หลายพื้นที่น้ำยังท่วมหนัก

Friday, 05 August 2011 Read 1082 times Written by 

5_8_2011_1

การช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมบางจุดยังเข้าไปยากลำบาก เนื่องจากเส้นทางเข้าหมู่บ้านยังมีดินสไลด์ลงมาทับเส้นทาง พร้อมเตือนประชาชนเฝ้าระวังดินถล่มในระยะนี้ เนื่องจากในพื้นที่ยังมีฝนตกหนัก

โดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยน้ำป่าบ้านปู่ทา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย พันเอกสุทัศน์ จารุมณี รักษาราชการผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 บอกว่า ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนเส้นทางเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน ด้วยการนั่งรถยนต์ไปทางอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ก่อนจะลงเรือที่ท่าเรือแม่ตะวอ ล่องตามลำน้ำเมย สู่ลำน้ำสาละวิน จนถึงบริเวณปากลำห้วย บ้านปู่ทา และเดินทางอีก 2 ชั่วโมงเข้าไปจุดประสบภัย ซึ่งเส้นทางดังกล่าวจะช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางเข้าพื้นที่น่าจะไม่เกิน 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุดินถล่มในพื้นที่บ้านปู่ทาเพิ่มอีกรายแล้ว รวมผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ถึง 7 ราย ส่วนผู้สูญหายนั้นมี 1 ราย

ส่วนที่จังหวัดน่าน ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนดินถล่มในพื้นที่เสี่ยง 7 อำเภอ 10 ตำบล 16 หมู่บ้าน เนื่องจากวัดปริมาณน้ำสะสมได้มากกว่า 300 มิลลิเมตร ทำให้ดินภูเขาชุ่มน้ำอาจถล่มลงมาได้

ที่จังหวัดลำปาง แม่น้ำวังไหลหลากอีกระลอกเข้าพื้นที่บ้านวังสำราญ ตำบลแม่พริก ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนถึง 70 หลังคาเรือน โดยระดับน้ำไหลแรงและเชี่ยวกราก จนกระสอบทรายที่กั้นน้ำต้านไม่อยู่พังลงมา น้ำเข้าท่วมที่ลุ่มสูงกว่า 1 เมตร 50 เซนติเมตร

ที่จังหวัดแพร่ แม้ว่าระดับน้ำยมจะเริ่มลดลงแต่ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านพื้นที่น้ำท่วม ล่าสุดเกิดดินทรุดในพื้นที่ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น ทำให้บ้านเรือนที่อาศัยอยู่ติดกับลำน้ำยมเดือดร้อนไปด้วย 3 หลังคาเรือน

ส่วนที่จังหวัดตากยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เส้นทางสายแม่สอด-ท่าสองยาง-แม่สะเรียง มีดินสไลด์ลงมาปิดเส้นทางหลายแห่ง ขณะที่บ้านแม่สลิดหลวงตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ซึ่งถูกน้ำป่าถล่มเจ้าหน้าที่กำลังเร่งเข้าไปฟื้นฟู โดยพบว่าบ้านเรือนเสียหาย 37 หลังคาเรือน โรงเรียนแม่สลิดหลวงต้องสั่งปิดอย่างไม่มีกำหนด เพื่อความปลอดภัย ขณะที่สะพานขาดช่วงตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จนชาวบ้านกว่า 10 หมู่บ้าน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ขณะนี้ยังขาดแคลนเรื่องถุงยังชีพ

ด้านกรมชลประทานเตือนจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับมือน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากปริมาณน้ำยมและน้ำน่าน สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปริมาณน้ำน่านจะไหลมาร่วมกับน้ำยมและน้ำปิง ที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่ปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งทางกรมชลประทานคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำสูงสุดที่จะไหลมาถึงเขื่อนเจ้าพระยาจะอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 2 พัน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

พร้อมกันนี้จะใช้เขื่อนเจ้าพระยา และระบบชลประทานในการบริหารจัดการน้ำหลาก โดยรับน้ำส่วนหนึ่งเข้าระบบชลประทานที่ได้ทำการพร่องน้ำไว้แล้ว และควบคุมน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรวินาที ทั้งนี้ปริมาณน้ำดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยามีระดับสูงขึ้น และอาจจะเกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำช่วงวันที่ 8 ถึง 10 สิงหาคมนี้

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank