โซนร้อน “ไคตั๊ก” ถล่มฟิลิปปินส์ ทำดินถล่ม-น้ำท่วมซ้ำอีกระลอก

Wednesday, 15 August 2012 Read 804 times Written by 

15 08 2012 1

เอเอฟพี - พายุโซนร้อนไคตั๊ก (Kai-tak) ซึ่งพัดเข้าถล่มหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในวันนี้(15) ทำให้มีฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมและดินถล่มอีกระลอก หลังชาวเมืองตากาล็อกต้องเผชิญฤดูมรสุมอันเลวร้ายมานานหลายสัปดาห์
       
       อิทธิพลของ ไคตั๊ก ทำให้มีฝนตกหนักทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอนตั้งแต่เช้ามืดที่ผ่านมา ปริมาณฝนที่มาพร้อมกระแสลมแรงมากถึง 35 มิลลิเมตรภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฟิลิปปินส์ รายงาน
       
       แม้กรุงมะนิลาและพื้นที่โดยรอบจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุลูกนี้ แต่ก็มีฝนตกเป็นพักๆจนน้ำท่วมเจิงนอง ทั้งที่สัปดาห์ที่แล้วก็เพิ่งเกิดอุทกภัยทั่วทั้งเมืองหลวงจนมีผู้เสียชีวิตไป 95 ราย
       
       เมลคิโต คาสโตร หัวหน้าหน่วยป้องกันพลเรือนประจำเขตอีโลกอส เปิดเผยว่า “มีฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา หน่วยกู้ภัยของเราก็ได้อพยพพลเมืองบางส่วนออกไปสู่ที่ปลอดภัย หลังมีรายงานว่า พื้นที่บางจุดน้ำท่วมถึงคอ”
       
       พายุฝนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันใน 4 เมือง แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต นอกจากนี้ถนนหลักสายหนึ่งยังถูกดินถล่มกีดขวางเส้นทาง จนต้องปิดการจราจรชั่วคราว คาสโตร เผย
       
       นอร์มา ตาโลซิก หน่วยป้องกันพลเรือนซึ่งรับผิดชอบภาคตะวันออกของเกาะลูซอน เปิดเผยว่า ทางการกำลังจับตาระดับน้ำในแม่น้ำคากายันซึ่งเกรงว่าจะเอ่อล้นตลิ่งในไม่ช้า
       
       คากายันเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในฟิลิปปินส์ซึ่งไหลผ่านพื้นที่เกษตรกรรมทางตอนเหนือของประเทศเป็นระยะทางยาวกว่า 500 กิโลเมตร หากแม่น้ำสายนี้เอ่อล้นตลิ่ง ย่อมทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและชุมชนเสียหายเป็นพื้นที่นับพันเฮกตาร์
       
       ทั้งนี้ คาดว่าพายุไคตั๊กจะยิ่งซ้ำเติมความทุกข์ระทมของผู้ประสบภัยฟิลิปปินส์จำนวนกว่าครึ่งล้าน ที่ยังต้องอาศัยอยู่ตามศูนย์พักพิงชานกรุงมะนิลา เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังตั้งแต่สัปดาห์ก่อนยังไม่ลดระดับลงเต็มที่
       
       สำนักงานป้องกันความเสี่ยงและจัดการพิบัติแห่งชาติ แถลงว่า พื้นที่การเกษตรในเขตลุ่มต่ำยังคงจมอยู่ใต้กระแสน้ำ และด้วยปริมาณฝนที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าน้ำจะยังท่วมขังต่อไปอีกหลายวัน ขณะที่ เบนิโต รามอส หัวหน้าสำนักงานป้องกันความเสี่ยงฯ เตือนให้ประชาชนในกรุงมะนิลาและพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งน้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว เตรียมรับอิทธิพลของพายุไคตั๊ก และพร้อมอพยพได้ตลอดเวลา

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank