"สุรินทร์" ระทมซมพิษภัยแล้งยกจังหวัด

Tuesday, 09 April 2013 Read 683 times Written by 

09 04 2013 16

วันนี้ (9 เม.ย.) จากสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ได้ขยายวงกว้างรุกหนักขึ้น ส่งผลให้ จ.สุรินทร์ ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ยกทั้งจังหวัดแล้ว 17 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งช่วยเหลือประชาชนเรื่องน้ำอุปโภคบริโภคที่ขาดแคลน ขณะที่แหล่งน้ำสาธารณะของหมู่บ้านในหลายพื้นที่ เริ่มแห้งขอด อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ขณะที่ชาวบ้านใน ต.โชคนาสาม อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หลายคนก็เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ในช่วงฤดูแล้งนี้ โดยการขุดบ่อน้ำตื้นหรือที่เรียกอีกอย่างก็คือบ่อน้ำซึม ขนาดความกว้าง 2.5 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 3 เมตร จากก้นสระน้ำ ที่กำลังจะแห้งขอดแล้ว ซึ่งอยู่บริเวณกลางทุ่งนา เพื่อนำน้ำไปเร่ขายให้กับชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

นายวิลัย แสวงสุข อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 80 ม. 9 ต.โชคนาสาม อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หนึ่งในชาวบ้านที่นำน้ำไปเร่ขาย กล่าวว่า ในช่วง เดือน ก.พ.-พ.ค.ของทุกปี ตนจะสูบน้ำจากบ่อที่ขุดเพื่อนำน้ำไปขายให้กับชาวบ้านใน ต.โชคนาสาม และ ตำบลใกล้เคียง ที่ต้องการน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ราคาจะคิดตามระยะทาง อย่างถังขนาดความจุ 200 ลิตร ถ้าใกล้ก็ 25บาท ไกลออกไปก็ 35 บาท แต่ไม่เกิน 35 บาท รถสามารถบรรทุกน้ำได้ 10 ถัง ขายได้ประมาณ 4-5 เที่ยว ต่อวัน หักค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายได้ 600 บาท ต่อวัน แต่ปีนี้น้ำไม่คอยมีจึงต้องขุดบ่อเพิ่มอีกบ่อหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก แต่ถ้าวันหนึ่งสูบน้ำหลายเที่ยวน้ำก็ไหลออกมาไม่ทันเหมือนกัน นายวิลัย ฯ บอกอีกว่าน้ำที่สูบขึ้นมาจากบ่อที่ขุด สามารถนำไปดื่มได้เพราะเป็นน้ำที่ใสสะอาด ส่วนชาวบ้านคนอื่นที่ใช้รถอีแต๊กมาบรรทุกน้ำขายก็จะมีรายได้ต่อวัน ประมาณวันละ200-400 บาท ต่อวันเช่นกัน

ขณะที่ชาวบ้านบางคนที่พอมีฐานะ ก็จะสั่งน้ำมาใส่ภาชนะหรือบ่อที่สร้างขึ้นเองไว้ภายในบ้าน เพื่อให้เด็กๆได้ลงไปเล่นน้ำคลายร้อนกันอีกด้วย เพราะช่วงนี้อากาศในช่วงกลางวันร้อนอบอ้าวเป็นอย่างมาก

Credit: http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank