น้ำแล้งกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาโคราช 2.6 หมื่นราย

Tuesday, 06 November 2012 Read 651 times Written by 

06 11 2012 2

วันนี้ 6 (พ.ย.) ที่สำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา ว่าที่ ร.ท.สมพร กุลบุญ ประมงจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จากภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำมีน้อยมาก ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทาน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้สำหรับเพาะเลี้ยงปลา ทำให้เกิดผลกระทบต่อการประมง เนื่องจากสภาพที่มีน้ำเหลือน้อย ไม่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ปลา และปลาเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
 
ขณะนี้มีข้อมูลเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด จำพวกปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาทับทิม ปลาสวาย ในพื้นที่ทั้ง 32 อำเภอของ จ.นครราชสีมา 26,322 ราย ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงเพื่อยังชีพหรือใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือน 25,269 ราย ส่วนอีก 1,053 ราย เป็นฟาร์มเลี้ยงเพื่อค้าขาย มีจำนวนบ่อเพาะเลี้ยงทั้งหมด 51,338 บ่อ และเลี้ยงในกระชัง 162 กระชัง มีผลผลิตรวมกันประมาณ 22,000 ตัน ซึ่งภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นคาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตปลาออกสู่ตลาดลดลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่มีปริมาณน้ำเหลือน้อย ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังในอ่างเก็บน้ำลำแชะ ลำมูลบน และลำมูล ในเขต อ.ครบุรี โชคชัย เฉลิมพระเกียรติ และ อ.พิมาย อาจจะมีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเพาะเลี้ยงปลา ส่วนแนวทางที่ทำได้ก็คือ ต้องควบคุมจำนวนผู้เลี้ยงและจำกัดพื้นที่การทำกระชังเลี้ยงปลาไม่ให้มีมากไปกว่านี้ และที่สำคัญเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ทั้งบ่อเลี้ยงและกระชังปลา ต้องขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ เพื่อเตรียมวางแผนการช่วยเหลือเยียวยาในกรณีเกิดความเสียหาย เช่น โรคระบาด หรือปลาตายจากภาวะภัยแล้ง
 
นอกจากนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาต้องควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อปลา โดยเติมปูนขาวในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ และหากพบว่าน้ำเริ่มเน่าเสียให้ใช้เกลือแกงสาดบริเวณที่พบจุดเน่าเสียในอัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมทั้งสาดน้ำชีวภาพ 4 ลิตรต่อไร่ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำที่เหลือน้อยให้เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงปลาให้เจริญเติบโตในหน้าแล้ง.

Credit: http://www.dailynews.co.th/thailand/165042

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank