขณะที่นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทานยอมรับว่า ปีนี้เป็นปีที่มีน้ำเต็มเขื่อนมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน กรมชลประทานจึงใช้วิธีการบริหารจัดการน้ำโดยจะเร่งระบายน้ำออก ซึ่งคาดว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งจะมีน้ำมากกว่าค่าปกติร้อยละ 10 แต่ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรโดยเฉพาะในที่ราบลุ่มภาคกลางทำนาปีละ 2 ครั้ง โดยให้ทำนาปีเร็วขึ้น และต้องเก็บเกี่ยวให้เสร็จภายในเดือนกันยายน จึงทำให้ขณะนี้จะต้องมีการใช้น้ำมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อถึงเดือนสิงหาคม รองอธิบดีกรมชลประทานเชื่อมั่นว่า ระดับน้ำในเขื่อนทุกเขื่อนจะลดต่ำกว่าปีที่แล้ว แต่เวลานี้ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้ยังระบายน้ำไม่ได้เต็มที่

ด้านปัญหาน้ำค้างทุ่งในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ทำให้กรมชลประทานต้องชะลอการระบายน้ำบางส่วน เพราะต้องใช้เครื่องสูบน้ำออก และต้องลดระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยาให้ต่ำลง ประกอบกับขณะนี้เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนยังคงใช้น้ำค้างทุ่งเดิมเพื่อการเพาะปลูก จึงยังไม่สามารถระบายน้ำได้เต็มที่เช่นกัน ขณะที่คันกั้นน้ำ และประตูน้ำหลายแห่งรวมทั้งประตูน้ำบางโฉมศรีที่ยังคงชำรุดอยู่ก็ทำให้ต้องลดการระบายลงครึ่งหนึ่ง เช่นคลองชัยนาท-อยุธยา เพื่อให้สามารถซ่อมแซมได้

ขณะนี้กรมชลประทานกำลังจะเสนอแผนการระบายน้ำออกจากเขื่อนให้รัฐบาลตัดสินใจ โดยใช้สถิติน้ำท่วมในปี 2554 ที่เป็นปีที่น้ำท่วมหนัก กับปี 2552 ที่น้ำแล้ง มาประเมินเป็นระดับน้ำที่จะระบายออกมาขณะนี้ โดยเส้นกราฟที่เห็นเป็นเส้นประ 3 เส้น คือแผนการระบายน้ำของปีนี้ ซึ่งรัฐบาลจะต้องตัดสินใจว่า ต้องการให้เดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ใด

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank