ปภ.ตรังคาดพื้นที่10อำเภอ ถูกผลกระทบภัยแล้งถ้วนหน้า

Monday, 11 January 2016 Read 661 times Written by 

11 01 2016 2
ปภ.ตรังคาดพื้นที่10อำเภอ ถูกผลกระทบภัยแล้งถ้วนหน้า ปภ.จังหวัดตรัง คาดพื้นที่ 10 อำเภอ ถูกผลกระทบภัยแล้งถ้วนหน้า ขณะผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเร่งสำรวจแหล่งน้ำดิบ นำข้อมูลส่งรัฐบาลและขอให้ประชาชนเตรียมภาชนะเก็บกักน้ำ เผยปีที่ผ่านมา ประชาชนเดือดร้อนกว่า 5หมื่นครัวเรือน ทางการต้องแจกน้ำช่วยกว่าล้านลิตร

เมื่อวันที่ 10 ม.ค.นายสมเกียรติ อินทรคำ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง กล่าวถึงการเตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งว่า ได้ประสานความร่วมมือไปยัง อบต.ทุกแห่ง และทหารจากกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เพื่อให้เตรียมรถบรรทุกน้ำ 89 คัน โดยหากปีนี้พบว่าภัยแล้งรุนแรงจะขอความช่วยเหลือไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 เพื่อให้นำเครื่องสูบน้ำระยะไกลเข้าช่วยเหลือ ซึ่งสามารถสูบน้ำได้ไกลประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง สำหรับแหล่งน้ำที่สำคัญที่อ่างเก็บน้ำท่างิ้วอำเภอห้วยยอด มีปริมาณน้ำเต็มความจุอ่าง 18.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้คาดว่า มีความรุนแรงอย่างมากและครอบคลุมทั้ง 10 อำเภออีกทั้งนายเดชรัฐ สิมศิริ ผวจ.ตรัง ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ออกสำรวจแหล่งน้ำเพื่อจัดเก็บข้อมูลนำเสนอรัฐบาล เพื่อหาทางแก้ปัญหาภัยแล้ง หากประชาชนเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งขอให้แจ้งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง 075-218750 ทั้งนี้ในปี 58ที่ผ่านมา จ.ตรัง ประสบภัยแล้งครบทั้ง 10 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อน 52,496 ครัวเรือน หรือ 192,500 คน ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ได้นำน้ำอุปโภค บริโภคไปช่วยเหลือประชาชน กว่า 1ล้าน8แสนลิตรอย่างไรก็ตามหากมีการทำฝนหลวงในระยะนี้สามารถทำได้เนื่องจากยังมีความชื้นในอากาศหากทำฝนหลวงจะประสบความสำเร็จ.

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/regional/372265

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank