สภาพอากาศเปลี่ยน ทำอากาศแปรปรวนทั่วโลกตลอดปี

Wednesday, 16 September 2020 Read 842 times Written by 

16092020 1

ในปีนี้หลายประเทศทั่วโลกต่างเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน และภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้นจากเดิม แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เริ่มชัดเจนขึ้น

นักวิทยาศาสตร์คาด ทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะต้องรับมือกับสภาพอากาศสุดขั้ว และภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นอีก หากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุหลักที่ทำให้สภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการใช้พลังงานเชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นำไปสู่ภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า โลกเรากำลังส่งสัญญาณให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ผ่านทางภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาทางตะวันตกของสหรัฐฯต้องเผชิญกับไฟป่ารุนแรง น้ำท่วมหนักในแอฟริกา รวมทั้งอุณหภูมิของผิวมหาสมุทรเขตร้อนที่อุ่นกว่าปกติ รวมทั้งยังมีรายงานคลื่นความร้อนที่เดือดทุบสถิติทั้งในแคลิฟอร์เนียไปจนถึงแคว้นไซบีเรียจนทำให้แผ่นน้ำแข็งอาร์กติกละลาย

โซเนีย เซเนวีราตเน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของมหาวิทยาลัยสวิส อีทีเอช ซูริช แสดงความเป็นห่วงว่า ถ้าหากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกจะมีความเสี่ยงที่จะต้องรับมือกับสภาพอากาศสุดขั้ว และภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นอีก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น แต่มีการเตือนล่วงหน้ามานานหลายสิบปีแล้ว โดยเฉพาะเรื่องความรุนแรงของพายุ หรือคลื่นความร้อน ที่เป็นผลโดยตรงมาจากสภาพอากาศเปลี่ยน โดยวิทยาการปัจจุบันทำให้นักวิจัยสามารถทราบรายละเอียดได้ว่าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมีบทบาทสำคัญมากเพียงใดต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละเหตุการณ์

นอกจากนี้ นักวิจัยยังสามารถจำลองเหตุการณ์เสมือนจริง ว่าสภาพอากาศจะเป็นเช่นไรหากมนุษย์ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน

ร้อนรุนแรง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในช่วงเวลานี้ ก็คือคลื่นความร้อนที่เกิดถี่มากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในไซบีเรียที่อุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งคลื่นความร้อนได้ส่งผลให้พื้นที่ป่าแห้งแล้ง นำไปสู่การเกิดไฟป่ารุนแรง กระทบกับแผ่นน้ำแข็งอาร์กติก นอกจากนี้เมื่อปีที่แล้วทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกาเหนือ ก็ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้แทบจะเป็นศูนย์ ถ้าหากในโลกนี้ไม่มีภาคอุตสาหกรรม หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ด้าน ฟรีดเดอริก ออตโต นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดที่กำลังทำวิจัยและศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศระบุว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อน แต่การศึกษาก็ยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ยังไม่สามารถชี้ชัดว่าภาวะโลกร้อนเป็นต้นเหตุของภัยธรรมชาติรุนแรงทุกเหตุการณ์

คลื่นความร้อนที่ปกคลุมชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้โลกเราต้องพบกับอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยอุณหภูมิสูงถึง 54.4 เซลเซียสในหุบเขามรณะ และหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ ภูมิภาคดังกล่าวก็ยังคงต้องเจอกับสภาพอากาศร้อนจัด โดยในแถบลอสแอนเจลิส อุณหภูมิพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ที่ 49 องศาเซลเซียส ตามมาด้วยไฟป่ารุนแรงในรัฐโอเรกอน และแคลิฟอร์เนีย

ลม ฝน และน้ำท่วม
จากการที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสนับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศ มหาสมุทร และนำไปสู่พายุรุนแรงขึ้น นอกจากนี้พายุเฮอริเคนที่เกิดขึ้นก็ทวีกำลังแรงขึ้น เนื่องจากได้รับพลังงานจากความร้อนจากมหาสมุทร โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ทางตะวันตกของอังกฤษเพิ่งตีพิมพ์ผลการศึกษาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่พบว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ความรุนแรงของเฮอริเคนและฝนที่ตกลงมาในแถบแคริเบียนมีความรุนแรงมากกว่าปกติถึง 5 เท่า

อย่างกรณีของสหรัฐอเมริกา น้ำทะเลในอ่าวเม็กซิโกที่อุ่นขึ้นทำให้เฮอริเคนลอร่ายกระดับกลายเป็นเฮอริเคนระดับ 4ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะพัดขึ้นฝั่งที่หลุยเซียนาด้วยความเร็วลมถึง 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนาย จอห์น เบล เอ็ดเวิร์ดส ผู้ว่าการรัฐยอมรับว่า นี่เป็นเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดที่พัดเข้าพื้นที่ นับตั้งแต่เฮอริเคนแคทรีนาในปี
2548

ขณะที่พายุไซโคลนที่พัดออกจากมหาสมุทรอินเดียก็แสดงรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน โดยพื้นที่นี้นับเป็นจุดที่เกิดไซโคลนบ่อยครั้งที่สุด ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปยังอินเดียและบังกลาเทศ ซึ่งอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ไซโคลนอำพันกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ 5 ภายในเวลา 18 ชั่วโมง ก่อนที่จะพัดเข้าถล่มเบงกอลตะวันตกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นเพียง 1 เดือนไซโคลนนิซาร์กาความเร็วลม 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็พัดเข้าถล่มตอนใต้ของอินเดีย

ร็อกซี่ แมทธิวโคล นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ ของสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนของอินเดียระบุว่า พายุไซโคลนทั้ง 2 ลูกนี้เป็นพายุที่เหนือคาดการณ์ และสาเหตุที่ทำให้พายุมีความรุนแรงก็เกิดจากอุณหภูมิในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ

ขณะที่ซาง ผิง ซี่ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศแห่งสถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ สคริปป์ ในแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น มีส่วนสำคัญทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในจีนครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ

ส่วนที่ทวีปแอฟริกาก็เผชิญสภาพอากาศแปรปรวนหนัก หลังจากที่มีฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ชาวบ้านในซูดานนับหมื่นคนกลายเป็นคนไร้บ้าน ขณะที่เซเนกัลเผชิญกับฝนตกหนัก โดยพบว่าปริมาณฝนในวันเดียวมากกว่าฝนที่ตกตลอด 3 เดือนในช่วงหน้าฝน

นี่เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่มีการอ้างอิง จากการศึกษาของนักวิจัยหลากหลายสถาบัน ซึ่งเป็นที่น่าตกใจที่ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ภัยธรรมชาติทุกประเภทกำลังรุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ซึ่งตอกย้ำให้มนุษย์เราต้องยอมรับว่า หากทุกภาคส่วนยังไม่ให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข สิ่งที่เราและลูกหลานจะต้องเผชิญในอนาคตข้างหน้าก็คือผลกรรมจากการกระทำของพวกเราเอง.

ผู้เขียน : อาจุมม่าโอปอล

ที่มา : รอยเตอร์ , เดอะคอนเวอร์เซชั่นดอทคอม , เอิร์ทจัสติสดอทโออาร์จี

ที่มาและภาพประกอบ https://www.thairath.co.th/news/foreign/1928691

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank