รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยัน ไม่มีหิมะตกในไทย

Thursday, 08 November 2012 Read 787 times Written by 

08 11 2012 1

รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีหิมะตกในเมืองไทย เพราะปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเกิดหิมะตก

ตัวแปรหลักที่จะทำให้เกิดหิมะตกได้ อย่างแรกคือจากพื้นดินขึ้นไปบนท้องฟ้าต้องมีอุณหภูมิ ศูนย์ หรือ ต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส และตัวแปรที่ 2 คือต้องมีความชื้นเพียงพอให้เกิดเมฆได้ โดยตัวแปรแรกถือว่าเป็นไปได้ยาก เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีภูมิอากาศร้อนชื้น เพราะอยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์ตรงมากกว่าบริเวณขั้วโลก ทำให้ประเทศใกล้ขั้วโลก มีอุณหภูมิต่างกับบ้านเรา ยิ่งในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ เป็นช่วงที่ขั้วโลกใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ประเทศในแถบขั้วโลกเหนือได้รับแสงเฉียง ยิ่งประเทศใกล้ขั้วโลกมากเท่าไร อุณหภูมิยิ่งต่ำ ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีหิมะตก เพราะอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

ส่วนอีกตัวแปรที่สำคัญมากคือ ต้องมีความชื้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดเมฆ และหิมะ ตกมายังพื้นได้ สำหรับประเทศไทยเป็นไปได้ยาก เพราะอากาศเย็นของเรา ได้รับมาจากแผ่นดิน คือจากไซบีเรีย มองโกเลีย และจีน ซึ่งนำพาอากาศแห้งแล้ง ลงมาปกคลุมตอนบนของบ้านเรา

ส่วนสิ่งที่จะทำให้เกิดเมฆ เกิดหิมะได้ อย่างในประเทศละติจูดสูงๆ ในประเทศเขามีความแตกต่างกันของอุณหภูมิมาก เช่นที่หนึ่ง ลบ 5 องศา อีกที่หนึ่ง ลบ 20 องศา เมื่อต่างกันมากก็ทำให้อากาศเย็นและแห้งจมตัวลง ผลักดันให้อากาศร้อนกว่าลอยตัวขึ้น ขณะที่มีความชื้นเพียงพอ ก็ก่อเป็นเมฆ และมีหิมะตกได้ ขณะที่บ้านเราอุณหภูมิต่างกันไม่มาก แต่ตอนนี้หลายประเทศก็กำลังประสบกับภาวะอากาศแปรปรวน แม้จะหนาวจัด แต่ก็ไม่มีหิมะตก

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank